https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กริช ปัตตานี มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี ประวัตกริช MUSLIMTHAIPOST

 

กริช ปัตตานี มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี ประวัตกริช


2,129 ผู้ชม


กริช ปัตตานี  มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี ประวัตกริช

ประวัติของกริช
 
        เมื่อประมาณ 300 ปีเศษในเกาะชวา อินโดนีเซีย มีเจ้าเมืองเมืองหนึ่งได้จัดทำกริชขึ้นเจ้าเมืองบังคับให้ช่างกริชทุกคน
 
ส่งกริชเข้าประกวดเมื่อถึงกำหนดวันแข็งขันกรรมการผู้ตัดสินกริชสำรวจรายชื่อช่างตีกริชทั้งหมดปรากฏว่ามีช่างผู้หนึ่งไม่ได้
 
ส่งกริชประกวดเจ้าเมืองจึงให้ทหารไปเอาช่างผู้นี้มาเมื่อช่างผู้นี้มาถึงวังก็มอบกริชของตนให้กรรมการพิจารณา
 
ลักษณะด้ามทำด้วยเหง้าไม้ไฝ่ฝักทำด้วยกากหมาก ทำให้เจ้าเมื่องโกรธเพราะกริชไม่สวยเหมือนช่างกริชคนอืนๆ
 
ที่ประดับกริชค้วยทองเพรชพลอยอย่างสวยงามเจ้าเมืองก็เอากริชที่ไม่สวยนี้โยนทิ้งในสระน้ำและเนรเทศช่างผู้ทำออกจากเมือง
 
ก่อนออกจากเมืองนั้นช่างผู้นี้ได้กล่าวกับเจ้าเมืองว่ากริชที่ดีนั้นไม่ได้อยู่ที่เครื่องประดับตกแต่งแต่อยู่ที่ความขลังหรือศักดิ์สิทธ
 
       วันรุ่งขึ้นเจ้าเมืองได้พบปลาขนาดใหญ่ในสระลอยพร้อมมีกริชปักอยู่เมือนำปลายขึ้นมาดปรากฏว่าเป็นกริชที่เจ้า
 
เมื่อขว้างทิ้งเมื่อวานเมื่อเจ้าเมื่องนึกคำพูดของช่างกริชรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่ได้เนรเทศช่างคนสำคัญเมื่อช่างตีกริชได้มาถึง
 
ปัตตานีก็เดินทางมาถึงเมื่องรามันและพักอยู่ที่นั้นจนเจ้าเมื่องรามันทราบเรื่องราวจึงให้ช่างผู้นี้ตีกริชให้ดูสักเล่มเมื่อทำเสร็จเจ้า
 
เมือได้ดูมีความประทับใจเป็นอย่างยิ่งจึงยกย่องช่างผู้นี้ปาแนซาเฆาะ หรือนายช่างผู้ยิ่งใหญ่ปาแนซาเฆาะได้
ถ่ายทอดรูปแบบและเทคนิคในการตีกริชแก่ลูกศิทย์จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาตั้งแต่นั้นมาและได้เสื่อมความนิยมการใช้กริช
 
 เมื่อมีการออกกฏหมายห้ามพบพาอาวุธในที่สาธารณะปัจจุบันมีช่างกริชกลุมหนึ่งได้รื้อเฟื้อนศิลปะการทำกริชโบราณให้
 
มีความนิยมทำเป็นสินค้าotop ประเภทหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
( ศาตราแห่งกริช...โลกแห่งความคม https://sabayoi.ueuo.com/data/pawat1.htm )

 
ประวัติกริช และการก่อเกิดกลุ่มทำกริชรามันห์..

กริช เป็นศาสตราวุธชนิดหนึ่ง มีลักษณะปลายแหลมมีขนาดสั้นบ้าง ยาวบ้าง ความยาวเฉลี่ยประมาณ 12-16 นิ้ว รูปตรงแต่ปลายเรียวแหลมเล็กก็มี ตรงกลางป่องก็มี เป็นรูปคดไปคดมาอย่างที่เรียกว่าคดกริชก็มี คดแต่ตอนปลายเพียงคดเดียวก็มี ชาวมลายูถือว่านักรบผู้ใดถือกริชหลายคด ผู้นั้นนับเป็นเป็นนักรบผู้ยิ่งยง และมีอำนาจเหนือกองทัพ มีคมสองคมใช้สำหรับฟันด้ายก็มี มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะ แต่การจะกำไว้ในมือได้สะดวก ด้ามและฟักมักแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม บางด้ามประดับด้วยเงิน ทองหรือทองแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะผู้เป็นเจ้าของเป็นประการสำคัญ

กริชเป็นอาวุธประจำตัว ที่เคยนิยมใช้กันในภาคใต้ตลอดไปจนถึงชวา มาเลเซีย และประเทศใกล้เคียง เคยเป็นอาวุธประจำชาติของชวา และมาเลเซีย รวมทั้งถูกจัดอยู่ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ ของทั้งสองประเทศมาก่อน กริช นอกจากจะเป็นอาวุธสำคัญแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งถึงความเป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ผู้เป็นเจ้าของหรือวงตระกูลด้วย กริชถือเป็นของสำคัญ สามารถใช้แทนตัวเจ้าบ่าว ที่ติดภาระกิจอื่นได้และจะได้รับการพกพาติดตัวตลอด แม้แต่เวลาอาบน้ำหรือเข้านอน

- ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 แต่หลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย และพระเจ้าแผ่นดิน เคยพระราชทานกริช แก่ข้าราชบริพารใช้เหน็บเอวทางด้านซ้ายก็มี
เมื่อ ประมาณ 200 – 300 ปีก่อน เจ้าเมืองรามันห์หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปัจจุบัน ประสงค์จะให้มีกริช เป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง และต้องการมีกริชประจำตัวด้วยถึงกับเชิญช่างผู้ชำนาญการจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อว่า ช่างบันไดซาระ มาทำกริชที่เมืองรามันห์ในรูปแบบปัตตานีและรูปแบบรามันห์ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกริชรูปแบบนี้ถูกเรียกขานในท้องถิ่นว่า กริชรูปแบบบันไดซาระ ตามชื่อของช่างทำกริชชาวชวาผู้นั้น ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการสืบทอดการทำกริช ในพื้นที่เมืองรามันห์ โดยเฉพาะที่ตำบลตะโล๊ะหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน กริชที่เมืองรามันห์นิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นกพังกะ คือนกที่มีปีกและตัวสีเขียวปากยาวสีแดงอมเหลือง คอขาวบ้างแดงบ้าง นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กริชมีหลายรูปแบบ เช่น กริชแบบกลุ่มบาหลี และมดุรา กริชแบบชวา กริชแบบคาบสมุทรตอนเหนือ กริชแบบบูกิส กริชแบบสุมาตรา กริชแบบปัตตานี กริชแบบซุนดา หรือซุนดัง และกริชแบบสกุลช่างสงขลา.....
(ประวัติกริช และการก่อเกิดกลุ่มทำกริชรามันห์..https://www.krusiam.com/community/forum1/view.asp?
forumid=Cate00024&postid=ForumID0021320)
 

แหล่งกำเนิดของกริช
                นักวิชาการส่วนใหญ่ทั้งในอินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ไทย  ตลอดจนถึงนักวิชาการชาวยุโรปต่างก็เชื่อกันว่ากริชเป็นอาวุธประเภทมีด  หรือดาบสองคมที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มชนเชื้อสายชวา  มลายู  และชาวภาคใต้ของไทยเมื่อครั้งอดีตนั้นเป็นวัฒนธรรมของชาวฮินดูในยุคมัชปาหิต  จากการแผ่อำนาจทั้งทางการเมืองและทางวัฒนธรรมไปทั่วดินแดนหมู่เกาะต่าง ๆ  ของชวา-มลายู  ดังที่ได้นำมากล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น  ค่านิยมและคติความเชื่อในเรื่องกริชเป็นศัสตราวุธของเทพยดา  เป็นอาวุธที่มีมหิทธานุภาพ  จึงได้แพร่หลายไปยังดินแดนใกล้ไกลในภูมิภาคนี้  เท่าที่มัชปาหิตแผ่อำนาจไปถึง  อาทิเช่น  อินโดนีเซีย  บรูไน  สิงคโปร์  บางส่วนของฟิลิปปินส์  และในภาคใต้ของประเทศไทย
                ส. พลายน้อย  (นามปากกา)  ได้กล่าวถึงตำนานของกริชว่า  “ตามตำนานของ  กริชกล่าวว่า  เริ่มมีในสมัยปันหยี  คือในสมัยอิเหนานั่นเอง  ตกอยู่ในราว  พ.ศ. 1460  แต่ในบางแห่งกล่าวว่า  “กริชเริ่มใช้ในสมัยปันหยี  สุริยอมิเสลาวงศ์  เมงดังกามูลัง  ศักราชชวา  1000  ปีเศษ  หรือในราว  พ.ศ. 1628  ปันหยีที่มีชื่อยืดยาวนั้นก็คือ  อิเหนาที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง...กริชที่ดีอีกแห่งหนึ่งนั้นคือที่เกาะบาหลี  เพราะเมื่อพวกมุสลิมเข้าทำลายราชอาณาจักรมายาพหิส  ซึ่งเป็นปลายวงศ์ฮินดูนั้นแล้ว  พวกช่างเหล็กที่เป็นกำลังใหญ่ของพวกอังควิชัยก็หนีไปอยู่เกาะบาหลี  เพราะไม่ยอมถืออิสลาม  ที่ทำกริชมีชื่ออีกสองแห่งก็คือ  กริชเกาะบันตัม  และแม่นางกระเบา”

Edward Frey  กล่าวว่า  กริชเป็นอาวุธที่วิวัฒนาการในชวากลางก่อนคริสต์ศตวรรษที่  14  จากต้นตอพราหมณ์  จากรายงานแรกสุดของรัฟเฟิลส์  (1817)  หลังจากไปดูซากปรักหักพังของเทวสถานพราหมณที่สุกุ  (Candi  Sukuh)  ซึ่งอยู่ห่างจากสุระการ์ตาไปทางตะวันออก  26  ไมล์  พบฉากเตาหลอมเป็นบานศิลาแกะสลัก  3  บานต่อกัน  แสดงภาพเชิงตำนานการทำกริช  โดยทำร่างภาพพระวิษณุมหาเทพองค์หนึ่งของพราหมณ์ทรงกริชในขณะที่ประทับเหนือครุฑอันเป็นเทพปักษี  แล้วจึงทำภาพและคำบรรยายของฉากเตาหลอมบานทางซ้ายแสดงถึงการหลอมกริช  โดยเทพเอ็มปุ  (empu)  องค์หนึ่ง  เทพดังกล่าวคือ  ภีมะ  (Bima)  ซึ่งเป็นเทพพราหมณ์ชั้นรององค์หนึ่ง  และเป็นพี่ชายอรชุน  ภาพบานชวาแสดงรูปอรชุน  (ซึ่งเป็นพันธมิตรและเขยของพระกฤษณะ)  กำลังใช้เครื่องสูบลมรูปทรงกระบอกแบบที่ช่างชาวมลายูรู้จักกัน  ภาพบานกลางแสดงรูปพระคเณศวร์เทพกุญชรและเทพแห่งการประสิทธิประสาทศิลปวิทยาการ  ผู้อำนวยให้การประดิษฐสิ่งใหม่ประสบความสำเร็จ  ซึ่งในการเช่นนั้น  ช่างฝีมือและช่างโลหะจะมีการเซ่นสรวงพระคเณศวร์เพื่อขอพร  บานศิลาแกะสลักที่จันทิสุกุนี้  อายุตกใน  ค.ศ. 1361  (พ.ศ. 1904)  และจากหลักฐานอื่น ๆ  รวมทั้งที่วัดพุทธบุโรบุโดอันมหึมา  ซึ่งสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่  9  จากภาพศิลาจำนวนมากมายแสดงภาพมนุษย์ทุกแง่มุมแสดงการใช้หรือพกพาอาวุธต่าง ๆ  แต่ไม่มีกริชในภาพเหล่านั้น  ฉะนั้นกริชจึงดูว่าจะไม่มีในคริสต์ศตวรรษที่  9  แต่มามีในกลางคริสต์ศตวรรษที่  14  (Edward  Frey, 1986:5-7)
                ไพฑูรย์  มาศมินทร์ไชยนรา  กล่าวว่า  “กริชเป็นอาวุธสั้นประจำชาติมลายูมานานกว่า  600  ปีแล้ว  นอกจากจะใช้เป็นอาวุธยังใช้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงตระกูลต่าง ๆ  ของกษัตริย์มลายูในสมัยนั้นด้วย  กริชที่เก่าแก่และดั้งเดิมที่สุด  คือกริช  Majapahit  และกริชที่ใช้ในประเทศชวา  กลางคริสต์ศตวรรษที่  14  เล่ากันว่า  ไม่ได้ใช้เป็นอาวุธเลย  เพียงแต่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นของขลังเท่านั้น” 
                ศัลตราวุธในวัฒนธรรมฮินดู-ชวา  ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในกลุ่มชนเชื้อสายชวา-มลายูนั้น  อาจเนื่องมาจากความเสี่ยงภัยทั้งสิ้น  ทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของชนกลุ่มนี้  เพราะสภาพทางธรณีสัณฐานที่เต็มไปด้วยเกาะแก่ง  หุบห้วย  เหวเนิน  จึงทำให้การสัญจรไม่สะดวก  ต้องพึ่งพาตนเอง  และต้องเผชิญกับอันตรายนานา  ทั้งกลุ่มชนที่ดุร้าย  โจรสลัด  และคนแปลกหน้า  จึงมีอาวุธประเภทที่พกพาติดตัวได้สะดวก  เช่น  กริช  มีดบาแดะ  (Badek)  มีดแด๊ง  (Pedang)  มีดหางไก่  (Lawi  ayam)  เป็นต้น

มีดบาแดะของนายวันอุสมาน  สาและ  บ้านเลขที่  7  ถนนยะยัง  อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี     ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,77

                                           มีดแด๊ง หรือลาดิง บางท้องถิ่นเรียกว่า ดาบกะแลวัง           > มีดบาเแดะ เหล็กผสมเนื้อลาย ที่โคนใบมีดมีรอยตีนช้าง สัญญลักษณ์ของพระอุมา
ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,77

มีดบาแดะ ของนายอุสมาน สาและ

มีดบาแดะ ของนายอุสมาน สาและ
ที่มา : สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2543,77

เนื่องจากกริชเป็นศัสตราวุธที่มีกำเนิดมาจากวัฒนธรรมฮินดู-ชวา  ในสมัยอาณาจักร มัชปาหิตที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในลัทธิไศวนิกาย  กริชจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์  หรือตัวแทนแห่งพระศิวะ ด้ามกริชแบบชวา-ฮินดูในอดีต  จึงมักจะแกะสลักเป็นรูปของเทพเจ้า  (พระศิวะ)  เพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์  และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและผู้ที่นำเอากริชไปใช้  เทพดังกล่าวศิลปินหรือช่างผู้ประดิษฐ์จะสร้างสรรค์ออกมาให้อยู่ในรูปของยักษ์หรือรากษส  ซึ่งเป็นปางที่ดุร้ายขององค์พระศิวะปางหนึ่ง   หรือในตอนใดตอนหนึ่งของตำนานฮินดู  นอกจากนั้นในตากริชหรือใบกริชบางเล่ม  ช่างตีกริชจะสร้างให้มีลายตาเป๊าะกาเยาะห์  หรือลายตีนช้าง   อยู่ด้วย  ซึ่งลายดังกล่างนี้เป็นสัญลักษณ์ของโยนิโทรณะ  หรือสัญลักษณ์ของพระอุมา  อันเป็นศักดิขององค์พระศิวะบางเล่มจะมีหูหรือวงช้าง  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระคเณศวรอยู่ด้วยเช่นกัน  จึงเห็นได้ว่าทั้งชุดของกริช  ได้แก่  ด้ามกริช  และใบกริชนั้น  ได้มีสัญลักษณ์ของเทพในลัทธิไศวนิกาย  รวมอยู่ด้วยกันทั้งสามองค์  ดังนั้นการพกพากริชติดตัวหรือมีกริชเอาไว้ในบ้านเรือนก็เสมือนดั่งมีองค์พระศิวะพระอุมา  และพระคเณศวร  คอยปกป้องคุ้มครองแก่เจ้าของกริชและครอบครัวนั้น ๆ  อยู่ตลอดเวลา  คติความเชื่อในเรื่องกริชและค่านิยมในการใช้กริชจึงได้ซึมลึกและขยายตัวไปทั่วพื้นที่ที่ลัทธิฮินดู-ชวา  เคยแผ่ขยายตัวออกไปครอบคลุมเมื่อครั้งอาณาจักรมัชปาหิตเรืองอำนาจ  และได้แผ่กระจายเหลื่อมล้ำเข้าไปยังพื้นที่ที่ติดต่อหรือในพื้นที่ที่มีการเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรม  เช่น  ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและภาคใต้ตอนกลางของประเทศไทย  และในราชสำนักสยามทั้งในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์

https://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/grich/page3.html

อัพเดทล่าสุด