https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เรียนรู้ลักษณะวงดนตรีสากล ตามรูปแบบต่างๆ MUSLIMTHAIPOST

 

เรียนรู้ลักษณะวงดนตรีสากล ตามรูปแบบต่างๆ


735 ผู้ชม


รูปแบบและแนวเพลง ลักษณะของวงดนตรีสากล ตามยุคสมัย   

ประเด็นจากข่าว รูปแบบดนตรีและแนวเพลง 


เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วิชาดนตรีสากล ช่วงชั้นที่ 4

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อเรื่อง
วงดนตรีสากลที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้มีดังต่อไปนี้
    1)  วงออร์เคสสตรา เป็นวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ใช้เครื่องดนตรีและผู้บรรเลงจำนวนมาก อาจใช้เครื่องดนตรีถึง 100 ชิ้น 
     ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องดนตรี  4 กลุ่ม ใหญ่ คือ  
         -  กลุ่มเครื่องสาย  ได้แก่  ไวโอลิน  วิโอลา  เชลโล  ดับเบิลเบส  และฮาร์ป
         -  กลุ่มเครื่องลมไม้  ได้แก่  ฟลุต  บิคโคโล  ปี่โอโบ  ปี่คลาริเนท  และปี่บาสซูน    
         -  กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง  ได้แก่  ฮอร์น  ทรัมเปท  ทรอมโบน  และทูบา
         -  กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ  ได้แก่  กลองใหญ่  ทิมปานี  ฉาบ  ไทรแองเกิล  และไซโลโพน
    2)  วงแชมเบอร์มิวสิก  มีลักษณะเป็นวงบรรเลงขนาดเล็กที่มีผู้บรรเลง ตั้งแต่ 2 – 9 คน มีชื่อเรียกตามจำนวนของ
     ผู้บรรเลง  ดังนี้  ถ้าบรรเลง 2 คน  เรียกว่า ดูเอ็ต  บรรเลง  3 คน เรียกว่า ทริโอ  บรรเลง  4 คน เรียกว่า ควอเท็ต
     บรรเลง  5 คน เรียกว่า ควินเท็ต  บรรเลง  6 คน เรียกว่า  เซกซ์เท๊ต  บรรเลง  7 คน เรียกว่า แชมเบอร์  บรรเลง  8 คน
     เรียกว่า ออกเท๊ต  บรรเลง  9 คน เรียกว่า โนเท๊ต
    3)  วงแจ๊ส  ใช้บรรเลงเพื่อความสนุกสนานในการร้องเต้นรำ  มีต้นกำเนินมาจากชนชาติอเมริกันผิวดำ  ซึ่งมีรูปแบบ
     ของการบรรเลงโดยเฉพาะ  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังนี้
         -  ประเภทเครื่องสายใช้ดีด  ได้แก่  แบนโจ  กีตาร์ไฟฟ้า  กีตาร์เบสไฟฟ้า
         -  ประเภทเครื่องลมทองเหลือง  ได้แก่  คอร์เนท  ทรอมโบน  และทรัมเปท
         -  เครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโพน  ได้แก่  โซปาโน  อัลโต  เทนเนอร์ และบาริโทน
         -  ประเภทเครื่องสายใช้เคาะ  ได้แก่  เปียโน
         -  เครื่องประกอบจังหวะ  ได้แก่  กลองแจ็ส  ทอมบา  บองโก และทิบาเรด
    4)  วงคอมโบ  เป็นดนตรีที่ใช้บรรเลงกับการขับร้องและประกอบการลีลาศเต้นรำ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้ คือ 
              -  ประเภทเครื่องลมทองเหลือง  ได้แก่  ทรอมโบน  และทรัมเปท
         -  เครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโพน  ได้แก่  อัลโต  เทนเนอร์ และบาริโทน
         -  ประเภทเครื่องสายใช้เคาะ  ได้แก่  เปียโน
         -  กลุ่มเครื่องดนตรีที่เสียงจากพลังงานไฟฟ้า  ได้แก่  กีตาร์  เบสกีตาร์  ออร์แกน
         -  เครื่องประกอบจังหวะ  ได้แก่  กลองแจ็ส  ทอมบา  บองโก และทิบาเรด   
    5)  วงชาโด  เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก  สะดวกในการขนย้ายไปแสดงที่ต่างๆ สามารถบรรเลงประกอบการขับร้องและ
         บรรเลงอย่างเดียว  เครื่องประกอบจังหวะ ดังนี้
         -  กลุ่มเครื่องดนตรีเครื่องสายที่มีเสียงจากพลังงานไฟฟ้า  ได้แก่  กีตาร์โซโล  กีตาร์คอร์ด  เบสกีตาร์
         -  เครื่องประกอบจังหวะ  ได้แก่  กลองแจ็ส  

ประเด็นคำถาม
ให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า  วงออร์เคสตรา  วงแชมเบอร์มิวสิก 
วงแจ๊ส  วงคอมโบและวงชาโดมักจะแสดงในโอกาสใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ  ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
อาจใช้ข้อมูลจากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ฝึกกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้เช่นกัน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล /ภาพประกอบ

https://edunews.eduzones.com/omike/3935
https://203.172.238.71/m5163/15357/images/7582.jpg

https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/rattanachai_w/music/sec03p03.htm
https://www.mwk.ac.th/somsak/vongsk1.htm
https://www.riverlightmusic.com/prapetduntree%20.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1507

อัพเดทล่าสุด