https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข้าวปุ้น..คืออะไร? ใครรู้บ้าง... MUSLIMTHAIPOST

 

ข้าวปุ้น..คืออะไร? ใครรู้บ้าง...


558 ผู้ชม


ข้า่วปุ้นหรือขนมจีน ชื่อเป็นของจีนแต่ไม่มีในประเทศจีนแปลกไหม...   
ข้าวปุ้นคืออะไร....ใครรู้บ้าง!!!
                                                   ข้าวปุ้น..คืออะไร? ใครรู้บ้าง...
                                                            ขอบคุณที่มาภาพ :   
 

งานบุญประเพณีทางภาคอีสานมีอาหารมากมายเตรียมไว้ต้อนรับแขกแต่ที่ขาดไม่ได้คืออาหารประเภทใด  ไปดูกัน..นะ
           ประเพณีงานบุญตามแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของไทยที่เรียกว่า  
ฮีตสิบสอง  คองสิบสี่  เป็นประเพณีที่ดำเนินต่อๆกันเรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาล ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญเดือนสี่ หรือบุญผะเหวด ฯลฯ  แต่ละประเพณีก็มีพิธีกรรมที่แตกต่างกัน  มีการทำบุญเลี้ยงพระ  เลี้ยงญาติพี่น้องที่ร่วมทำบุญ  ด้วยอาหารคาวหวานที่หาได้ตามท้องถิ่นหรือทำเอง แต่ไม่ว่าจะเป็นประเพณีใดๆ ก็ตามจะมีอาหารชนิดหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้  คือ ขนมจีนหรือภาษาอีสานเรียกว่า “ข้าวปุ้น”  ซึ่งว่าเป็นอาหารหลักเลยก็ว่าได้  เพราะถ้าแขกที่มาร่วมงานบ้านใด ไม่ได้กินข้าวปุ้นก็จะถือเสมือนว่ายังไม่ได้ร่วมงานบุญนั้น และเป็นอาหารท่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย  ในสมัยโบราณข้าวปุ้นจะนิยมทำกันเองในหมู่ญาติ มีการตำข้าว  หมักแป้ง  นวด  และบีบเป็นเส้นเอง  แต่ปัจจุบันนิยมซื้อตามท้องตลาดซึ่งสะดวกกว่า
                                                     ข้าวปุ้น..คืออะไร? ใครรู้บ้าง...
                                                              
ขอบคุณที่มาภาพ :
                                                  
                                                      
    การ รับประทานข้าวปุ้นมีหลายวิธีตามใจชอบของแต่ละบุคคล แต่ที่ได้รับความนิยมมาก มี 2 วิธีคือ การรับประทานแบบนี้มีเครื่องปรุงที่เป็นน้ำยาสำเร็จและการรับประทานด้วยน้ำ ต้มผัก
สาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5-6
สาระที่ 1  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ 1.1  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์
                  คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ใน
                 ชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ 1.2   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์
                 ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ 2  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ 2.1  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี 
                 ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ 2.2   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ 
                 เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ 3  นาฏศิลป์
            มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์
                   ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์
                   ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
    เซิ้ง  เป็นการแสดงท่ารำของชาวอีสานที่มีจังหวะสนุกสนาน  อาจเป็นการรำประกอบเนื้อร้องหรือเพลงบรรเลงก็ได้ 
ในทางนาฏศิลป์ ก็มักนำเอาวิถีชีวิตของชาวบ้านมาคิดประดิษฐ์เป็นท่ารำที่สื่อให้เห็นถึงวิธีการทำมาหากินของชาวชนบทขึ้น  เรียกว่า  “เซิ้งข้าวปุ้น”  เป็นการแสดงที่เลียนแบบวิธีการผลิตข้าวปุ้นที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีกันในชุมชน  เริ่มตั้งแต่  การตำข้าวสำหรับทำแป้งข้าวปุ้น (ตำด้วยครกกระเดื่อง)  การนวดแป้ง (นวดด้วยมือ)   การบีบเพื่อทำเส้นข้าวปุ้น (บีบด้วยกระบอก) การจับเส้นเพื่อทำเป็นจับหรือเป็นแพให้สวยงามสะดวกในการรับประทาน
                                           
เซิ้งข้าวปุ้น
ท่ารำเซิ้งข้าวปุ้น
 - ท่าเดินออก
 - ท่าตำข้าว
 - ท่านวดแป้ง
 - ท่าบีบข้าวปุ้น
 - ท่าจับเส้น
 -ท่าเดินเข้า
การแต่งกาย
     ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วนแต่งกายด้วยเสื้อแขนกระบอกห่มสไบทีทำจากผ้าพื้นเมือง
     นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวคลุมเข่าหรือผ้าถุงตีนจกก็ได้  คาดเข็มขัดเงิน
     ผมเหล้ามวยสูงประดับดอกไม้
     เครื่องประดับเป็นเครื่องเงิน
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง
             เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย  พิณ พิณเบส  โปงลาง  กลองยาว  รำมะนา  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  เกราะ  บรรเลงเพลงจังหวะเซิ้ง อาจประยุกต์เพลงอีสานบ้านเฮาเข้าด้วยก็ได้เพื่อทำให้บรรยากาศสนุกสนานเพิ่มขึ้น
คำถามที่น่าสนใจ
- ให้นักเรียนเล่าถึงลักษณะของข้าวปุ้นหรือขนมจีนในท้องถิ่นของตนเองหรือที่นักเรียนเคยรู้จัก
- การรำเซิ้งข้าวปุ้นที่จะทำให้ผู้ชมมีความสุข มีอารมณ์คล้อยตาม นักเรียนคิดว่าผู้แสดงควรทำอย่างไร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
       มาตรฐาน  ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและ
           นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
      มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มี
            อยู่ จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้ง เข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการ ดำรงชีวิต
            อย่างมีดุลยภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
      มาตรฐาน ง 1.1  เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะ
           กระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม
           และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรง
           ชีวิตและครอบครัว
กิจกรรมเพิ่มเติม
    นักเรียนควรเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีนาฏศิลป์ที่มีกิจกรรมการแสดงตามท้องถิ่นหรือในโรงเรียนตามโอกาสเพื่อเพิ่มทักษะการแสดงให้มากขึ้น
อ้างอิงข้อมูล
  
https://variety.teenee.com/foodforbrain/img7/59203.jpg 
อ้างอิงภาพ
  https://variety.teenee.com/foodforbrain/img7/59203.jpg 
  https://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon8_7_clip_image001.jpg 
    

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2493

อัพเดทล่าสุด