ละครไทย (ตอนที่ 2) MUSLIMTHAIPOST

 

ละครไทย (ตอนที่ 2)


744 ผู้ชม


เป็นละครที่ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน   

ละครไทย (ตอนที่ 2)

 ที่มาภาพ   www.geocities.com

          หลักจากที่ได้เรียนรู้ละครนอกกันไปแล้วคราวนี้เราลองมาเรียนรู้ละครในกันดูบ้าง ลองดูซิว่าละครทั้งสองอย่างแต่งต่างกันอย่างไร แต่ก่อนที่จะมาเรียนรู้เรื่องละครในเรามาทบทวนความรู้เรื่องละครและความหมายของละครกันหน่อยนะครับ

ละครไทย (ตอนที่ 2)


ที่มาภาพ   www.art.culture.go.th


          ละคร  คำว่า  “ละคร”   ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525  กล่าวว่า  หมายถึง  “การเล่นจำพวกหนึ่ง  ปกติตัวแสดงแต่งเครื่อง  มีบอกบทลำนำดัง ๆ  มีท่ารำและมีทำเพลงมักแสดงเป็นเรื่องราว”    ส่วน  นิตยา  จามรมาน  ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย  วิทยาลัยนาฏศิลป  สถาบันนาฏดุริยางศิลป์  กรมศิลปากร  ได้กล่าวถึงคำว่า  “ละคร”  ไว้ใน  ศ.035  การแสดงละคร 1  ว่า  “ละคร”  คือ  มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่าง ๆ  มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจสนุกสนานเพลิดเพลิน  หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู  ขณะเดียวกัน  ผู้ดูก็จะได้แนวความคิด  คติธรรม  และปรัชญา
  
         กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “ละคร”ว่า  “คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องและจัดเสนอในรูปของการแสดง โดยมีนักแสดงเป็นสื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม”   กล่าวได้ว่า  ละคร  คือการแสดงที่เป็นเรื่องราวนั่นเอง  ดังนั้นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว  อาจจะเป็นทั้งเรื่องหรือตัดตอนการแสดงมาเป็นชุดและตอน  ก็จัดอยู่ในประเภทของการละครทั้งสิ้น จากการละครนั้น”    

 
         ความหมายละครในตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง รำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท

ละครไทย (ตอนที่ 2)


ที่มาภาพ   www.satit.kku.ac.th


          เนี้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้  มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2

 

ละครไทย (ตอนที่ 2)

ที่มาภาพ  www.pictureq.com


         ละครใน  เป็นละครที่แสดงในวัง ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนโดยใช้นางในราชสำนักแสดงและฝึกหัด จึงเรียกว่าละครนางใน หรือละครข้างใน การดำเนินเรื่องช้าเน้นความความถูกต้องมีระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี  เรื่องที่แสดง  แสดงเฉพาะ ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา 
 
         การแต่งกาย  เครื่องแต่งกายประณีตงดงาม ตามแบบของกษัตริย์ เช่น มีมงกุฎ สังวาล ทับทรวง เจียระบาด ห้อยหน้า สนับเพลา พระภูษา ฉลองพระองค์ หรือเรียกว่าแต่งกายยืนเครื่อง

 

 ละครไทย (ตอนที่ 2)

 


ที่มาภาพ   www.thaigoodview.com

 
         ลีลาท่ารำที่ใช้ประกอบการแสดง ถูกต้องตามแบบแผนเน้นความประณีตงดงามตามแบบราชสำนัก ละครในเน้นศิลปะการร่ายรำมากกว่าเนื้อเรื่อง


         ดนตรี  ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก ใช้ทางในซึ่งมีระดับเสียงเหมาะกับผู้หญิง และมักเป็นเพลงที่มีลีลา ท่วงทำนองค่อนข้างช้า วิจิตรพิสดาร เหมาะกับลีลาท่ารำ


         เพลงร้อง  ปรับปรุงให้มีทำนองและจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียงและลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน
   
         สถานที่แสดง  เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาแสดงไม่จำกัดสถานที่

         ประเด็นคำถาม

         1) ละครนอกและละครในแตกต่างกันอย่างไร
         2) ละครในเกิดขึ้นในสมัยใด
         3) นักเรียนเคยชมละครในไหม เรื่องอะไร
         4) ละครในใช้ผู้ชายแสดงได้ไหม
 

         กิจกรรมเสนอแนะ

          1) ให้นักเรียนเรียนรู้คำและตีความหมายของคำจากบทละคร
          2) ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว

         บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้

        ภาษาไทย   ด้านการอ่าน  การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
        สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต


         แหล่งอ้างอิงข้อมูล


www.learners.in.th
www.guru.sanook.com
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 , หน้า 673.
มนตรี  ตราโมท. เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติการละครไทย, วิทยาลัยนาฏศิลป, พ.ศ.2527.
อาภรณ์  มนตรีศาสตร์  และ จตุรงค์  มนตรีศาสตร์.วิชานาฏศิลป์, หน้า 74. 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525,หน้า 285.
เรณู  โกศินานนท์  และคณะ,ดนตรีศึกษา,หน้า 86.
อาภรณ์  มนตรีศาสตร์  และ  จาตุรงค์  มนตรีศาสตร์,วิชานาฏศิลป์,หน้า 74. 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525,หน้า  703.
นิตยา  จามรมาน  และคณะ,ศ  035  การแสดงละคร 1 , หน้า 1. 
กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ, ศิลปะการละครเบื้องต้น 1 , 2  ตอนที่  1 , หน้า 1.

         แหล่งอ้างอิงภาพ

www.images.google.co.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=538

อัพเดทล่าสุด