https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บทเพลงสำหรับการแต่งงานที่แสนหวานและโรแมนติกแต่แฝงไว้ด้วยความยุ่งยากไม่น้อยเลย MUSLIMTHAIPOST

 

บทเพลงสำหรับการแต่งงานที่แสนหวานและโรแมนติกแต่แฝงไว้ด้วยความยุ่งยากไม่น้อยเลย


748 ผู้ชม


จากบทเพลงที่บรรเลงด้วยเปียโน ชื่อเพลง Mariage D'amour สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลก แต่เมื่อเห็นโน้ตเพลงแล้วต้องตะลึงในการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุด   

บทเพลงสำหรับการแต่งงานที่แสนหวานและโรแมนติกแต่แฝงไว้ด้วยความยุ่งยากไม่น้อยเลย

       จากบทเพลงที่บรรเลงด้วยเปียโน ชื่อเพลง Mariage D'amour  สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลก
และคนไทยอย่างท่วมท้น ด้วยฝีมือของ  Richard Clayderman ชาวฝรั่งเศส  
        นักเปียโนทั้ง มือเก่าและมือใหม่ ใฝ่ฝันและพยายามที่จะเล่นเพลงนี้กันให้ได้ด้วยความประทับใจ 
แต่เมื่อได้เห็นโน้ตเพลงต้องพิศวง ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกห้องเพลงตั้งแต่เริ่มต้น

        แล้วจะเล่นกันได้อย่างไร...?

        เรามาศึกษาโน้ตเพลงนี้ด้วยกันครับ

บทเพลงสำหรับการแต่งงานที่แสนหวานและโรแมนติกแต่แฝงไว้ด้วยความยุ่งยากไม่น้อยเลย

โน้ตเพลงจาก https://www.shareapic.net/content.php?id=17024127&owner=filexis

        เริ่มต้นเพลง ตั้งแต่ห้องที่ 1-2 ใช้อัตรา 4/4 (ใช้อักษร C แทน)  เมื่อถึงห้องที่ 3 เปลี่ยนอัตราเป็น 3/4
ห้องที่ 4  ใช้อัตรา 7/8 หมายความว่า มี จำนวนจังหวะ 7 จังหวะ ให้เขบ็ต 1 ชั้น มีค่า 1 จังหวะ
ห้องที่ 5 ใช้อัตรา 6/8  หมายความว่า มี จำนวนจังหวะ 6 จังหวะ เขบ็ต 1 ชั้น มีค่า 1 จังหวะ
ห้องที่ 6 ใช้อัตรา 12/8 หมายความว่า มี จำนวนจังหวะ 12 จังหวะ เขบ็ต 1 ชั้น มีค่า 1 จังหวะ
ห้องที่ 7 ใช้อัตรา 9/8 หมายความว่า มี จำนวนจังหวะ 9 จังหวะ เขบ็ต 1 ชั้น มีค่า 1 จังหวะ
ห้องที่ 8 ใช้อัตรา 12/8     ห้องที่ 9 ใช้อัตรา 9/8 อีกครั้ง     ห้องที่ 10 ซึ่งกำลังจะมาถึง ใช้อัตรา 12/8

       

       หลังจากนั้นบทเพลงก็ดำเนินไปด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะที่เปลี่ยนแปลงตลอด 
และยังคงมีความไพเราะ สร้างความประทับใจให้ผู้ฟัง โดยไม่รู้ตัวว่า กำลังถูก ผู้ประพันธ์เพลงปรับแต่งอารมณ์
และสอดแทรกจินตนาการไว้อย่างมากมาย

        หากเราไม่เคยเรียนรู้เรื่องเครื่องหมายกำหนดจังหวะมาก่อน คงไม่สามารถอ่านโน้ตได้เข้าใจ และเล่นเพลงนี้
ได้อย่างถูกต้องแน่นอน

เพื่อเป็นการผ่อนคลายจากความเครียดและสับสน 
ขอเชิญรับฟังเพลง ในบรรยากาศที่แสนจะโรแมนติกได้เลยครับ


ฟังเพลง

คำถาม

ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดบทเพลงนี้จึงต้องใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะที่หลากหลาย

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=689

อัพเดทล่าสุด