https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มารู้จักตัวละครรามเกียรติ์กันเถอะ (1)...พระราม MUSLIMTHAIPOST

 

มารู้จักตัวละครรามเกียรติ์กันเถอะ (1)...พระราม


874 ผู้ชม


โขน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน ส่วนการแต่งกายจะเป็นการแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง   

        มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จัด "การแสดงโขน ชุดพรหมาศ" ตามพระราชเสาวณีย์ของ "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ " เพื่ออนุรักษ์โขน" การแสดงชั้นสูงของไทย และให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมในรูปแบบที่ถูกต้อง การแสดงชุดนี้มีการจัดทำพัสราภรณ์ และอุปกรณ์ประกอบฉากขึ้นมาใหม่ เพื่อสืบสานฝีมือเชิงช่าง อาทิ ช่างทำหัวโขน / ช่างปักสะดึงกรึงไหม / และช่างเงินช่างทอง (ชมข่าว)
        การที่เราจะดูการแสดงโขนให้ได้อรรถรส ผู้ชมควรจะมีความรู้เกี่ยวกับ ตัวละคร หรือเรื่องย่อมาก่อนเพราะจะทำให้รู้เรื่องมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามารู้จักตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์กันนะค่ะ

เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ช่วงชั้นที่ 3 - 4 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6

พระราม

มารู้จักตัวละครรามเกียรติ์กันเถอะ (1)...พระราม
ภาพจาก www.home.dsd.go.th

        พระราม เป็นบุตรท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา ถือเป็นภาคหนึ่งของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาปราบทศกัณฐ์ มีน้องต่างมารดา 3 คน คือ พระพรต พระลักษณ์ และพระสัตรุด
        ในวัยเยาว์พระรามศึกษาศิลปศาสตร์ที่สำนักฤาษีสวามิตร หรือวิศวามิตร มีความเก่งกล้าถึงกับฆ่ากากนาสูรและสวาหุ ที่มารบกวนเหล่าฤาษี  ต่อมาเมื่อท้าวชนกจักรวรรดิ (ฤาษีชนก) ได้ประกาศให้มีการประลองยกรัตนธนูเพื่ออุปภิเษกกับนางสีดา พระรามก็สามารถยกรัตนธนูได้สำเร็จและอภิเษกกับนางสีดา 
        สาเหตุที่ทำให้พระรามต้องออกบวชเป็นเวลา 14 ปี เนื่องจากเมื่อยังทรงพระเยาว์พระรามเคยกลั่นแกล้งนางกุจจีค่อม (หรือนางมนกรา) ซึ่งเป็นนางกำนัลของพระนางไกยเกษี โดยการยิงกระสุนให้ถูกข้างหลังนางกุจจีทำให้หลังที่ค่อมกลับไปตุงอยู่ข้างหน้า แล้วยิงข้างหน้าให้กลับมาตุงข้างหลัง ซึ่งทำให้นางกุจจีมีความเคืองแค้นมาโดยตลอด ในที่สุดจึงยุแหย่พระนางไกยเกษีว่า พระราชสมบัติเมืองอโยธยาไม่ควรเป็นของพระราม ควรจะเป็นของพระพรตบุตรนางไกยเกษีมากกว่าทำให้นางไกยเกษีเห็นคล้อยตาม  และเนื่องจากนางไกยเกษีเคยร่วมออกรบกับท้าวทศรถ และเพลารถหักนางไกยเกษีจึงใช้แขนของนางสอดแทนเพลารถ ทำให้ท้าวทศรถสำนึกในบุญคุณของนางมาโดยตลอด นางไกยเกษีจึงขอให้ท้าวทศรถยกราชสมบัติให้แก่พระพรตบุตรของตน และให้เนรเทศพระรามออกบวชเป็นเวลา 14 ปี ท้าวทศรถเสียพระทัยมาก แต่ไม่สามารถคืนคำได้ จึงตรอมพระทัยจนสิ้นชีวิต
        พระรามจึงต้องออกเดินป่าตามคำขอนั้น โดยมีนางสีดาชายา และพระลักษณ์ร่วมเป็นเพื่อนเดินทางไปด้วย ระหว่างที่บำเพ็ญพรตอยู่ในป่า บังเอิญพบนางสำมนักขา นางสำมนักขาเกิดหลงรักพระรามจึงเกี่ยวพาราสี และทำร้ายนางสีดา พระลักษณ์มีความโกรธจึงเข้าไปตัดจมูกและหูนางสำมนักขา นางสำมนักขามีความเสียใจจึงไปฟ้องพระยาขร พระยาทูษฐ์ ผู้เป็นพี่ชายให้ไปฆ่าพระราม พระลักษณ์ แต่ในที่สุดพระยาขรและพระยาทูษฐ์ กับเป็นฝ่ายถูกพระรามฆ่าตายนางสำมนักขาจึงไปหาพี่ชายคนโต โดยที่รูว่าทศกัณฐ์ชอบผู้หญิง จึงได้บอกว่านางสีดาชายาพระรามนั้นมีความงดงามยากจะหาหญิงใดเทียบทัน ทศกัณฐ์จึงให้มารีศ แปลงเป็นกวางทองล่อพระราม พระลักษณ์ออกจาอาศรม ส่วนทศกัณฐ์แปลงเป็นพราหม์เข้าไปลักตัวนางสีดาไปไว้ ณ กรุงลงกา
        การรบกับกองทัพยักษ์เมืองลงกาตอนต้นๆ พระรามมิได้ลงมือเองเพียงแต่ให้พญาวานรกับพระลักษณ์ ก็สามารถเอาชัยชนะแก่กองทัพยักษ์ จนกระทั่งในการรบกับทศกัณฐ์พระรามจึงออกรบด้วยตนเองและสามารถฆ่าทศกัณฐ์ได้สำเร็จ

ประเด็นคำถาม
1.  เพราะเหตุใดพระรามถึงต้องออกบวช
2. เหตุใดพระรามจึงต้องยกทัพไปรบกับทศกัณฐ์

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนชมการแสดงโขน
2. ให้ค้นคว้าประวัติของพระรามเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย 
เรื่อง รามเกียรติ์ 
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่อง เครื่องแต่งกาย

ที่มา www.ch7.com       
       รศ.ศิริพงศ์ พยอมแย้ม. ภาพและประวัติตัวละครรามเกียรติ์, 2548

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=736

อัพเดทล่าสุด