https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มาเตรียมพร้อมต้อนรับเปิดเทอมกับครูเนาว์ดีกว่า MUSLIMTHAIPOST

 

มาเตรียมพร้อมต้อนรับเปิดเทอมกับครูเนาว์ดีกว่า


807 ผู้ชม


ก่อนเริ่มเรียนครูควรทำอะไรบ้างที่สร้างสรรค์สอดประสานการรักชาติไทยอย่างยั่งยืน   

   

  เช้าวันนี้บรรยากาศดีมาก ทั้งครูและนักเรียนกระตือรือร้นที่จะเข้าห้องเรียน หลังเลิกแถว 
มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งยืนคุยกันส่งเสียงดังและบอกเพื่อนว่า....."ให้มีเสียงเพลงติ๊กต็อกๆๆแล้วค่อยเข้าห้องเรียน"
                                ....เวลาผ่านไป ครูเนาว์เดินเข้าห้องเพื่อรอสอนนักเรียน........
ชั่วโมงแรกของครูเนาว์เป็นรายวิชา"กินอยู่อย่างไทย" รายวิชาบังคับเพิ่มเติมในชั้นมัธยมศึกษาปีที่6
ครูเนาว์เตรียมพร้อมตั้งแต่ช่วงปิดภาคเรียน สิ่งที่เตรียมมีดังนี้
 1. แผนการจัดการเรียนรู้
 2. สื่อการเรียนรู้
 3. ความพร้อมของห้องเรียน
 4. ข้อตกลง(MOU)ระหว่างครูเนาว์กับฝ่ายบริหารว่าจะดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างไร ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
     และดำเนินการอย่างไรเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
 5. เตรียมตัวและหัวใจของความเป็นครู
                                              (รายละเอียดจะบอกเล่าในคราวต่อไปนะคะ)
 ดังนั้นเมื่อเข้าห้องแล้วปัญหาจึงไม่เกิดเพราะ
 1. ห้องถูกจัดไว้อย่างสวยงาม
 2. แสงและเสียงพร้อมใช้งาน
 3. วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้...พร้อม
นักเรียน "สวัสดีคุณครู"
ครูเนาว์ "สวัสดีค่ะนักเรียน มาเร็วดีจัง ดีมาก รองเท้าที่ถอดไว้หน้าห้องก็เป็นระเบียบ ที่วางไม่พอ สัปดาห็หน้าคนงานจะเอามาเพิ่มให้จ้ะ"
นักเรียน "คุณครูขา ปิดเทอมไปเที่ยวไหน พวกหนูไป......."เสียงอธิบายที่เที่ยวแข่งขันกัน.......
ครูเนาว์  "เอ้าๆๆพอแล้ว เดี๋ยวค่อยเล่า ครูก็มีเรื่องเล่ามากมาย(คอยติดตามในblogจ้ะ)"
นักเรียน " เราจะเรียนอะไรบ้างคะวันนี้"
ครูเนาว์  " เทอมนี้เราจะมาคุยกันเรื่องกินอยู่อย่างไทย เอ้อ มิใช่กินอย่างเดียวนะ มีทั้งกิน อยู่อาศัย ท่องเทียว แต่งกาย และอะไรอะไรที่เป็นไทยไทยจ้ะ แต่วันนี้เราไม่เรียน ดีไหม"
นักเรียน " เฮอะ เหอ ดีค่ะ แล้วทำอะไรล่ะคะ"
ครูเนาว์ " เราคุยกันดีกว่า เมื่อเช้านี้ใครมาไม่ทันเข้าแถวบ้าง โห ยกมือซะหลายคนเชียว แล้วฝ่ายปกครองให้ทำอะไร"
นักเรียน " ให้ร้องเพลงชาติที่ละคน ร้องผิดร้องใหม่ ม.6 มากที่สุด ครูต้องมาช่วยกันดูตั้ง4คนแน่ะค่ะ"
ครูเนาว์ " ร้องทุกวันยังร้องผิด ยิ่งแย่นะถ้าไม่รู่ว่าร้องทำไม เพลงชาติมีประวัติความเป็นมาอย่างไร หรือใครพอรู้..."
 ........นักเรียนเงียบ ครูจะมาไม้ไหน มองกันไปมองกันมา คนหนึ่งยกมือ "ผมพอรู้ แต่คิดว่าไม่เท่าคุณครู เฉลยเลยดีกว่า" เสียงใช่ๆๆๆๆตามมา
ครูเนาว์ "มัดมือแล้วชกเลยนะ ก็ได้ พอจะบอกได้บ้างส่วนรายละเอียดที่ลึกลงไปเราช่วยกัน เปิดดูในอินเทอร์เน็ตหน้าห้องนะจ๊ะ"
นักเรียน " ครูขา แต่ก่อนเปิดเพลงชาติทุกวันมีเพลงติ๊กต๊อกๆๆๆ แล้วบอกว่าเวลา แปดนาฬิกา หรือ สิบแปดนาฬิกา เพลงอะไรคะ"
ครูเนาว์ "ดีมากสำหรับคำถามนี้เมื่อหลังเลิกแถวก็ได้ยยพวกเราพูดกันว่ารอให้ติกต็อกๆก่อนจึงเข้าห้อง  ครูจะเล่าให้ฟัง"
 ..........................
 เพลงนี้กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้นำมาใช้เปิดก่อนเทียบเวลาแล้วเปิดเพลงชาติ
 ชื่อเพลงพม่าประเทศ ใช้หลักการตั้งชื่อเพลงไทยแต่เดิมคือเพลงทำนองพม่า(ไม่ใช่ประเทศพม่านะคะ)
  พม่า เป็นชื่อทำนอง
  ประ แปลว่าสั้น
  เทศ แปลว่าต่างชาติ
              *****แล้วครูเนาว์ก็เปิดเพลงพม่าประเทศให้นักเรียนฟัง*****

                                                        ที่มา:  https://www.mpsarm.com/download-V240BEC0P0.html

มีที่มาด้วยจ้ะ

                       ที่มา:  https://topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicstock/2009/10/C8440558/C8440558.html

นักเรียน "เข้าใจแล้วค่ะครูบอกเพลงพม่าประเทศหนูก็คิดว่าทำไมเพลงไทยมากมายไม่ใช้กลับไปใช้เพลงพม่า "
ครูเนาว์ "แล้วประวัติเพลงชาติยังอยากรู้อีกรึไม่"
นักเรียน " โถๆๆๆอยากรู้ซิคะ พวกเราเงียบคิดว่าครูเนาว์มีเพลงให้ฟังอีก"
ครูเนาว์ "ทั้งฟังและให้ร้องให้เป็น เราคนไทยร้องเพลงชาติไทยให้(ใครฟัง)....คนไทยฟัง" ...........................

         เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

          ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง
***** เพลงชาติลำดับที่1 เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น 
ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ 
ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414
 เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ 
แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
 ประพันธ์เนื้อร้อ'ขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1   เนื้อร้องมีอยู่ว่า
                                                      เพลงจอมราชจงเจริญ
                         “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน    
                                  ...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

 ******เพลงชาติไทยลำดับที่ 2 เกิดในยุครัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น  ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์  บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว       พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร    จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน   คณะครูดนตรีไทย
 ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2  โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง  ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431 เนื้อมีอยู่ว่า

                            เนื้อเพลงบุหลันลอยเลื่อน(มีที่มาด้วยนะโหลดเลย)
 
                                "กิดาหยันหมอบกรานอยู่งานพัด พระบรรทมโสมนัสอยู่ในที่ 
    บุหลันเลื่อนลอยฟ้าไม่ราคี  รัศมีส่องสว่างดังกลางวัน 
    พระนิ่งนึกตรึกไตรไปมา ที่จะแต่งคูหาสะตาหมัน 
    ป่านนี้พระองค์ทรงธรรม์   จะนับวันเคร่าคอยทุกเวลา 
    ครั้นล่วงเข้ายามดึกสงัด  สงบเงียบเสียงสัตว์ทุกภาษา 
     วังเวงวิเวกวิญญาณ์  พระนิทราหลับไปในราตรีฯ"


ครูเนาว์ "เพลง "บุหลันเลื่อนลอยฟ้า" หรือ "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลันลอยฟ้า" เพลงนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเพลง "ทรงพระสุบิน 
 กิดาหยัน หมายถึง มหาดเล็ก   สะตาหมัน หมายถึง สวน " บางครั้งก็เรียกว่าเพลง "สรรเสริญพระจันทร์" 
นักเรียน"ร้องอย่างไรล่ะคะครู"
ครูเนาว์"ครูก็ร้องเพลงชาตินี้ไม่ได้และไม่เคยได้ยิน เคยได้ยินแต่เพลงไทยเดิม บุหลันลอยเลื่อนจ้ะ ลองฟังนะ....และฝากทุกคนให้ช่วยหาคำร้องมาฝากครูด้วยจ้ะ"

                         

  ที่มา:  https://22togethermusic.wetpaint.com/page/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87+%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99

****** เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง

                เนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมี 
    คำร้อง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
    ทำนอง : พระเจนดุริยางวงค์ (ปิติ วาทยะกร)

    ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
    นบพระภูมิบาลบุญดิเรก เอกบรมจักริน
    พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
    ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
    ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง
    หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย
                                                                             

  ******เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว
(เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ 
พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) 
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง
 ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

     เนื้อเพลงชาติมหาชัย 
              สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย  เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ 
   ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย 
   เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่ 
   ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า 

 เพลงชาติลำดับนี้ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไปโดย  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ) เสนาบดีกระทรวงธรรมการกล่าวคือ

******เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 
และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ 
วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้ 


     เนื้อร้องเพลงชาติฉบับของขุนวิจิตรมาตรา
                          "แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครอง ตั้งประเทศ เขตต์แดนสง่า 
   สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์ โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคี ทวีไทย 
   บางสมัย ศัตรู จู่โจมตี   ไทยพลี ชีวิตร่วม รวมรุกไล่ 
    เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท    สยามสมัย โบราณรอด ตลอดมา 
   อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหล คือว่าเลือด ของเชื้อข้า 
   เอกราชคือ เจดีย์ ที่เราบูชา   เราจะสามัคคี ร่วมมีใจ 
   รักษาชาติ ประเทศ เอกราชจงดี   ใครย่ำยี เราจะไม่ละให้ 
   เอาเลือดล้างให้สิ้น แผ่นดินไทย   สถาปนา สยามให้ เทิดไทย ไชโย"

  ****** กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477 
รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน 
และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล
 และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ ผลการตัดสินปรากฎว่า
 มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศล
ที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว
 ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ 
ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ
 แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล
และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ

บทร้องที่คณะกรรมการคัดเลือกมีดังนี้

                                      บทของนายฉันท์ ขำวิไล

    เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม 
    ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา 
    แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า 
    ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี 
    เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ 
    ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย 
    จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย 
    มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายอยู่มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย

                                      บทของขุนวิจิตรมาตรา

                  แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า 
                 สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย 
                บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่ 
               เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา 
                อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า 
                 เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ 
               รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ 
               เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย

 *****ส่วนเพลงชาติลำดับที่ 7 นั้นเกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฏผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบกและให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

               “ ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน 
                  อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี 
                 ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ 
                   สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ” 

นักเรียน"ครูขาฟังเพลินแล้วเพลงที่7นี่ใครแต่งละคะหนูลืมแล้ว"
ครูเนาว์" ก็   พันเอกหลวงสารานุประพันธ์จ้ะ ท่านมีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”

นักเรียน"ครูขาพวกหนูฟังแล้วเศร้า ทำไมคนไทยบางคน บางกลุ่มทำเหมือนไม่รักชาติ"
ครูเนาว์"แบบไหนที่เรียกว่าไม่รักชาติล่ะ"
นักเรียน"คราวหน้าหนูว่าคณครูเปิดประเด็นนี้ต่อดีกว่าว่าอย่างไรที่เรียกว่าไม่รักชาติ"
ครูเนาว์"ดีเหมือนกัน แต่วันนี้ยกตัวอย่างหน่อยได้ไหม"

.........นักเรียนในห้องช่วยกันยกตัวอย่างจนครูเนาว์อึ้ง  นึกไม่ถึงว่าเด็กจะมีความคิด เขามองผู้ใหญ่ที่แบ่งพรรคแบ่งพวก ผู้ใหญ่ที่หาประโยชน์เข้าตนและพวกพ้อง  ผู้ใหญ่โกงกิน   พวกเขาเลือกตั้งอย่างถูกต้อง เมื่อเขาโตเขาจะไม่ปฏิบัติตนดังที่กล่าวข้างต้นพวกเขาบอกว่าขณะนี้เขาทำได้ก็คือ  ความประหยัดช่วยชาติ ช่วยครอบครัว เป็นคนดีที่พึงประสงค์ของสังคม โอยๆๆๆๆมันซึ้งใจจนน้ำตาครูเนาว์รินแล้ว พอก่อนนะครั้งต่อไปค่อยอภิปรายต่อดีกว่า..............

 นักเรียน"มีเพลงรักชาติอีกไหมคะคุณครู"
คูเนาว์"มีจ้ะ เช่น เพลงดอกประดู่ของทหารเรือ เพลง เดินเดินเดิน เพลงดุจบิดามารดร เพลงต้นตระกูลไทย
 เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงตะเวนชายแดน เพลงถิ่นไทย และอีกมามาย เพลงในละครรักชาติก็มีจ้ะ เช่นเพลงดวงจันทร์ คำร้อง / ทำนอง หลวงวิจิตรวาทการแล้วเราช่วยกันหาเนื้อร้องและเสียงร้องแต่ครูมีเพลงดวงจันทร์ที่ค่อนข้างเก่า

นักเรียน"คงซึ้งพวกหนูขอฟังได้ไหมคะ  นะๆๆๆๆๆๆ"แล้วเสียงเพลงดวงจันร์ก็ดังขึ้น............

ครูเนาว์ "เพลินจนใกล้หมดเวลา ครั้งต่อไปเราจะเริ่มบทเรียน แต่ทุกครั้งที่เข้ามาก่อนเรียนเราจะร้องเพลงชาติก่อนเป็นลำดับแรก ดีไหม
ต่อด้วยไหว้พระสวดมนต์ ก่อนออกจากห้องก็ร้อง สรรเสริญพระบารมีนะ"
นักเรียน "ตกลงค่ะพวกหนูจะร้องให้ดัง ให้ดีที่สุดค่ะ"
ครูเนาว์"มิใช่ดัง มิใช่ดี แต่ต้องนำเรื่องที่เราคุยกันวันนี้ไปปฏิบัติด้วยนะจ๊ะ ลูกศิษย์ที่รักชาติของครู"
.......เสียงเพลงสรรเสริญพระารมีดังขึ้นเมื่อทุกคนยืนตรง และจากห้องเรียนได้วยความปิติ..............
 

**********แล้วพวกเราทุกคนที่เป็นคนไทยทำอะไรที่บอกว่าเป็นไทยแค่ยืนตรงเคารพธงชาติวันละสองเวลาทำได้เราลองมาดูกิจกรรม"หยุด ณ สยาม ส่งเสริมทุกคนยืนตรงเคารพธงชาติ"ดูซิว่าเกิดอะร ให้แง่คิดอะไรบ้าง**********

ที่มา:https://video.mthai.com/player.php?id=11M1292809122M0

หวังว่าความรู้ในวันนี้คงเป็นประโยชน์กับคุณครูและนักเรียนบ้าง เราสามารถบูรณาการกับกุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้แก่

1.กลุ่มสาระฯภาษาไทยในเรื่องของภาษา การเรียงถ้อยร้อยความถูกต้องตามอักขระหรือไม่ อย่างไร

2.กลุ่มสาระฯศิลปะ  ในเรื่องของการร้องเพลง ทักษะการร้องเพลง การหายใจ

สวัสดีค่ะแล้วพบกันใหม่ครั้งต่อไปในห้องเรียนนะคะ

ครูเนาว์

หลักฐานอ้งอิง:

 https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3186

 https://topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicstock/2009/10/C8440558/C8440558.html

https://www.lib.ru.ac.th/journal/thnationalsong.html

https://video.mthai.com/player.php?id=11M1292809122M0

htt://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4&gbv=2&aq=f&aqi=&aql=&oq=

 https://www.mpsarm.com/download-V240BEC0P0.html

https://ecard.kapook.com/category.php?category_id=183

https://www.oknation.net/blog/prompimol/2007/12/18/entry-1
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3943

อัพเดทล่าสุด