https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เพลงประจำวันเด็ก MUSLIMTHAIPOST

 

เพลงประจำวันเด็ก


1,223 ผู้ชม


เรียนรู้เรื่องราวของวันอันแสนสนุกของเด็ก ๆ   

 

เพลงประจำวันเด็ก
ที่มาภาพ


                     เมื่อผ่านพ้นเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่ ก็ถึงคิวของวันที่รอคอยของเด็ก ๆ นั่นคือ "วันเด็กแห่งชาติ" ที่ถูกกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ดังนั้น จึงไม่พลาดที่จะนำเรื่องราวความเป็นมาของวันสำคัญของหนู ๆ นักเรียน รวมถึงเพลงประจำวันเด็กมาให้เรียนรู้กัน
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

เพลงประจำวันเด็ก
ที่มาภาพ


ประวัติความเป็นมาของวันเด็ก

             วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
            ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่ชาติ

เพลงประจำวันเด็ก
ที่มาภาพ


           สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค    จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เพลงประจำวันเด็ก

              อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงานนอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
               ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

 คำขวัญวันเด็ก

เพลงประจำวันเด็ก

          คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา  จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
      และในปี พ.ศ.2553 ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ได้ให้คำขวัญแก่เด็ก คือ     " คิดสร้างสรรค์   ขยันใฝ่รู้   เชิดชูคุณธรรม "   (ขอบคุณข้อมูล)


เพลงวันเด็ก   

เพลงประจำวันเด็ก
เพลงหน้าที่ของเด็ก (เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี) 
  
             เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน 
เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ  โดยมีเนื้อร้องดังนี้
 
           เด็กเอ๋ยเด็กดี                            ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน 
เด็กเอ๋ยเด็กดี                                       ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา                                 สอง รักษาธรรมเนียมมั่น 
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์                      สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู                                  หก เป็นผู้รู้รักการงาน 
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ                    ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด                          เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล 
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ                           ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา 
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์                      รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา 
เด็กสมัยชาติพัฒนา                               จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
(ขอบคุณข้อมูล)

                                          
                                       ********************************************


ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  อธิบาย คุณค่า ความสำคัญ และความไพเราะของเพลง
         -  อภิปรายความหมายของบทเพลงทั้งความหมายโดยตรง และโดยนัย
         -  ปัจจัยที่ทำให้เพลงเป็นเพลงที่สำคัญอยู่ในความประทับใจ ซาบซึ้งใจของเด็ก ๆ
         -  เด็กไทยในยุคปัจจุบันควรมีคุณลักษณะอย่างไร
         -  หากเรามองภาพของเด็กไทยในวันนี้แล้วภาพอนาคตของสังคมจะเป็นอย่างไร
          -  ในฐานะของเด็กไทยจะมีส่วนในการสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่อย่างไร
          -  เราควรสร้างตัวอย่างที่ดีแก่เด็กอย่างไร


 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
         สาระการเรียนรู้ศิลปะ      (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งานจากบทเพลง ตามจินตนาการ  (ดนตรี) ร้อง บรรเลง บทเพลง  (นาฏศิลป์) คิดสร้างสรรค์ท่าทางประกอบเพลง
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย        ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลง   คำคล้องจอง  ฉันทลักษณ์ การแต่งคำประพันธ์ คุณค่าความงามของภาษาไทย  คัดลายมือ
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ             วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตบทบาทของเด็กต่อสถาบันต่าง ๆ ในสังคม
         สาระการเรียนรู้กอท.              การทำงาน  ประกอบอาชีพ
        

เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        - จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพความสามารถของผู้เรียน
        -  จัดกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกสถานศึกษาแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
        
 


อ้างอิงข้อมูล
https://hilight.kapook.com
https://www.muslimthai.com


อ้างอิงรูปภาพ
https://www.maemaiplengthai.com
https://www.thaimuslim.com
https://news.popcornfor2.com

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1907

อัพเดทล่าสุด