เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา MUSLIMTHAIPOST

 

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา


728 ผู้ชม



อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดี เจริญก้าวหน้า   

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

ที่มาภาพ www.ecurriculum.ac.th

             "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เป็นงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2552   เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ในธรรมที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับการทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก  เดินทางมาร่วมทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ เป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากัน และเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ประชาชนพลเมือง จะมีความพอเพียงได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน  ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มี   จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี   ปี 2552   ( ที่มา : ไกด์อุบล.com)
       ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพ นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ 
พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษา  จึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายตามวัด  อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า  เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์
      

เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่  4  ( ม. 4 - ม.6 )
สาระทัศนศิลป์  
มาตรฐาน ศ 1.2   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

 เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

( ที่มาภาพ  www.sskru.ac.th )

        เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)  การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียน   นำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า   ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา  

ต้นเทียน
       ต้นเทียนมี 2 ประเภท คือ  ต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ 
การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก
        ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา  แสงงาม      ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 โดยใช้ปูนปลาสเตอร์ และกากมะพร้าวมาปั้นขึ้นบนแกนกลาง ที่ข้างในเป็นแกนเหล็ก จากนั้นก็จะเอากรอบสังกะสีมาครอบ แล้วเทเทียนที่ต้มเสร็จแล้วลงไป ทิ้งไว้ 1 วัน ต้นเทียนจะเริ่มแห้ง ลักษณะเรียบๆ พร้อมที่จะนำไปแกะสลัก

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน
       1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว และโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว
       
2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง
       
3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน
      
4. แปรงทาสีชนิดดี

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com  )

       อุปกรณ์เสริมในการแกะสลักต้นเทียน คือ 
 
       1.เกียง  ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนด้ามมีดเล็กๆ ที่ใช้ในการแกะสลักลวดลายต่างๆ

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

 ( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com  )

       2. สปอตไลท์ เพื่อช่วยให้ต้นเทียนอ่อนตัว และแกะสลักได้ง่ายขึ้น 

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

 ( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com  )

       ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการร่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย ลวดลายการแกะสลักต้นเทียน  เช่น  ลายบัว  ลายเทพนม  ลายก้ามปู

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา

 ( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com  )

สานต่อก่อปัญญา
        1.ทัศนศิลป์ หมายถึงอะไร
        2.
ต้นเทียนเป็นงานทัศนศิลป์ประเภทใด
        3.
ศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ เป็นคุณค่าของศิลปะแขนงใด

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
        
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

แหล่งที่มาของข้อมูล
   www.siamwoodcarving.com 
   ไกด์อุบล.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1116

อัพเดทล่าสุด