https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ศิลปะกับชีวิต MUSLIMTHAIPOST

 

ศิลปะกับชีวิต


2,524 ผู้ชม


ศิลปะเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกรูปแบบ   

 ศิลปะในชีวิตประจำวัน เขียนโดย Administrator 
ศิลปะในชีวิตประจำวัน


ตามความเข้าใจของทุกคน ต่างทราบดีว่า สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่อยู่บนโลกใบนี้ คือ ปัจจัยสี่ ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโต ต้องการเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มไว้ปกปิดร่างกายป้องกันความร้อน ความหนาวเย็น ต้องการยารักษาโรคเพื่อรักษาโรคภัยต่าง ๆ  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิได้ และจะต้องให้ความสนใจ เอาใจใส่ในการดูแลเรื่องดังกล่าวเหล่านี้

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัจจัยสี่คือ สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันภัยอันตรายจากภายนอก มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มนุษย์ยังต้องการเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มไว้ปกปิด ร่างกายจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมนุษย์ยังต้องการยา เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้ว แต่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์อย่างยิ่งเมื่อมนุษย์ตระหนักถึงความสำคัญมนุษย์ จึงต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแลในเรื่องดังกล่าว การให้ความสำคัญในรายละเอียดต่าง ๆ จึงถูกนำมาพิจารณา และปรุงแต่งปัจจัยให้สนองความต้องการ และแสดงถึงคุณค่าของความงามสิ่งนั้นศิลปะหากมนุษย์ยอมรับว่าศิลปะคือ การแสดงออกของอารมณ์ตามความพอใจ ศิลปะก็จะมีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่สนองความต้องการทางอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง หากมนุษย์มีความเครียด ศิลปะสามารถสร้างความเบิกบานให้ แสดงว่าเขาผู้นั้นเข้าถึงศิลปะ

นอกจากนี้การเข้าถึงศิลปะจะทำให้มนุษย์มีรสนิยมที่ดี การมีรสนิยมจะเกี่ยวข้องกับศิลปะและการออกแบบ รสนิยมเป็นความพอใจของมนุษย์ที่นำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานให้เกิดความพอดี เพราะความพอดีและความพอใจ หากมนุษย์เข้าถึงศิลปะได้มากเขาผู้นั้นก็จะมีรสนิยมที่ดีดังนั้นศิลปะจึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์และต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

การนำศิลปะมาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นการนำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานกับการดำรงชีวิตอันได้แก่

ศิลปะกับที่อยู่อาศัย

ศิลปะกับอาหาร

ศิลปะกับเครื่องนุ่งห่ม

 

ศิลปะกับที่อยู่อาศัย
มนุษย์เหมือนสัตว์ทั่วไปที่ต้องการสถานที่ปกป้อง คุ้มครองจากสิ่งแวดล้อมรอบกาย ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่แห่งใด สถานที่อย่างไร ที่อยู่อาศัยจะสร้างขึ้น เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จึงมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการและความพอใจของแต่ละบุคคลมนุษย์ทุกคนมีการพัฒนาการในชีวิตของตนเองมนุษย์จึงนำพัฒนาการเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญสำหรับมนุษย์ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ทันสมัยกว่าในอดีตเนื่องจากต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลง แต่ในการปรับปรุงนั้น ควรคำนึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กันไปการพัฒนาที่อยู่อาศัยนั้นจึงจะเหมาะสมและสนองความต้องการอย่างแท้จริง

ที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านในปัจจุบัน จะมีรูปแบบที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และเน้นในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามรสนิยมการบริโภค นอกจากนี้ในการจัดตกแต่งภายในจะมีการผสมผสานการตกแต่งแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดผลงานการตกแต่งในรูปแบบ Contemporary และ Oriental ที่ใช้งานได้สะดวกตามรูปแบบตะวันตก

ปัจจัยอีกประการหนึ่งในการจัดตกแต่งภายในบ้านคือการนำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานเข้ากับการตกแต่ง เพื่อให้การดำรงชีวิตภายในบ้านสะดวกทั้งกายและใจ และแสดงออกถึงความงดงาม และมีรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของบ้าน องค์ประกอบทางศิลปะจึงถูกนำมาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบทางศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดแต่งแต่งที่อยู่อาศัย ได้แก่

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion) ขนาดและสัดส่วนนำมาใช้ในการจัดที่อยู่อาศัย ได้แก่

1.1 ขนาดของห้อง ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ หากเป็นห้องที่ใช้กิจกรรมมาก เช่น ห้องอาหาร ห้องครัว หรือห้องรับแขก ควรกำหนดขนาดของห้องให้มีพื้นที่รองรับกิจกรรมนั้น ๆ ให้เหมาะสม ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้คับแคบและไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรม

1.2 จำนวนของสมาชิกในครอบครัว ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ ควรคำนึงถึงจำนวนของสมาชิกว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้กำหนดขนาดของห้องให้เหมาะสมกับสมาชิก

1.3  เครื่องเรือน ในการกำหนดขนาดของเครื่องเรือน ควรกำหนดให้มีขนาดพอดีกับห้องและสมาชิก หรือขนาดพอเหมาะกับสมาชิกไม่สูงหรือเตี้ยจนใช้งานไม่สะดวก 
 

2. ความกลมกลืน(Harmony)ความกลมกลืนของศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดตกแต่งที่อยู่ได้แก่

ความกลมกลืนของการตกแต่งที่อยู่อาศัย การนำธรรมชาติมาผสมผสานในการตกแต่ง จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่งดงามการใช้ต้นไม้ตกแต่งภายในอาคารจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ร่มรื่น เบิกบานและเป็นธรรมชาติ

ความกลมกลืนของเครื่องเรือนในการตกแต่งภายในการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้สอย จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในการใช้งาน การเลือกวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องเรือนภายในครัว ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ทนร้อนและทนรอยขูดขีดได้ดี เช่น ฟอร์ไมก้า แกรนิตหรือกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี ในการตกแต่ง ซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะหากใช้ไม่ถูกต้อง

แล้ว จะทำให้ความกลมกลืนกลายเป็นความขัดแย้ง การใช้สีกลมกลืนภายในอาคาร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องผู้ใช้ เครื่องเรือนและการตกแต่ง การใช้สีกลมกลืนควรใช้วิจารณญาณ เลือกสีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้
 

3. การตัดกัน (Contrast)ในการตัดกันโดยทั่วไปของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยนิยมทำในรูปแบบของการขัดกันในการใช้เครื่องเรือนในการตกแต่ง เพื่อสร้างจุดเด่นหรือจุดสนใจในการตกแต่งไม่ให้เกิดความกลมกลืนมากเกินไป การออกแบบเครื่องเรือนแบบร่วมสมัย จึงได้รับความนิยมเนื่องจากสร้างความโดดเด่นของการตกแต่งได้เป็นอย่างดี
 

4. เอกภาพ (Unity)ในการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ หากขาดเอกภาพงานที่สำเร็จจะขาดความสมบูรณ์ในการตกแต่งภายใน การรวมกลุ่มกิจกรรมเข้าด้วยกัน การรวมพื้นที่ในห้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกิจกรรม จึงเป็นการใช้เอกภาพในการจัดพื้นที่ที่ชัดเจน การจัดเอกภาพของเครื่องเรือนเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเครื่องเรือนจัดไม่เป็นระเบียบย่อมทำให้ผู้อาศัยขาดการใช้สอยที่ดีและขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
 

5. การซ้ำ (Repetition) การซ้ำและจังหวะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันการซ้ำสามารถนำมาใช้ในงานตกแต่งได้หลายประเภทเพราะการซ้ำทำให้เกิดความสอดคล้องของการออกแบบการออกแบบตกแต่งภายในการซ้ำอาจนำมาใช้ในการเชื่อสายตา เช่น การปูกระเบื้องปูพื้นที่เป็นลวดลายต่อเนื่อง หรือการติดภาพประดับผนัง ถึงแม้การซ้ำจะทำให้งานสอดคล้อง หรือต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเพราะจะทำให้ดูสับสน
 

6. จังหวะ (Rhythm) การจัดจังหวะของที่อยู่อาศัยทำได้หลายลักษณะ เช่น การวางผังบริเวณหรือการจัดแปลนบ้านให้มีลักษณะที่เชื่อมพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะ หรือจังหวะ นอกจากนี้การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารนับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดระเบียบและสะดวกต่อการทำงาน และทำให้การทำงานและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่นิยมได้แก่ การจัดพื้นที่การทำงานของห้องครัว โดยแบ่งพื้นที่การทำงานให้เป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้แก่ พื้นที่ของการเก็บ การปรุงอาหาร การล้าง การทำอาหาร และการเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น
7. การเน้น (Emphasis)ศิลปะของการเน้นที่นำมาใช้ในที่อยู่อาศัย ได้แก่

การเน้นด้วยสีการเน้นด้วยสีได้แก่ การตกแต่งภายในหรือภายนอกอาคารด้วยการใช้สีตกแต่งที่กลมกลืน หรือโดดเด่น เพื่อให้สะดุดตาหรือสดชื่นสบายตา ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดนั้น

การเน้นด้วยแสงการเน้นด้วยแสงได้แก่ การใช้แสงสว่างเน้นความงามของการตกแต่ง และ

เครื่องเรือนภายในบ้านให้ดูโดดเด่น การใช้โคมไฟหรือแสงสว่างต่าง ๆ สามารถสร้างความงามและให้บรรยากาศที่สดชื่น หรือสุนทรีย์ได้อย่างดี ในการใช้แสงไฟควรคำนึงถึงรูปแบบของโคมไฟ ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับขนาดและสถานที่ ตลอดจนความกลมกลืนของโคมไฟและขนาดของห้อง

เน้นด้วยการตกแต่งการเน้นด้วยการตกแต่งได้แก่ การใช้วัสดุ เครื่องเรือน เครื่องใช้หรือของตกแต่งต่าง ๆ ตกแต่งให้สอดคล้องสวยงามเหมาะสมกับรูปแบบและสถานที่ตกแต่งนั้น ๆ
 

8. ความสมดุล (Balance)การใช้ความสมดุลในการจัดอาศัยได้แก่ จัดตกแต่งเครื่องเรือน หรือวัสดุต่าง ๆ ให้มีความสมดุลต่อการใช้งาน หรือเหมาะสมกับสถานที่ เช่น การกำหนดพื้นที่ใช้สอยที่สะดวกต่อการทำงาน หรือการจัดทิศทางของเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการทำงาน โดยเฉลี่ยกิจกรรมให้เหมาะสมและสมดุล
 

9. สี (Color)สีมีความสัมพันธ์กับงานศิลปะ และการตกแต่งสถานที่ เพราะสีมีผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ สีให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างมีความสุข เบิกบานและรื่นรมย์ ดังนั้นสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยในการใช้สีตกแต่งภายใน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
 

วัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่
ในการใช้สีตกแต่งภายใน ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่ตกแต่ง เพื่อจะได้ใช้สีได้

อย่างเหมาะสม การใช้สีตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

ห้องรับแขก ห้องรับแขกเป็นห้องที่ใช้ในการสนทนา หรือต้อนรับผู้มาเยือน ดังนั้นห้องรับแขก ควรใช้สีอบอุ่น เช่น สีครีม สีส้มอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน เพื่อกระตุ้นให้เบิกบานห้องอาหาร ห้องอาหารควรมีสีที่ดูสบายตา เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร อาจใช้สีที่กลมกลืน นุ่มนวลเพราะสีนุ่มนวลจะทำให้เกิดความสบายใจ

ห้องครัวห้อง ควรใช้สีที่ดูสะอาดตา และรักษาความสะอาดง่าย ห้องควรเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมจึงควรใช้สีกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการทำกิจกรรม

ห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่พักผ่อน ควรใช้สีที่สบายตา อบอุ่น หรือนุ่มนวล แต่การใช้ในห้องนอนควรคำนึงถึงผู้ใช้ด้วย

ห้องน้ำ ห้องน้ำเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมส่วนตัว และต้องการความสบาย จึงควรใช้สีที่สบายตาเป็นธรรมชาติ และสดชื่น เช่น สีฟ้า สีเขียว หรือสีขาว และควรเป็นห้องที่ควรทำความสะอาดได้ง่าย

ทิศทาง การใช้สีตกแต่งภายในควรคำนึงถึงทิศทางของห้อง ห้องที่ถูกแสงแดดส่องควรใช้สีอ่อนเพื่อสะท้อนแสง ส่วนห้องที่อยู่ในที่มืด หรืออับ ควรใช้สีอ่อนเพื่อความสว่างเช่นกันเพศและวัย เพศชายหรือหญิง จะใช้สีในการตกแต่งไม่เหมือนกัน เพศชายจะใช้สีเข้มกว่าเพศหญิงเช่นสีเขียวเข้ม สีฟ้า หรือเทา ส่วนเพศหญิงจะใช้สีที่อ่อน และนุ่มนวลกว่า เช่น สีครีม สีเหลือง เป็นต้น 

วัย ในแต่ละวัยจะใช้สีไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเด็กจะใช้สีอ่อนหวานนุ่มนวล ห้องผู้ใหญ่จะมีสีที่อบอุ่น ห้องผู้สูงอายุจะใช้สีที่นุ่มนวล

ศิลปะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ศิลปะยังช่วยจรรโลงใจให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข หากต้องการความสุขในครอบครัว ปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสิ่งนั้น  คือ “ศิลปะ”

 

ศิลปะเกี่ยวกับการจัดอาหาร


อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ อาหารนอกจากสนองความต้องการทางกายของมนุษย์แล้ว อาหารยังสนองความต้องการทางด้านจิตใจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นในการบริโภคอาหารผู้จัดอาหารจึงต้องใช้ศิลปะในการสร้างสรรค์ตกแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารเป็นเครื่องจรรโลงใจในขณะเดียวกันศิลปะเกี่ยวกับการอาหาร มีองค์ประกอบศิลปะที่นำมาเกี่ยวข้องในการจัดอาหาร
1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion)ในการจัดอาหาร ขนาดและสัดส่วนนำมาเกี่ยวข้องในการจัดอาหารในภาชนะ หากภาชนะมีขนาดเล็ก อาหารในจานควรมีปริมาณที่พอดี ไม่มากจนล้นหรือเลอะออกมานอกภาชนะ เพราะจะทำให้ไม่น่ารับประทาน ในการจัดอาหารบนโต๊ะ หากโต๊ะมีขนาดเล็กภาชนะที่ใช้ควรมีสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ใหญ่จนแน่นโต๊ะ หรือเล็กจนตักอาหารไม่ถนัด
2. ความกลมกลืน (Harmony)ความกลมกลืนในการจัดอาหารจะเกี่ยวข้องกับอาหารและภาชนะอาหารควรเหมาะสมและกลมกลืนกับภาชนะอาหารประเภททอดควรใส่ในจาน หรืออาหารประเภทน้ำควรใส่ในชาม นอกจากนี้ผลไม้ควรใส่ตะกร้าหรือถาดไม้จะเหมาะสมกว่าใส่ในถาดโลหะ อาหารบางประเภทควรคำนึงถึงความกลมกลืนของภาชนะเช่นกัน เช่น อาหารภาคเหนืออาจเสิร์ฟในขันโตก หรืออาหารภาคกลาง เสิร์ฟในจานที่ดูดสวยงาม สะอาด หรือมีขอบเป็นลวดลายไทย เป็นต้น
3. การตัดกัน (Contrast)ศิลปะในการตัดกันของการจัดอาหาร ทำได้โดยการตัดกันระหว่างการตกแต่งโต๊ะอาหารและการจัดอาหาร สีของอาหารหรือการตกแต่งอาหาร แต่ในการตัดกันไม่ควรตัดกันในปริมาณที่มาก เพราะจะทำให้ขาดความน่าสนใจ ในปัจจุบันการจัดตกแต่งโต๊ะอาหารนิยมจัดดอกไม้ให้สูงเกินมาตรฐานการจัด เพื่อสร้างความสนใจและความโดดเด่นของบรรยากาศ แต่ในการจัดควรระมัดระวังเพราะจะทำให้รกและขัดต่อการสนทนาได้ ส่วนสีของอาหารหรือการตกแต่งอาหารสามารถตัดกันได้ตามความเหมาะสมของความสวยงาม
4. เอกภาพ (Unity)เอกภาพในการจัดอาหาร ทำได้โดยการรวมกลุ่มของการจัดโต๊ะอาหาร เช่น การจัดจาน ช้อนส้อม หรือชุดอาหารเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับอาหารที่จัดนั้น ๆ ส่วนการจัดอาหารในจานควรจัดให้พอเหมาะไม่แผ่กระจายยากต่อการรับประทาน หรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ควรอยู่ด้วยกันกับอาหารที่เสิร์ฟนั้น ๆ
5. การซ้ำ (Repetition) การซ้ำเป็นการทำในลักษณะเดิม เช่น การตกแต่งของจานด้วยลักษณะซ้ำกันแบบเดิมอย่างมีจังหวะ ได้แก่ การวางแตงกวาเรียงรอบขอบจาน เพื่อเน้นการจัดอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
6. จังหวะ (Rhythm) การจัดจังหวะในการตกแต่งอาหาร ทำได้หลายประการ ทั้งการจัดจังหวะของอาหารบนโต๊ะ การตกแต่ง หรือจัดตกแต่งอาหารในภาชนะ เช่น การวางแตงกวาสลับกับมะเขือเทศเรียงรอบขอบจาน หรือการจัดตกแต่งบริเวณโต๊ะอาหารด้วยสิ่งตกแต่งต่าง ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น แจกันดอกไม้ หรือเชิงเทียน เป็นต้น
7. การเน้น (Emphasis) ศิลปะการจัดตกแต่งอาหารให้น่าสนใจอยู่ที่การเน้น การเน้นสามารถทำได้ทั้งการตกแต่งบรรยากาศในห้องอาหาร การเน้นยังเกี่ยวข้องกับสีสันของอาหาร การตกแต่งอาหาร เช่น การแกะสลักผัก ผลไม้ หรือการจัดบรรยากาศด้วยการจัดดอกไม้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการเน้นทั้งสิ้น หากต้องการให้อาหารที่จัดน่าสนใจ ควรคำนึงถึงศิลปะที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ สิ่งนั้นคือ การเน้นนั่นเอง
8. ความสมดุล (Balance)การจัดอาหารหรือโต๊ะอาหาร ความสมดุลจะช่วยให้พื้นที่จัดมีน้ำหนักในการจัดวางอย่างลงตัว ไม่หนาแน่นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการใช้สอยและงดงามต่อการมองเห็น การจัดอาหารในงานเลี้ยง พื้นที่จัดไม่ควรอยู่รวมกันเพราะจะทำให้เกิดความหนาแน่นของพื้นที่ ควรกระจายพื้นที่ในการจัดให้สมดุล โต๊ะวางอาหารควรอยู่ในบริเวณที่มีพื้นที่กว้างเพื่อสะดวกต่อการตัดอาหารขนมหวานหรือผลไม้ควรแยกออกไปอีกบริเวณหนึ่ง เพื่อสร้างความสมดุลยของพื้นที่ นอกจากนี้การจัดอาหารในจานควรคำนึงถึงความสมดุลเช่นกันเพราะความสมดุลจะทำให้อาหารในจานดูเหมาะสม
9. สี (Color) การใช้สีตกแต่งอาหารเป็นเรื่องง่ายกว่าการใช้สีตกแต่งในเรื่องอื่น เพราะอาหารในแต่ละอย่างจะมีสีสันในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทย ซึ่งมีมากมายหลายสี แกงเขียวหวานสีเขียวอ่อน แกงเผ็ดสีส้ม หรือแกงเลียงสีเขียว การใช้สีตกแต่งอาหารเพียงเพื่อต้องการให้อาหารเกิดความน่ารับประทาน และสร้างจุดเด่นของอาหาร ดังนั้นการใช้สีตกแต่งอาหาร จึงควรใช้สีจากธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงหรือสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน หรือสีเหลืองจากฟักทองหรือขมิ้น เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาหารจะมีรสอร่อยเพียงใดแต่หากขาดการปรุงแต่งด้วยสีสันอาหารนั้นอาจขาดความสนใจได้เช่นกัน
ศิลปะกับเสื้อผ้าและการแต่งกาย

เสื้อผ้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้ามีไว้ปกปิดร่างกาย และป้องกันภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเสื้อผ้ายังช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้มีภาพลักษณ์ที่ดี หากต้องการมีภาพลักษณ์ที่ดี ผู้นั้นจะต้องเลือกแต่งกายดี มีรสนิยม รสนิยมของการแต่งกายขึ้นอยู่กับศิลปะ ศิลปะในการแต่งกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการแต่งกายโดยทั่วไปจะคำนึงถึงขนาด รูปร่าง เพศ วัย และบุคลิกของการสวมใส่ และศิลปะจะเป็นส่วนเสริมเพิ่มเติมหรือประดับตกแต่งให้เกิดรสนิยม ศิลปะจึงมีความสัมพันธ์กับเสื้อผ้าและการแต่งกาย
องค์ประกอบศิลปะที่นำมาเกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าและการแต่งกาย ได้แก่

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion) ขนาดและสัดส่วนมีความสัมพันธ์กัน ขนาด

เกี่ยวพันกับสัดส่วน หากร่างกายมีขนาดใหญ่ สัดส่วนจะขยายใหญ่ ดังนั้นในการแต่งกาย หรือการออกแบบ

เสื้อผ้าที่แก้ไขข้อบกพร่องของสัดส่วนของร่างกาย เช่น คนหน้าอกใหญ่ ควรสวมเสื้อที่มีปกหรือเสื้อคอวี เพื่อช่วยให้ทรวงอกเล็กลง หรือผู้ที่อ้วนควรเลือกเสื้อผ้าชุดหลวมที่ไม่เน้นบริเวณเอว หรือคับตึง เพราะจะเน้นให้เห็นขนาดที่ชัดเจน

2. ความกลมกลืน (Harmony) ความกลมกลืนในการแต่งกาย ได้แก่ ความกลมกลืนของสีเสื้อผ้าและการตกแต่ง การใช้สีตกแต่ง ควรมีความกลมกลืนกับบุคลิก อายุ เพศ และวัย ผู้สูงอายุควรใช้เสื้อผ้าที่มีสีเข้ม ไม่ฉูดฉาด เพราะจะทำให้ดูอ่อนโยน

3. การตัดกัน (Contrast) การตัดกันในการแต่งกาย ทำได้หลายวิธี ทั้งในด้านการตัดกันด้วยขนาดลวดลาย แบบ หรือสี การตัดกันเพื่อสร้างจุดเด่น ดังนั้นในการตัดกัน จึงควรคำนึงถึงผู้สวมใส่ ว่ามีบุคลิกภาพที่เหมาะสมอย่างไร ในการตัดกันควรพิจารณาถึงปริมาณของการตัดกัน ซึ่งไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ของผลงาน เช่น การใช้สีตัดกันของเสื้อผ้า ควรตัดกันไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์

4. เอกภาพ (Unity) เอกภาพของการแต่งกายคล้ายกับความกลมกลืน ซึ่งเน้นในด้านความสัมพันธ์และความสอดคล้อง ในการแต่งกายควรให้มีความสอดคล้องในด้านแบบ สี หรือการตกแต่ง ให้ผสมกลมกลืนเป็นกลุ่มเดียวกัน หรือในลักษณะเดียวกันเพื่อดูเรียบร้อยสวยงาม เอกภาพในการแต่งกายได้แก่การแต่งกายในชุดทำงานที่มีสีเดียวกัน ตกแต่งในแบบเรียบง่าย แต่ดูคล่องแคล่วในการปฏิบัติงาน

5. การซ้ำ (Repetition) หากในการจัดอาหาร การวางแตงกวารอบขอบจานคือการซ้ำ ในการแต่งกายการเรียงกระดุมของเสื้อผ้าก็คือการซ้ำเช่นกัน การซ้ำทำในลักษณะของการตกแต่ง เช่น การติดลูกไม้รอบคอเสื้อ หรือชายกระโปรง หรือการตกแต่งด้วยลวดลายของผ้า และสีของการตกแต่ง เหตุที่ต้องทำซ้ำก็เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเบี่ยงเบนความสนใจของส่วนบกพร่องต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง

6. จังหวะ (Rhythm) ในการแต่งกาย จังหวะเปรียบเสมือนช่วงระยะของการนำสายตาที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกัน หรือการประสานต่อเนื่องกันของสายตาอย่างมีจังหวะของส่วนประกอบเครื่องแต่งกาย เช่น ปกเสื้อ เข็มขัด กระโปรงหรือรองเท้า การออกแบบเสื้อผ้าอย่างมีจังหวะก็เพื่อสานองค์ประกอบย่อยเข้าเป็น องค์ประกอบใหญ่ เพื่อสร้างจุดเด่นที่ชัดเจน การเชื่อมโยงสายตาอย่างมีจังหวะสามารถทำได้โดยการซ้ำของวัสดุที่คล้ายกัน หรือต่างกัน โดยทำเป็นจังหวะที่เหมือนกันหรือต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสร้างจุดสนใจนั้น ๆ 
7. การเน้น (Emphasis) เมื่อจังหวะสร้างจุดเด่น จุดเด่นนั้นจะทำให้เกิดการเน้น ในการเน้นของการแต่งกายเป็นการอำพรางข้อบกพร่อง โดยเบี่ยงเบนความสนใจไปยังส่วนอื่น หรือในขณะเดียวกันการเน้นอาจเรียกร้องหรือสร้างจุดสนใจให้กับการออกแบบนั้น ๆ ในการเน้นอาจเน้นด้วยเครื่องประดับ ลวดลาย หรือสีสันของลวดลายผ้า

8. ความสมดุล (Balance) ความสมดุลในการแต่งกายทำได้หลายวิธี ในการสร้างความสมดุลของการแต่งกายจะจัดแบ่งเป็นด้านบน และด้านล่าง เช่น เสื้อและกระโปรง หรือเสื้อกับกางเกง การทำให้สมดุล อาจใช้ลวดลายหรือน้ำหนักของสีเสื้อผ้าช่วยในการแบ่งน้ำหนักได้ เช่น ใส่กระโปรงสีดำ และใส่เสื้อสีขาวสลับดำ เป็นต้น

9. สี (Color) สีเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานศิลปะ เพราะสีต่าง ๆ จะทำให้เกิดความสวยงามน่าสนใจ และแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึก ในการแต่งกายสีจะช่วยเสริมบุคลิกของผู้สวมใส และยังเป็นแรงบันดาลใจในการแสดงออกถึงความรู้สึก และความน่าสนใจ ดังนั้นในบริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัทจึงได้จ้างนักออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยเลือกแบบและสีเพื่อสร้างความสนใจต่อลูกค้าเช่น พนักงานธนาคาร พนักงานต้อนรับ หรือพนักงานขายสินค้า จะมีสีสันที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของงาน ในการใช้สีของเสื้อผ้าควรใช้ในลักษณะของค่าน้ำหนัก (Value) คือ มีการใช้สีอ่อน-แก่ เพื่อเกิดความแตกต่างของค่าน้ำหนักสี เช่น สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม หรือการใช้สีประสานกลมกลืน (Harmony) ที่ดูแล้วนุ่มนวล เช่น สีโทนเดียวกัน และหากต้องการความสดชื่นการใช้สีสดหรือสีตัดกันในปริมาณที่ต่างกันก็อาจทำให้สดชื่นได้

ในการแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีทางจิตวิทยา จะมีปฏิกริยาต่ออารมณ์ของการแต่งกาย ดังนี้
สีแดง เป็นสีที่กระตุ้นจิตใจเป็นอย่างดี เย้ายวน ร้อนแรง ผู้ที่ใส่สีแดงจะต้องเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เปิดเผย และเป็นผู้นำ
สีเหลือง เป็นสีที่บ่งบอกถึงความเป็นมีคนมีอารมณ์ดี ร่าเริง อ่อนโยน มีพลัง ความฉลาด และจินตนาการ สนใจงาน การใส่สีเหลืองอาจลดความสดใสลงหรือใส่เป็นเสื้อคลุมจะทำให้ลดความเจิดจ้าลง
สีเขียว เป็นสีที่แสดงออกถึงความสุขุม เยือกเย็น เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้พลัง หรือความคิด เมื่อใส่สีเขียวจะดูเป็นคนกระฉันกระเฉงและพัฒนาตนเอง
สีฟ้า เป็นสีของความสงบและพักผ่อน มักใส่ในวันหยุดในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดูสดชื่น ควรเลี่ยง สีฟ้าหากรู้สึกหดหู่เพราะจะทำให้เหงามากขึ้น ควรใส่คู่กับสีส้มอ่อน
สีม่วง เป็นสีที่ขรึม สง่า เกิดความศรัทธาและความสงบ หากเป็นคนที่เปิดกว้างจะยอมรับสีม่วงได้ สีม่วงปนแดงจะสร้างความมั่นใจได้ดี
สีขาว เป็นสีที่ใสสะอาด เข้าได้กับทุกสี ชอบค้นหาความจริงของชีวิต เป็นสีของนักคิด เมื่อใส่สีขาวจะทำให้ขาดอำนาจในการตัดสินใจ
สีดำ เป็นสีที่แสดงออกถึงความมั่นในตัวเอง ผู้ที่ใส่สีดำจะแสดงถึงการให้ผู้อื่นนับถือ เป็นสีที่ชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยว
สีน้ำเงิน เป็นสีที่ควบคุมตนเองได้ดี มีความลึกซึ้ง รับผิดชอบ สนุกกับทุกเรื่อง ควรใช้สีน้ำเงินกับสีสดใสต่าง ๆ จะทำให้ดูดีขึ้น
การแก้ไขข้องบกพร่องด้วยเสื้อผ้า

นอกจากนี้หลักการทางศิลปะต่าง ๆ ยังช่วยแก้ไขปัญหา และอำพรางข้อบกพร่องต่าง ๆ ของร่างกายได้อีก ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้

1. รูปร่างผอมสูง ถึงแม้จะมีรูปร่างดี แต่หากใส่เสื้อผ้ารัดรูปมากเกินไป เช่นใส่เสื้อแขนกุด หรือผ้ายืดบางรัดรูปจะเน้นให้เห็นสรีระที่ผอมบางชัดเจน ควรใส่เสื้อผ้าผ้าที่หนา ๆ หรือจีบพองฟู เพราะจะเสริมให้ดีหนาขึ้น และมีบุคลิกที่ดีขึ้น

2. รูปร่างอ้วนเตี้ย หากคอสั้นทำให้คอดูยาวขึ้น ควรใส่เสื้อคอวี หรือคอเชิร์ทจะช่วยให้ใบหน้าดูยาวขึ้น ไม่ควรใส่เสื้อปิดคอจะทำให้คอสั้นลง ลวดลายของเสื้อผ้าควรเป็นดอกเล็กๆ และลายตั้ง ห้ามใส่ฟองน้ำเสริมไหล่เพราะจะดูหนาขึ้น ไม่ควรใส่ชุดติดกันเพราะจะเน้นขนาด และตัดกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรสวมกระโปรง และเสื้อแยกชิ้น และมีสีเข้ม ไม่ควรใช้ผ้าหนาเพราะจะเพิ่มความอ้วนขึ้นอีก

3. สะโพกใหญ่ ไม่ควรสมเสื้อเอวลอย เพราะจะเน้นสะโพกชัดเจน ควรสวมกระโปรงที่ตัดเย็บจากผ้านิ่ม ๆ พริ้วทั้งตัว สีเข้มเพื่ออำพราง ไม่ควรสวมกระโปรงหรือกางเกงที่รัดรูป เพราะจะเน้นความใหญ่ของสะโพก และควรสวมกระโปรงคลุมเข่าเพื่อกระชัดสะโพกมากขึ้น

4. หน้าอกใหญ่ สวมเสื้อที่มีปกหรือคอวี เพราะจะทำให้ทรวงอกดูเล็กลง ใส่เสื้อสีเข้มตัดเย็บด้วยผ้าที่บางเบา หลีกเลี่ยงเสื้อที่มีลวดลาย หรือมีกระเป๋าที่หน้าอก เพราะจะทำให้เกิดจุดเด่น และเพิ่มความหนาให้หน้าอกได้

5. ไหล่แคบ ควรสวมเสื้อผ้าที่มีฟองน้ำ และเลือกผ้าพริ้วบางไม่มีใครที่จะมีรูปร่างสวย หรือสมบูรณ์ไปทุกอย่าง หากแต่ได้นำหลักการทางศิลปะมาประยุกต์ใช้ ก็จะสามารถทำให้ความบกพร่องนั้นลดลง และมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าสถานการณ์ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม แต่หลักการทางศิลปะต่าง ๆ

ที่กล่าวมายังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็ตาม

ที่มา:
https://www.waengyai.ac.th
https://www.waengyai.ac.th
https://www.waengyai.ac.th

 

ตามความเข้าใจของทุกคน ต่างทราบดีว่า สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่อยู่บนโลกใบนี้ คือ ปัจจัยสี่ ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโต ต้องการเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มไว้ปกปิดร่างกายป้องกันความร้อน ความหนาวเย็น ต้องการยารักษาโรคเพื่อรักษาโรคภัยต่าง ๆ  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิได้ และจะต้องให้ความสนใจ เอาใจใส่ในการดูแลเรื่องดังกล่าวเหล่านี้

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัจจัยสี่คือ สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันภัยอันตรายจากภายนอก มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มนุษย์ยังต้องการเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มไว้ปกปิด ร่างกายจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมนุษย์ยังต้องการยา เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้ว แต่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์อย่างยิ่งเมื่อมนุษย์ตระหนักถึงความสำคัญมนุษย์ จึงต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแลในเรื่องดังกล่าว การให้ความสำคัญในรายละเอียดต่าง ๆ จึงถูกนำมาพิจารณา และปรุงแต่งปัจจัยให้สนองความต้องการ และแสดงถึงคุณค่าของความงามสิ่งนั้นศิลปะหากมนุษย์ยอมรับว่าศิลปะคือ การแสดงออกของอารมณ์ตามความพอใจ ศิลปะก็จะมีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่สนองความต้องการทางอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง หากมนุษย์มีความเครียด ศิลปะสามารถสร้างความเบิกบานให้ แสดงว่าเขาผู้นั้นเข้าถึงศิลปะ

นอกจากนี้การเข้าถึงศิลปะจะทำให้มนุษย์มีรสนิยมที่ดี การมีรสนิยมจะเกี่ยวข้องกับศิลปะและการออกแบบ รสนิยมเป็นความพอใจของมนุษย์ที่นำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานให้เกิดความพอดี เพราะความพอดีและความพอใจ หากมนุษย์เข้าถึงศิลปะได้มากเขาผู้นั้นก็จะมีรสนิยมที่ดีดังนั้นศิลปะจึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์และต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

การนำศิลปะมาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นการนำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานกับการดำรงชีวิตอันได้แก่

ศิลปะกับที่อยู่อาศัย

ศิลปะกับอาหาร

ศิลปะกับเครื่องนุ่งห่ม

 

ศิลปะกับที่อยู่อาศัย
มนุษย์เหมือนสัตว์ทั่วไปที่ต้องการสถานที่ปกป้อง คุ้มครองจากสิ่งแวดล้อมรอบกาย ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่แห่งใด สถานที่อย่างไร ที่อยู่อาศัยจะสร้างขึ้น เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จึงมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการและความพอใจของแต่ละบุคคลมนุษย์ทุกคนมีการพัฒนาการในชีวิตของตนเองมนุษย์จึงนำพัฒนาการเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญสำหรับมนุษย์ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ทันสมัยกว่าในอดีตเนื่องจากต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลง แต่ในการปรับปรุงนั้น ควรคำนึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กันไปการพัฒนาที่อยู่อาศัยนั้นจึงจะเหมาะสมและสนองความต้องการอย่างแท้จริง

ที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านในปัจจุบัน จะมีรูปแบบที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และเน้นในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามรสนิยมการบริโภค นอกจากนี้ในการจัดตกแต่งภายในจะมีการผสมผสานการตกแต่งแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดผลงานการตกแต่งในรูปแบบ Contemporary และ Oriental ที่ใช้งานได้สะดวกตามรูปแบบตะวันตก

ปัจจัยอีกประการหนึ่งในการจัดตกแต่งภายในบ้านคือการนำหลักการทางศิลปะมาผสมผสานเข้ากับการตกแต่ง เพื่อให้การดำรงชีวิตภายในบ้านสะดวกทั้งกายและใจ และแสดงออกถึงความงดงาม และมีรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของบ้าน องค์ประกอบทางศิลปะจึงถูกนำมาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบทางศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดแต่งแต่งที่อยู่อาศัย ได้แก่

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion) ขนาดและสัดส่วนนำมาใช้ในการจัดที่อยู่อาศัย ได้แก่

1.1 ขนาดของห้อง ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ หากเป็นห้องที่ใช้กิจกรรมมาก เช่น ห้องอาหาร ห้องครัว หรือห้องรับแขก ควรกำหนดขนาดของห้องให้มีพื้นที่รองรับกิจกรรมนั้น ๆ ให้เหมาะสม ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้คับแคบและไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรม

1.2 จำนวนของสมาชิกในครอบครัว ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ ควรคำนึงถึงจำนวนของสมาชิกว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้กำหนดขนาดของห้องให้เหมาะสมกับสมาชิก

1.3  เครื่องเรือน ในการกำหนดขนาดของเครื่องเรือน ควรกำหนดให้มีขนาดพอดีกับห้องและสมาชิก หรือขนาดพอเหมาะกับสมาชิกไม่สูงหรือเตี้ยจนใช้งานไม่สะดวก 
 

2. ความกลมกลืน(Harmony)ความกลมกลืนของศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดตกแต่งที่อยู่ได้แก่

ความกลมกลืนของการตกแต่งที่อยู่อาศัย การนำธรรมชาติมาผสมผสานในการตกแต่ง จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่งดงามการใช้ต้นไม้ตกแต่งภายในอาคารจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ร่มรื่น เบิกบานและเป็นธรรมชาติ

ความกลมกลืนของเครื่องเรือนในการตกแต่งภายในการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้สอย จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในการใช้งาน การเลือกวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องเรือนภายในครัว ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ทนร้อนและทนรอยขูดขีดได้ดี เช่น ฟอร์ไมก้า แกรนิตหรือกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี ในการตกแต่ง ซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะหากใช้ไม่ถูกต้อง

แล้ว จะทำให้ความกลมกลืนกลายเป็นความขัดแย้ง การใช้สีกลมกลืนภายในอาคาร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องผู้ใช้ เครื่องเรือนและการตกแต่ง การใช้สีกลมกลืนควรใช้วิจารณญาณ เลือกสีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้
 

3. การตัดกัน (Contrast)ในการตัดกันโดยทั่วไปของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยนิยมทำในรูปแบบของการขัดกันในการใช้เครื่องเรือนในการตกแต่ง เพื่อสร้างจุดเด่นหรือจุดสนใจในการตกแต่งไม่ให้เกิดความกลมกลืนมากเกินไป การออกแบบเครื่องเรือนแบบร่วมสมัย จึงได้รับความนิยมเนื่องจากสร้างความโดดเด่นของการตกแต่งได้เป็นอย่างดี
 

4. เอกภาพ (Unity)ในการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ หากขาดเอกภาพงานที่สำเร็จจะขาดความสมบูรณ์ในการตกแต่งภายใน การรวมกลุ่มกิจกรรมเข้าด้วยกัน การรวมพื้นที่ในห้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกิจกรรม จึงเป็นการใช้เอกภาพในการจัดพื้นที่ที่ชัดเจน การจัดเอกภาพของเครื่องเรือนเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเครื่องเรือนจัดไม่เป็นระเบียบย่อมทำให้ผู้อาศัยขาดการใช้สอยที่ดีและขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
 

5. การซ้ำ (Repetition) การซ้ำและจังหวะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันการซ้ำสามารถนำมาใช้ในงานตกแต่งได้หลายประเภทเพราะการซ้ำทำให้เกิดความสอดคล้องของการออกแบบการออกแบบตกแต่งภายในการซ้ำอาจนำมาใช้ในการเชื่อสายตา เช่น การปูกระเบื้องปูพื้นที่เป็นลวดลายต่อเนื่อง หรือการติดภาพประดับผนัง ถึงแม้การซ้ำจะทำให้งานสอดคล้อง หรือต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเพราะจะทำให้ดูสับสน
 

6. จังหวะ (Rhythm) การจัดจังหวะของที่อยู่อาศัยทำได้หลายลักษณะ เช่น การวางผังบริเวณหรือการจัดแปลนบ้านให้มีลักษณะที่เชื่อมพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะ หรือจังหวะ นอกจากนี้การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารนับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดระเบียบและสะดวกต่อการทำงาน และทำให้การทำงานและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่นิยมได้แก่ การจัดพื้นที่การทำงานของห้องครัว โดยแบ่งพื้นที่การทำงานให้เป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้แก่ พื้นที่ของการเก็บ การปรุงอาหาร การล้าง การทำอาหาร และการเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น
7. การเน้น (Emphasis)ศิลปะของการเน้นที่นำมาใช้ในที่อยู่อาศัย ได้แก่

การเน้นด้วยสีการเน้นด้วยสีได้แก่ การตกแต่งภายในหรือภายนอกอาคารด้วยการใช้สีตกแต่งที่กลมกลืน หรือโดดเด่น เพื่อให้สะดุดตาหรือสดชื่นสบายตา ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดนั้น

การเน้นด้วยแสงการเน้นด้วยแสงได้แก่ การใช้แสงสว่างเน้นความงามของการตกแต่ง และ

เครื่องเรือนภายในบ้านให้ดูโดดเด่น การใช้โคมไฟหรือแสงสว่างต่าง ๆ สามารถสร้างความงามและให้บรรยากาศที่สดชื่น หรือสุนทรีย์ได้อย่างดี ในการใช้แสงไฟควรคำนึงถึงรูปแบบของโคมไฟ ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับขนาดและสถานที่ ตลอดจนความกลมกลืนของโคมไฟและขนาดของห้อง

เน้นด้วยการตกแต่งการเน้นด้วยการตกแต่งได้แก่ การใช้วัสดุ เครื่องเรือน เครื่องใช้หรือของตกแต่งต่าง ๆ ตกแต่งให้สอดคล้องสวยงามเหมาะสมกับรูปแบบและสถานที่ตกแต่งนั้น ๆ
 

8. ความสมดุล (Balance)การใช้ความสมดุลในการจัดอาศัยได้แก่ จัดตกแต่งเครื่องเรือน หรือวัสดุต่าง ๆ ให้มีความสมดุลต่อการใช้งาน หรือเหมาะสมกับสถานที่ เช่น การกำหนดพื้นที่ใช้สอยที่สะดวกต่อการทำงาน หรือการจัดทิศทางของเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการทำงาน โดยเฉลี่ยกิจกรรมให้เหมาะสมและสมดุล
 

9. สี (Color)สีมีความสัมพันธ์กับงานศิลปะ และการตกแต่งสถานที่ เพราะสีมีผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ สีให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างมีความสุข เบิกบานและรื่นรมย์ ดังนั้นสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยในการใช้สีตกแต่งภายใน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
 

วัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่
ในการใช้สีตกแต่งภายใน ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่ตกแต่ง เพื่อจะได้ใช้สีได้

อย่างเหมาะสม การใช้สีตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

ห้องรับแขก ห้องรับแขกเป็นห้องที่ใช้ในการสนทนา หรือต้อนรับผู้มาเยือน ดังนั้นห้องรับแขก ควรใช้สีอบอุ่น เช่น สีครีม สีส้มอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน เพื่อกระตุ้นให้เบิกบานห้องอาหาร ห้องอาหารควรมีสีที่ดูสบายตา เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร อาจใช้สีที่กลมกลืน นุ่มนวลเพราะสีนุ่มนวลจะทำให้เกิดความสบายใจ

ห้องครัวห้อง ควรใช้สีที่ดูสะอาดตา และรักษาความสะอาดง่าย ห้องควรเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมจึงควรใช้สีกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการทำกิจกรรม

ห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่พักผ่อน ควรใช้สีที่สบายตา อบอุ่น หรือนุ่มนวล แต่การใช้ในห้องนอนควรคำนึงถึงผู้ใช้ด้วย

ห้องน้ำ ห้องน้ำเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมส่วนตัว และต้องการความสบาย จึงควรใช้สีที่สบายตาเป็นธรรมชาติ และสดชื่น เช่น สีฟ้า สีเขียว หรือสีขาว และควรเป็นห้องที่ควรทำความสะอาดได้ง่าย

ทิศทาง การใช้สีตกแต่งภายในควรคำนึงถึงทิศทางของห้อง ห้องที่ถูกแสงแดดส่องควรใช้สีอ่อนเพื่อสะท้อนแสง ส่วนห้องที่อยู่ในที่มืด หรืออับ ควรใช้สีอ่อนเพื่อความสว่างเช่นกันเพศและวัย เพศชายหรือหญิง จะใช้สีในการตกแต่งไม่เหมือนกัน เพศชายจะใช้สีเข้มกว่าเพศหญิงเช่นสีเขียวเข้ม สีฟ้า หรือเทา ส่วนเพศหญิงจะใช้สีที่อ่อน และนุ่มนวลกว่า เช่น สีครีม สีเหลือง เป็นต้น 

วัย ในแต่ละวัยจะใช้สีไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเด็กจะใช้สีอ่อนหวานนุ่มนวล ห้องผู้ใหญ่จะมีสีที่อบอุ่น ห้องผู้สูงอายุจะใช้สีที่นุ่มนวล

ศิลปะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ศิลปะยังช่วยจรรโลงใจให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข หากต้องการความสุขในครอบครัว ปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสิ่งนั้น  คือ “ศิลปะ”

 

ศิลปะเกี่ยวกับการจัดอาหาร


ศิลปะกับเสื้อผ้าและการแต่งกาย

เสื้อผ้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้ามีไว้ปกปิดร่างกาย และป้องกันภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเสื้อผ้ายังช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้มีภาพลักษณ์ที่ดี หากต้องการมีภาพลักษณ์ที่ดี ผู้นั้นจะต้องเลือกแต่งกายดี มีรสนิยม รสนิยมของการแต่งกายขึ้นอยู่กับศิลปะ ศิลปะในการแต่งกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการแต่งกายโดยทั่วไปจะคำนึงถึงขนาด รูปร่าง เพศ วัย และบุคลิกของการสวมใส่ และศิลปะจะเป็นส่วนเสริมเพิ่มเติมหรือประดับตกแต่งให้เกิดรสนิยม ศิลปะจึงมีความสัมพันธ์กับเสื้อผ้าและการแต่งกาย
องค์ประกอบศิลปะที่นำมาเกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าและการแต่งกาย ได้แก่

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion) ขนาดและสัดส่วนมีความสัมพันธ์กัน ขนาด

เกี่ยวพันกับสัดส่วน หากร่างกายมีขนาดใหญ่ สัดส่วนจะขยายใหญ่ ดังนั้นในการแต่งกาย หรือการออกแบบ

เสื้อผ้าที่แก้ไขข้อบกพร่องของสัดส่วนของร่างกาย เช่น คนหน้าอกใหญ่ ควรสวมเสื้อที่มีปกหรือเสื้อคอวี เพื่อช่วยให้ทรวงอกเล็กลง หรือผู้ที่อ้วนควรเลือกเสื้อผ้าชุดหลวมที่ไม่เน้นบริเวณเอว หรือคับตึง เพราะจะเน้นให้เห็นขนาดที่ชัดเจน

2. ความกลมกลืน (Harmony) ความกลมกลืนในการแต่งกาย ได้แก่ ความกลมกลืนของสีเสื้อผ้าและการตกแต่ง การใช้สีตกแต่ง ควรมีความกลมกลืนกับบุคลิก อายุ เพศ และวัย ผู้สูงอายุควรใช้เสื้อผ้าที่มีสีเข้ม ไม่ฉูดฉาด เพราะจะทำให้ดูอ่อนโยน

3. ารตัดกัน (Contrast) การตัดกันในการแต่งกาย ทำได้หลายวิธี ทั้งในด้านการตัดกันด้วยขนาดลวดลาย แบบ หรือสี การตัดกันเพื่อสร้างจุดเด่น ดังนั้นในการตัดกัน จึงควรคำนึงถึงผู้สวมใส่ ว่ามีบุคลิกภาพที่เหมาะสมอย่างไร ในการตัดกันควรพิจารณาถึงปริมาณของการตัดกัน ซึ่งไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ของผลงาน เช่น การใช้สีตัดกันของเสื้อผ้า ควรตัดกันไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์

4. เอกภาพ (Unity) เอกภาพของการแต่งกายคล้ายกับความกลมกลืน ซึ่งเน้นในด้านความสัมพันธ์และความสอดคล้อง ในการแต่งกายควรให้มีความสอดคล้องในด้านแบบ สี หรือการตกแต่ง ให้ผสมกลมกลืนเป็นกลุ่มเดียวกัน หรือในลักษณะเดียวกันเพื่อดูเรียบร้อยสวยงาม เอกภาพในการแต่งกายได้แก่การแต่งกายในชุดทำงานที่มีสีเดียวกัน ตกแต่งในแบบเรียบง่าย แต่ดูคล่องแคล่วในการปฏิบัติงาน

5. การซ้ำ (Repetition) หากในการจัดอาหาร การวางแตงกวารอบขอบจานคือการซ้ำ ในการแต่งกายการเรียงกระดุมของเสื้อผ้าก็คือการซ้ำเช่นกัน การซ้ำทำในลักษณะของการตกแต่ง เช่น การติดลูกไม้รอบคอเสื้อ หรือชายกระโปรง หรือการตกแต่งด้วยลวดลายของผ้า และสีของการตกแต่ง เหตุที่ต้องทำซ้ำก็เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเบี่ยงเบนความสนใจของส่วนบกพร่องต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง

6. จังหวะ (Rhythm) ในการแต่งกาย จังหวะเปรียบเสมือนช่วงระยะของการนำสายตาที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกัน หรือการประสานต่อเนื่องกันของสายตาอย่างมีจังหวะของส่วนประกอบเครื่องแต่งกาย เช่น ปกเสื้อ เข็มขัด กระโปรงหรือรองเท้า การออกแบบเสื้อผ้าอย่างมีจังหวะก็เพื่อสานองค์ประกอบย่อยเข้าเป็น องค์ประกอบใหญ่ เพื่อสร้างจุดเด่นที่ชัดเจน การเชื่อมโยงสายตาอย่างมีจังหวะสามารถทำได้โดยการซ้ำของวัสดุที่คล้ายกัน หรือต่างกัน โดยทำเป็นจังหวะที่เหมือนกันหรือต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสร้างจุดสนใจนั้น ๆ 
7. การเน้น (Emphasis) เมื่อจังหวะสร้างจุดเด่น จุดเด่นนั้นจะทำให้เกิดการเน้น ในการเน้นของการแต่งกายเป็นการอำพรางข้อบกพร่อง โดยเบี่ยงเบนความสนใจไปยังส่วนอื่น หรือในขณะเดียวกันการเน้นอาจเรียกร้องหรือสร้างจุดสนใจให้กับการออกแบบนั้น ๆ ในการเน้นอาจเน้นด้วยเครื่องประดับ ลวดลาย หรือสีสันของลวดลายผ้า

8. ความสมดุล (Balance) ความสมดุลในการแต่งกายทำได้หลายวิธี ในการสร้างความสมดุลของการแต่งกายจะจัดแบ่งเป็นด้านบน และด้านล่าง เช่น เสื้อและกระโปรง หรือเสื้อกับกางเกง การทำให้สมดุล อาจใช้ลวดลายหรือน้ำหนักของสีเสื้อผ้าช่วยในการแบ่งน้ำหนักได้ เช่น ใส่กระโปรงสีดำ และใส่เสื้อสีขาวสลับดำ เป็นต้น

9. สี (Color) สีเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานศิลปะ เพราะสีต่าง ๆ จะทำให้เกิดความสวยงามน่าสนใจ และแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึก ในการแต่งกายสีจะช่วยเสริมบุคลิกของผู้สวมใส และยังเป็นแรงบันดาลใจในการแสดงออกถึงความรู้สึก และความน่าสนใจ ดังนั้นในบริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัทจึงได้จ้างนักออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยเลือกแบบและสีเพื่อสร้างความสนใจต่อลูกค้าเช่น พนักงานธนาคาร พนักงานต้อนรับ หรือพนักงานขายสินค้า จะมีสีสันที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของงาน ในการใช้สีของเสื้อผ้าควรใช้ในลักษณะของค่าน้ำหนัก (Value) คือ มีการใช้สีอ่อน-แก่ เพื่อเกิดความแตกต่างของค่าน้ำหนักสี เช่น สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม หรือการใช้สีประสานกลมกลืน (Harmony) ที่ดูแล้วนุ่มนวล เช่น สีโทนเดียวกัน และหากต้องการความสดชื่นการใช้สีสดหรือสีตัดกันในปริมาณที่ต่างกันก็อาจทำให้สดชื่นได้

ในการแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีทางจิตวิทยา จะมีปฏิกริยาต่ออารมณ์ของการแต่งกาย ดังนี้
สีแดง เป็นสีที่กระตุ้นจิตใจเป็นอย่างดี เย้ายวน ร้อนแรง ผู้ที่ใส่สีแดงจะต้องเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เปิดเผย และเป็นผู้นำ
สีเหลือง เป็นสีที่บ่งบอกถึงความเป็นมีคนมีอารมณ์ดี ร่าเริง อ่อนโยน มีพลัง ความฉลาด และจินตนาการ สนใจงาน การใส่สีเหลืองอาจลดความสดใสลงหรือใส่เป็นเสื้อคลุมจะทำให้ลดความเจิดจ้าลง
สีเขียว เป็นสีที่แสดงออกถึงความสุขุม เยือกเย็น เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้พลัง หรือความคิด เมื่อใส่สีเขียวจะดูเป็นคนกระฉันกระเฉงและพัฒนาตนเอง
สีฟ้า เป็นสีของความสงบและพักผ่อน มักใส่ในวันหยุดในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดูสดชื่น ควรเลี่ยง สีฟ้าหากรู้สึกหดหู่เพราะจะทำให้เหงามากขึ้น ควรใส่คู่กับสีส้มอ่อน
สีม่วง เป็นสีที่ขรึม สง่า เกิดความศรัทธาและความสงบ หากเป็นคนที่เปิดกว้างจะยอมรับสีม่วงได้ สีม่วงปนแดงจะสร้างความมั่นใจได้ดี
สีขาว เป็นสีที่ใสสะอาด เข้าได้กับทุกสี ชอบค้นหาความจริงของชีวิต เป็นสีของนักคิด เมื่อใส่สีขาวจะทำให้ขาดอำนาจในการตัดสินใจ
สีดำ เป็นสีที่แสดงออกถึงความมั่นในตัวเอง ผู้ที่ใส่สีดำจะแสดงถึงการให้ผู้อื่นนับถือ เป็นสีที่ชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยว
สีน้ำเงิน เป็นสีที่ควบคุมตนเองได้ดี มีความลึกซึ้ง รับผิดชอบ สนุกกับทุกเรื่อง ควรใช้สีน้ำเงินกับสีสดใสต่าง ๆ จะทำให้ดูดีขึ้น
การแก้ไขข้องบกพร่องด้วยเสื้อผ้า

นอกจากนี้หลักการทางศิลปะต่าง ๆ ยังช่วยแก้ไขปัญหา และอำพรางข้อบกพร่องต่าง ๆ ของร่างกายได้อีก ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้

1. รูปร่างผอมสูง ถึงแม้จะมีรูปร่างดี แต่หากใส่เสื้อผ้ารัดรูปมากเกินไป เช่นใส่เสื้อแขนกุด หรือผ้ายืดบางรัดรูปจะเน้นให้เห็นสรีระที่ผอมบางชัดเจน ควรใส่เสื้อผ้าผ้าที่หนา ๆ หรือจีบพองฟู เพราะจะเสริมให้ดีหนาขึ้น และมีบุคลิกที่ดีขึ้น

2. รูปร่างอ้วนเตี้ย หากคอสั้นทำให้คอดูยาวขึ้น ควรใส่เสื้อคอวี หรือคอเชิร์ทจะช่วยให้ใบหน้าดูยาวขึ้น ไม่ควรใส่เสื้อปิดคอจะทำให้คอสั้นลง ลวดลายของเสื้อผ้าควรเป็นดอกเล็กๆ และลายตั้ง ห้ามใส่ฟองน้ำเสริมไหล่เพราะจะดูหนาขึ้น ไม่ควรใส่ชุดติดกันเพราะจะเน้นขนาด และตัดกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรสวมกระโปรง และเสื้อแยกชิ้น และมีสีเข้ม ไม่ควรใช้ผ้าหนาเพราะจะเพิ่มความอ้วนขึ้นอีก

3. สะโพกใหญ่ ไม่ควรสมเสื้อเอวลอย เพราะจะเน้นสะโพกชัดเจน ควรสวมกระโปรงที่ตัดเย็บจากผ้านิ่ม ๆ พริ้วทั้งตัว สีเข้มเพื่ออำพราง ไม่ควรสวมกระโปรงหรือกางเกงที่รัดรูป เพราะจะเน้นความใหญ่ของสะโพก และควรสวมกระโปรงคลุมเข่าเพื่อกระชัดสะโพกมากขึ้น

4. หน้าอกใหญ่ สวมเสื้อที่มีปกหรือคอวี เพราะจะทำให้ทรวงอกดูเล็กลง ใส่เสื้อสีเข้มตัดเย็บด้วยผ้าที่บางเบา หลีกเลี่ยงเสื้อที่มีลวดลาย หรือมีกระเป๋าที่หน้าอก เพราะจะทำให้เกิดจุดเด่น และเพิ่มความหนาให้หน้าอกได้

5. ไหล่แคบ ควรสวมเสื้อผ้าที่มีฟองน้ำ และเลือกผ้าพริ้วบางไม่มีใครที่จะมีรูปร่างสวย หรือสมบูรณ์ไปทุกอย่าง หากแต่ได้นำหลักการทางศิลปะมาประยุกต์ใช้ ก็จะสามารถทำให้ความบกพร่องนั้นลดลง และมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าสถานการณ์ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม แต่หลักการทางศิลปะต่าง ๆ

ที่กล่าวมายังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็ตาม

ที่มา:
https://www.waengyai.ac.th
 

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ อาหารนอกจากสนองความต้องการทางกายของมนุษย์แล้ว อาหารยังสนองความต้องการทางด้านจิตใจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นในการบริโภคอาหารผู้จัดอาหารจึงต้องใช้ศิลปะในการสร้างสรรค์ตกแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารเป็นเครื่องจรรโลงใจในขณะเดียวกันศิลปะเกี่ยวกับการอาหาร มีองค์ประกอบศิลปะที่นำมาเกี่ยวข้องในการจัดอาหาร
1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion)  ในการจัดอาหาร ขนาดและสัดส่วนนำมาเกี่ยวข้องในการจัดอาหารในภาชนะ หากภาชนะมีขนาดเล็ก อาหารในจานควรมีปริมาณที่พอดี ไม่มากจนล้นหรือเลอะออกมานอกภาชนะ เพราะจะทำให้ไม่น่ารับประทาน ในการจัดอาหารบนโต๊ะ หากโต๊ะมีขนาดเล็กภาชนะที่ใช้ควรมีสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ใหญ่จนแน่นโต๊ะ หรือเล็กจนตักอาหารไม่ถนัด
2. ความกลมกลืน (Harmony)ในการจัดอาหารจะเกี่ยวข้องกับอาหารและภาชนะอาหารควรเหมาะสมและกลมกลืนกับภาชนะอาหารประเภททอดควรใส่ในจาน หรืออาหารประเภทน้ำควรใส่ในชาม นอกจากนี้ผลไม้ควรใส่ตะกร้าหรือถาดไม้จะเหมาะสมกว่าใส่ในถาดโลหะ อาหารบางประเภทควรคำนึงถึงความกลมกลืนของภาชนะเช่นกัน เช่น อาหารภาคเหนืออาจเสิร์ฟในขันโตก หรืออาหารภาคกลาง เสิร์ฟในจานที่ดูดสวยงาม สะอาด หรือมีขอบเป็นลวดลายไทย เป็นต้น
3. การตัดกัน (Contrast)  ศิลปะในการตัดกันของการจัดอาหาร ทำได้โดยการตัดกันระหว่างการตกแต่งโต๊ะอาหารและการจัดอาหาร สีของอาหารหรือการตกแต่งอาหาร แต่ในการตัดกันไม่ควรตัดกันในปริมาณที่มาก เพราะจะทำให้ขาดความน่าสนใจ ในปัจจุบันการจัดตกแต่งโต๊ะอาหารนิยมจัดดอกไม้ให้สูงเกินมาตรฐานการจัด เพื่อสร้างความสนใจและความโดดเด่นของบรรยากาศ แต่ในการจัดควรระมัดระวังเพราะจะทำให้รกและขัดต่อการสนทนาได้ ส่วนสีของอาหารหรือการตกแต่งอาหารสามารถตัดกันได้ตามความเหมาะสมของความสวยงาม
4. เอกภาพ (Unity)  เอกภาพในการจัดอาหาร ทำได้โดยการรวมกลุ่มของการจัดโต๊ะอาหาร เช่น การจัดจาน ช้อนส้อม หรือชุดอาหารเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับอาหารที่จัดนั้น ๆ ส่วนการจัดอาหารในจานควรจัดให้พอเหมาะไม่แผ่กระจายยากต่อการรับประทาน หรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ควรอยู่ด้วยกันกับอาหารที่เสิร์ฟนั้น ๆ
5. การซ้ำ (Repetition)   การซ้ำเป็นการทำในลักษณะเดิม เช่น การตกแต่งของจานด้วยลักษณะซ้ำกันแบบเดิมอย่างมีจังหวะ ได้แก่ การวางแตงกวาเรียงรอบขอบจาน เพื่อเน้นการจัดอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
6. จังหวะ (Rhythm)   การจัดจังหวะในการตกแต่งอาหาร ทำได้หลายประการ ทั้งการจัดจังหวะของอาหารบนโต๊ะ การตกแต่ง หรือจัดตกแต่งอาหารในภาชนะ เช่น การวางแตงกวาสลับกับมะเขือเทศเรียงรอบขอบจาน หรือการจัดตกแต่งบริเวณโต๊ะอาหารด้วยสิ่งตกแต่งต่าง ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น แจกันดอกไม้ หรือเชิงเทียน เป็นต้น
7. การเน้น (Emphasis)   ศิลปะการจัดตกแต่งอาหารให้น่าสนใจอยู่ที่การเน้น การเน้นสามารถทำได้ทั้งการตกแต่งบรรยากาศในห้องอาหาร การเน้นยังเกี่ยวข้องกับสีสันของอาหาร การตกแต่งอาหาร เช่น การแกะสลักผัก ผลไม้ หรือการจัดบรรยากาศด้วยการจัดดอกไม้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการเน้นทั้งสิ้น หากต้องการให้อาหารที่จัดน่าสนใจ ควรคำนึงถึงศิลปะที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ สิ่งนั้นคือ การเน้นนั่นเอง
8. ความสมดุล (Balance)  การจัดอาหารหรือโต๊ะอาหาร ความสมดุลจะช่วยให้พื้นที่จัดมีน้ำหนักในการจัดวางอย่างลงตัว ไม่หนาแน่นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการใช้สอยและงดงามต่อการมองเห็น การจัดอาหารในงานเลี้ยง พื้นที่จัดไม่ควรอยู่รวมกันเพราะจะทำให้เกิดความหนาแน่นของพื้นที่ ควรกระจายพื้นที่ในการจัดให้สมดุล โต๊ะวางอาหารควรอยู่ในบริเวณที่มีพื้นที่กว้างเพื่อสะดวกต่อการตัดอาหารขนมหวานหรือผลไม้ควรแยกออกไปอีกบริเวณหนึ่ง เพื่อสร้างความสมดุลยของพื้นที่ นอกจากนี้การจัดอาหารในจานควรคำนึงถึงความสมดุลเช่นกันเพราะความสมดุลจะทำให้อาหารในจานดูเหมาะสม
9. สี (Color)   การใช้สีตกแต่งอาหารเป็นเรื่องง่ายกว่าการใช้สีตกแต่งในเรื่องอื่น เพราะอาหารในแต่ละอย่างจะมีสีสันในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทย ซึ่งมีมากมายหลายสี แกงเขียวหวานสีเขียวอ่อน แกงเผ็ดสีส้ม หรือแกงเลียงสีเขียว การใช้สีตกแต่งอาหารเพียงเพื่อต้องการให้อาหารเกิดความน่ารับประทาน และสร้างจุดเด่นของอาหาร ดังนั้นการใช้สีตกแต่งอาหาร จึงควรใช้สีจากธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงหรือสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน หรือสีเหลืองจากฟักทองหรือขมิ้น เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาหารจะมีรสอร่อยเพียงใดแต่หากขาดการปรุงแต่งด้วยสีสันอาหารนั้นอาจขาดความสนใจได้เช่นกัน
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4040

อัพเดทล่าสุด