https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ) MUSLIMTHAIPOST

 

ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)


866 ผู้ชม


วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากลที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพเสียงและอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี   

  ใช้เป็น...ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ
     เครื่องตีกระทบ ( Percussion  Instruments)

 ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)

( ภาพจาก  www.newswit.com )  

       วงโยธวาทิตสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิตรางวัลพระราชทานฯ   สร้างความภูมิใจแก่ชาวจังหวัดนครราชสีมา ด้วยการคว้ารางวัล “การประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 28” ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 11 -13 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร   จากผลการแข่งขัน โรงเรียนสุรนารีวิทยาทีมหญิงล้วน ได้รับถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาครองอย่างเต็มภาคภูมิ กับการแข่งขันประเภท ก.  ในบทเพลง “ The Wing of Happiness” และ “ Music From the Firebird” พร้อมกับรางวัลชนะเลิศอีก 5 ประเภท ประกอบด้วย การบรรเลงดนตรีสนามดีเด่น, รางวัลนั่งบรรเลงดีเด่น, รางวัลมาร์ชชิ่งเพอร์คัชชั่นดีเด่น, รางวัลชนะเลิศการบรรเลงเพลงไทยดีเด่น และรางวัลคฑากรดีเด่น ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวงโยธวาทิต โรงเรียนสุรนารีวิทยา ในปี 2552 เป็นเกียรติภูมิของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 และชาวจังหวัดนครราชสีมา   ( ข่าวจาก  www.esanclick.com )  
       จากผลการแข่งขันดังกล่าว ผู้เขียนขอแสดงความยินดีและร่วมภาคภูมิใจกับผู้บริหาร คุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนสุรนารีวิทยา และชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกท่าน  ซึ่งเกิดจากความพยายาม ตั้งใจและมุ่งมั่นของทุกฝ่าย เช่น การสนับสนุนงบประมาณ  ส่งเสริม และให้กำลังใจบุตรหลาน จนประสบความสำเร็จในครั้งนี้   ผู้เขียนจึงนำปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการบรรเลงดนตรี คือ การใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีอย่างถูกวิธี เพื่อคุณภาพของเสียงและอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี 
สำหรับสาระการเรียนรู้ในตอนนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ ( Percussion   Instruments )  เช่น  กลองใหญ่  กลองทิมปานี  ฉาบ  ไซโลโฟน  สามเหลี่ยม เป็นต้น

เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
สาระที่ 2  ดนตรี    มาตรฐาน ศ 2.1   เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี  ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ ( Percussion  Instruments)

เครื่องตีที่มีระดับเสียง 
       เครื่องดนตรีประเภทตีที่มีระดับเสียง เช่น เบลล์ (Bell) ไซโลโฟน (xylophone)  เมื่อบรรเลง เสร็จทุกครั้ง ควรใช้ผ้าที่นุ่มเช็ดทำความสะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและคราบเหงื่อ จากรอยนิ้วมือ
       - ควรมีผ้านุ่มสำหรับเช็ดเครื่องดนตรีแต่ละชนิดทุกครั้งหลังบรรเลงเสร็จ
       - ควรมีถุงใส่เฉพาะหรือผ้าสำหรับคลุมเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง 
       - ไม่ควรนำสิ่งของวางบนเครื่องดนตรี เพราะอาจทำให้เกิดความชำรุด เสียหายของเครื่องดนตรีได้

 

เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง

        ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)  ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)

                             กลองทิมปานี                                                                                      กลองใหญ่
                           
 (ภาพจาก www.cmw.ac.th )                                                                (ภาพจาก www.cmw.ac.th )
      
  -กลองทิมปานี (Timpani) เมื่อบรรเลงเสร็จ  ควรปรับระดับเสียงให้ลดลงเพราะการให้หน้ากลองตึงตลอดเวลา อาจทำให้หน้ากลองขาดความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
        -กลองใหญ่ (Bass drum) และกลองแต๊ก (Snare drum) เป็นเครื่องดนตรีที่ขึง  หน้ากลองด้วยพลาสติกพิเศษ ขณะบรรเลงควรตีด้วยความระมัดระวัง และใช้ไม้ตีเฉพาะของแต่ละเครื่องเท่านั้น เพื่อป้องกันหน้ากลองแตกหรือเสียหายจากการตี
        -รำมะนา (Tambourine) เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงหน้ากลองด้วยหนังสัตว์ การดูแลรักษาควรระมัดระวังอย่าให้หน้ากลองโดนน้ำเพราะจะทำให้หน้ากลองหย่อนหรือชื้นและขึ้นราได้

ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)
( ภาพจาก  www.imageshack.us )


        -ฉาบ (Cymbals) เมื่อบรรเลงเสร็จควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อยเพราะเป็นเครื่องดนตรี   มีความบางและคม อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บรรเลงได้
        -สามเหลี่ยม และลูกแซก หลังจากบรรเลงเสร็จควรใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาด

   
ควรมีผ้าคุลมกล่องหรือถุงใส่เครื่องดนตรีแต่ละอย่างโดยเฉพาะเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
   การวางเครื่องตี ไม่ควรนำมาวางซ้อนกัน เพราะน้ำหนักของสิ่งของที่วางทับหน้ากลองหย่อน หรือเกิดความเสียหายได้
   ควรมีถุงหรือกล่องสำหรับใส่ไม้ตีของแต่ละเครื่องดนตรี

พัฒนากระบวนการคิด

 ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องตีกระทบ)1.จากภาพที่กำหนดให้เป็นการดูแลรักษาเครื่องดนตรีทีถูกวิธีหรือไม่ และจะเกิดผลเช่นไรกับเครื่องดนตรี
       2. 
พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้ เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีและการดูแลรักษาอย่างถูกต้องโดยใส่เครื่องหมาย ( / ) หน้าข้อที่ถูกและใส่เครื่องหมาย (X ) หน้าข้อที่ผิด พร้อมทั้งแก้ไขให้ถูกต้อง
           ก. 
มาริโอ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้ารำมะนาเพื่อทำความสะอาด
           ข. หากไม่มีไม้เฉพาะในการตีกลองใหญ่สามารถใช้ไม้กลองแต๊กตีแทนได้
           ค. เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บเครื่องดนตรีประเภทตี ควรเก็บรำมะนาใส่ถุงเดียวกับฉาบ
           ง. การเก็บเครื่องตีแต่ละชนิด ควรมีถุงใส่แยกเฉพาะเครื่องดนตรี เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน 


บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   เรื่อง  การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์

 

ที่มาของข้อมูล
     สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ  ( พว.)

       
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=833

อัพเดทล่าสุด