https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เก็งข้อสอบO-Net ดนตรีตะวันตก MUSLIMTHAIPOST

 

เก็งข้อสอบO-Net ดนตรีตะวันตก


576 ผู้ชม


แนวทางเตรียมตัวศึกษาเพื่อพิชิตข้อสอบ โอเน็ต ดนตรีสากล และดนตรีตะวันตก   

        เก็งข้อสอบO-Net ดนตรีตะวันตก

       

         จากการที่ได้รับฟังการถ่ายทอดแนวทางการแอดมิชชั่น จากสถานีวิทยุ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
( ม.อ.88.0 ) เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552  ความว่าในการเปิดสอบครั้งแรกของปี พ.ศ. 2552 และมีการสอบ
เก็บคะแนนหลายวิชา ในนาม โอ-เน็ต ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องสอบ ยังคงมีอยู่ แต่อาจปรับปรุงข้อสอบให้เหมาะสม
        ศ.ดร.อุทุมพร  จามรมาน ได้ตอบข้อซักถามของนักเรียนเกี่ยวกับวิชา ดนตรี ที่ยากเกินไป ซึ่งท่านได้ให้คำตอบว่า
จะไปพูดคุยกับผู้ออกข้อสอบอีกครั้ง ท่านใช้คำว่า เราไม่ต้องการศิลปินแห่งชาติ แต่ต้องการให้นักเรียนมีความรู้

เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น ๆ ได้ ... และมีนักเรียนบอกว่าข้อสอบออกให้ใช้หัวมากเกินไป...
ท่านก็บอกให้นักเรียนทุกคนตระหนักว่า ไม่ว่าจะเรียนวิชาอะไรก็ต้องใช้หัวทั้งนั้น  ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนดี
       เนื้อหาวิชาดนตรี จากการที่ได้อ่านข้อสอบ ของ ปี 2550 แลรับทราบจากครูบางท่านถึงข้อสอบ ปี 2551 พบว่า
เนื้อหาเน้นไปทาง ประวัติดนตรี ดุริยกวี(คีตกวี,composer) รูปแบบของดนตรีตะวันตกในเชิงทฤษฎีดนตรีวิเคระห์
(พื้นฐาน)  หรือการนำดนตรีตามแบบแผนไปใช้ในชีวิตประจำวัน
       ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อสอบ เราสามารถวิเคราะห์ผู้ออกข้อสอบ ได้ว่า เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สอนวิชา
ที่เรียกว่า สุนทรียศาสตร์ สังคีตนิยม หรือชื่ออื่น ๆ ในรูปแบบเดียวกัน ท่านจึงคาดคะเนว่า นักเรียนที่เข้าสอบทั้งหลาย
ได้เรียนเนื้อหาเหล่านี้มาแล้วในระดับเบื้องต้น จึงออกข้อสอบอย่างที่ปรากฏ และหากจะปรับลดระดับลงในปีนี้ เชื่อว่า
ยังมีแนวทางที่ไม่ต่างจากเดิมมากนัก
        ผู้เรียนต้องเตรียมตัว อ่าน(เนื้อหา)  พูด,เขียน (คำศัพท์ดนตรีต่าง ๆ) ฟัง(เพลงที่กล่าวถึงในบทเรียน) และ
ท่องจำ ทำความเข้าใจ วิเคราะห์ (สิ่งใดจะมาก่อนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)  แต่ขาดไม่ได้คือทุกอย่างต้องจำ      
        ท่านคงไม่สามารถเข้าใจได้หาก ไม่รู้,ไม่จำ ว่า สตริง ควอเต็ด คืออะไร และคงวิเคราะห์ไม่ได้แน่นอน
แต่หากท่านรู้และจำแล้ว คงจะวิเคราะห์ได้ แม้ว่าจะเปลี่ยนจาก สตริง เป็นอะไรก็แล้วแต่ ตามด้วยคำว่า ควอเต็ด
คือวงที่มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น  หรือ
 ไม่ว่า ซิมโฟนี บทใดก็ตาม จะต้องมี 4 มูฟเมนท์ ยกเว้น บาง ซิมโฟนี ที่อาจจะมี 
3 หรือ 5 มูฟเมนท์      เราจึงจำ ที่มี 4 มูฟเมนท์ ไว้ก่อนเป็นหลัก  และมูฟเมนท์ ที่ 1 กับ 4 โดยมาก จะเร็ว 2 มักจะช้า
มูฟเมนท์ที่ 3 มักเป็นการเต้นรำ หรือ มินูเอ็ต.... หากมีการเปลี่ยนแปลงก็ค่อยดูเฉพาะต่อไป

        หากท่านไม่จำว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายมีอะไรบ้าง ท่านคงบอกไม่ถูกว่า ทรัมเป็ต เป็นเครื่องสายหรือไม่
หรือ
 วงออร์เคสตร้า ต่างกับวง บราส ควินเต็ด อย่างไร
      
 หากมีคำถามว่า บทเพลงใดที่ มีชื่อเสียงของเบโธเฟน เราคงจะตอบไม่ได้แน่นอน หากเราไม่รู้จัก ทั้งเบโธเฟน 
และผลงานที่มีชื่อเสียงของท่าน (เช่น ซิมโฟนี หมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซีไมเนอร์ และเพลง เฟอร์เอลิส) ซึ่งนักเรียน
ต้องไปหาคำศัพท์ที่เขียนในภาษาต้นฉบับในหนังสือ
        ดังนั้น ความรู้ความจำ จะเป็นกุญแจไขไปสู่ความเข้าใจ ให้สามารถวิเคราะห์ได้ ส่วนการนำไปใช้ ย่อมเกิดจาก
ความเข้าใจ และวิเคราะห์ได้เอง มิใช่จากคำบอกเพียงอย่างเดียว   คราวต่อไปจะพยายามนำเสนอเนื้อหาที่เฉพาะ
เจาะจงมากขึ้น

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=522

อัพเดทล่าสุด