https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1] MUSLIMTHAIPOST

 

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]


916 ผู้ชม


ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ประจำชาติมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และรวมไปถึงเรื่องของการแต่งกายที่ถือได้ว่ามีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างดียิ่ง   

        เมื่อ 2-3วันที่ผ่านมาหลายท่านอาจจะได้รับทราบเกี่ยวกับข่าวที่ทางตำรวจนครบาลได้ออกมาตรการคุมเข้มกับสถานบันเทิง ร้านอาหาร และสถานบริการในเขตพื้นที่ของตนที่จัดให้มีหญิงสาวแต่งกายวาบหวิว ไม่เหมาะสมมานั่งเชียร์หรือเรียกลูกค้าบริเวณหน้าร้าน ที่ตั้งอยู่บริเวณริมถนน ซึ่งภาพเหล่านี้อาจจะไม่เหมาะสมมากนักต่อขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของไทยเรา (อ่านข่าว)
        เมื่อเราได้ลองศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านการแต่งกายของไทยเรา จะพบว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบันไทยเรานั้นได้มีรูปแบบการแต่งกายหลากหลายรูปแบบและได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่น่าเสียดายที่สมัยนี้การแต่งกายในรูปแบบความเป็นไทยหาดูได้อยากเต็มที ถ้าหากเราไม่ช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์เยาวชนรุ่นต่อๆไปอาจจะไม่รู้จักเลยก็ได้

เนื่อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2, 3, 4
เนื้อหา 

การแต่งกายของไทย เขียนโดย นายสมบัติ พลายน้อย 
        
เรื่องการแต่งกายของคนไทยในสมัยโบราณไม่มีจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นหลักฐาน การเขียนประวัติการแต่งกายตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงขาดหลักฐานที่ชัดเจน ได้แต่ สันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ทำเป็นรูปเทวดาและมนุษย์ในสมัยนั้นๆ   แล้วคาดว่าการแต่งกายของคนไทยในสมัยดังกล่าวคงจะเป็นเช่นนั้น
        
หนังสือสมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และ โบราณคดีของกรมศิลปากรได้สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวสุโขทัยไว้ดังต่อไปนี้
        
"การแต่งกายสตรี ส่วนมากนิยมนุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง รัดกลีบซับซ้อนมากชั้น มีเข็มขัดขนาดใหญ่คาดทับ ประดับด้วยลวดลายละเอียดมาก ทิ้งชายผ้าเป็นกาบขนาดใหญ่ ตรงด้านหน้าหรือยักเยื้องไปทางด้านข้าง บุคคลธรรมดาทั้งชายและหญิงมักนิยมนุ่งผ้ากระโจงเบน หวีผมแสกยาวประบ่า มีผ้ารัดต้นคอ ผู้หญิงธรรมดามีผ้าแถบคาดอก ใส่กำไลข้อมือ รัดแขนและกำไลข้อเท้ากรองคอทำเป็นลายหยักโดยรอบ
          ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย การนุ่งผ้าเท่าที่ปรากฏหลักฐานในตุ๊กตาสังคโลก 
และภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย มักนิยมมีชายพกด้านหน้า ยาวใหญ่ออกมามาก ทรงผมผู้ชายเกล้าสูงเป็นมวยอยู่เหนือศีรษะ มีเครื่องประดับต่างๆ"ไม่มีผู้ใดได้บันทึกเอกสารที่กล่าวถึงการแต่งกายสมัยสุโขทัยไว้ จึงจำต้องสันนิษฐานจากรูปปั้นรูปจารึกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งอาจไม่ตรงตามความจริงทั้งหมดก็ได้ ส่วนในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเอกสารทั้งของไทยและของต่างประเทศ  บันทึกว้หลายแห่ง และมีจิตรกรรมเขียนไว้มาก ทำให้หลักฐานเรื่องการแต่งกายสมัยอยุธยาค่อนข้างจะสมบูรณ์
        
ตามจดหมายเหตุของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บังกล่าวถึงขุนนางไทยว่า "นุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่สะเอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น"
        
ในจดหมายเหตุของโยส เซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและพระเจ้าประสาททอง กล่าวถึงการแต่งกายละเอียดกว่าของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง คือกล่าวว่า "ทั้งหญิงชายแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนน้อยชิ้น เพราะประเทศนี้เป็นประเทศร้อน เขาชอบผ้าสีต่างๆ นุ่งสำหรับส่วนล่างของร่างกาย ส่วนบนนั้นชายใส่เสื้อชั้นในแขนครึ่งท่อน ส่วนหญิงนั้นมีผ้าบางๆ พาดไหล่หรือปิดหน้าอก บนศีรษะมักจะมีปิ่นทองปักผมไว้และสวมแหวนทองที่นิ้วมือ การแต่งกายเช่นนี้แต่งด้วยกันทั้งคนจนคนมี จึงยากที่จะดูว่าใครรวยใครจน นอกจากจะรู้ราคาชนิดผ้าที่นุ่งห่มนั้น" (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๖ และ ๘๐)
          ในบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส
ที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึก  ถึงเรื่องการแต่งกายของคนไทยไว้มากกว่าคนอื่นๆ ดังปรากฏในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ (ฉบับสันต์โกมลบุตรแปล) ต่อไปนี้

          "ลางครั้งที่ไม่ใช้ผ้าลายเขียนนุ่ง ก็ใช้ชิ้นผ้าไหมเกลี้ยงๆ บ้าง หรือทอที่ริมเป็นลายทองลายเงินบ้างฝ่ายพวกอำมาตย์หรือขุนนางนั้นนอกจากนุ่งผ้าแล้ว ยังสวมเสื้อครุยผ้ามัสลินอีกตัวหนึ่ง ใช้เหมือนเสื้อชั้นนอกหรือเสื้อคลุม (ถึงเข่า) เขาจะเปลื้องมันออก แล้วม้วนพันเข้าไว้กับบั้นเอว เมื่อเข้าไปหาขุนนางผู้ใหญ่ที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงกว่าตน เป็นการแสดงว่าเขาเตรียมพร้อมอยู่เสมอที่ท่านผู้ใหญ่จะบัญชาให้ไปไหนมาไหนได้ดังใจเดี๋ยวนั้น...เสื้อครุยนี้ไม่มีคอเสื้อตั้งขึ้นไปและแหวกเปิดทางด้านหน้า โดยผู้แต่งมิได้สนใจที่จะกระชับชายให้ปรกกัน เพื่อปิดหน้าท้องของตนแต่ประการใด แขนเสื้อนั้นยาวทอดลงมาเกือบถึงข้อมือ กว้างรอบ ๒ ฟุตโดยรอบ ไม่เห็นถกแขนเสื้อตอนต้นแขนหรือปลายแขนอย่างใด อนึ่ง ตัวเสื้อครุยนั้นยังแคบมาก กระทั่งไม่สามารถผ่านลงและคลุมผ้านุ่งให้มิดชิดได้ คงเป็นรอยกลีบซ้อนกันพับอยู่กับบั้นเอวฉะนั้น" 
        การแต่งกายของสตรีไทยตามประวัติศาสตร์โบราณคดีจนถึงปัจจุบัน
สมัยทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากทรากปฎิมากรรม โบราณ
สถานต่างๆ ซึ่งขุดค้นได้จาก ต.คูบัว ราชบุรี และ อ.อู่ทอง ราชบุรี ซึ่งเป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำทวาราวดี"

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]
รูปภาพจาก : https://www.banramthai.com

สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากปฎิมากรรม เทวรูป โบราณ
วัตถุซึ่งค้นพบบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำศรีวิชัย"

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]

รูปภาพจาก : https://2.bp.blogspot.com

สมัยเชียงแสน พุทธศตวรรษที่ 17-25
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรเป็นผู้ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นจากจิตรกรรม 
ปฎิมากรรมพระพุทธรูปสำริด และโบราณวัตถุ ซึ่งขุดค้นได้ที่บริเวณภาคเหนือของไทย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์ เป็นชุดการแสดงในชุด "ระบำเชียงแสน

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]

รูปภาพจาก : https://learners.in.th

สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากปฎิมากรรม พุทธรูปสำริด 
แผ่นศิลา และโบราณวัตถุที่ขุดได้ที่บริเวณภาคเหนือของไทย จังหวัดสุโขทัย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์ เป็นชุดการแสดงในชุด "ระบำสุโขทัย"

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]

รูปภาพจาก : https://dit.dru.ac.th

สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19-23
ในระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 สมัยกลางของกรุงศรีอยุธยา อยู่ในช่วงที่ศิลปวัฒนธรรมเจริญสูงสุด บ้านเมืองค่อนข้างสงบ แต่ประชาชนทั้งชายหญิงก็ต่างเตรียมพร้อม ที่จะป้องกันภัยสงครามที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองทุกเวลา

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]
https://www.baanjomyut.com


สมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-19
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรเป็นผู้ประดิษฐ์ค้นคิดขึ้นจาก ปฎิมากรรมฐานสำริดอัปสร โบราณวัตถุ ซึ่งขุดค้นได้ที่บริเวณภาคอิสานของไทย อ. กุจินารายณ์ กาฬสินธ์ ซึ่งเป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำลพบุรี

วาบหวิวทำไม.....งามแบบไทยดีกว่า[1]

รูปภาพจาก :https://static.sanook.com/

ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนคิดว่าการแต่งกายของไทยได้รับอิทธิพลจากสิ่งใดบ้าง
2. การแต่งกายแบบใดที่ควรอนุรักษ์ไว้
3. การแต่งกายแบบใดเหมาะสำหรับใส่ในงานประเภทใด

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนค้นคว้าการแต่งกายของไทยในรูปแบบอื่นๆ
2. ให้นักเรียนวาดภาพ ระบายสีการแต่งกายที่ชื่นชอบ

การบูรณาการ
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์)
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ขอบคุณที่มาจาก : https://www.baanjomyut.com
                           https://www.komchadluek.net/
                           https://guru.sanook.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1370

อัพเดทล่าสุด