มหัศจรรย์ของความขาว MUSLIMTHAIPOST

 

มหัศจรรย์ของความขาว


498 ผู้ชม


หนุ่มเล็กหนุ่มใหญ่เห็นความขาวไม่ได้ ต้องมีอาการภูมิแพ้กำเริ่บ เหมือนกับหนุ่มณัฏฐ์ที่แพ้ความขาวของนางเอกวัยใส น้องเบสท์-ชนิดาภา   

        หนุ่มเล็กหนุ่มใหญ่  เห็นความขาวไม่ได้ ต้องมีอาการภูมิแพ้กำเริ่บ เหมือนกับหนุ่มณัฏฐ์ที่แพ้ความขาวของนางเอกวัยใส น้องเบสท์-ชนิดาภา จากละคร"จับตายวายร้ายสายสมร" คุณเคยสัมผัสมหัศจรรย์ของความขาวหรือยัง แล้วสีขาว และสีต่างๆ ทำให้รู้สึกอย่างไร  เมื่อคุณมอง
ที่มา  นสพ.com
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มาตรฐานที่ ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์วิเคราะห์ วิพากษ์ 
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


เนื้อหา
สีกับความรู้สึก          
สีขาว     ทำให้รู้สึกบริสุทธิ์  สะอาด  อ่อนโยน  มีความรัก  ความเมตตา  
สีดำ       ทำให้รู้สึกลึกลับ  มีพลัง  หนักแน่น  อดทน  เข้มแข็ง
สีแดง     ทำให้รู้สึกมีพลัง  เร้าใจ  กระตุ้น  รุนแรง  มีความสำคัญ
สีเขียว    ทำให้รู้สึกเงียบ  สงบ  ร่มรื่น  มีความสุข  เยือกเย็น  ผ่อนคลาย
สีเหลือง  ทำให้รู้สึกมีอำนาจบารมี  เบิกบานสดชื่น  มีชีวิตใหม่  แจ่มใส
สีม่วง     ทำให้รู้สึกมีพลังแฝงอยู่  เร้นลับ  ซ่อนเร้น  น่าติดตาม  มีเสน่ห์
สีชมพู    ทำให้รู้สึกอ่อนหวาน  นุ่มนวล  เอาใจใส่  ความน่ารัก  วัยรุ่น  
สีฟ้า      ทำให้รู้สึกโปร่งใส  ความเป็นอิสระเสรีภาพ  การช่วยเหลือ  แบ่งปัน
สีส้ม      ทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา  ความคึกคะนอง  การปลดปล่อย  การระวัง
สีน้ำเงิน  ทำให้รู้สึกสุขุม  ละเอียด  รอบคอบ  สุภาพ  สง่างาม  สูงศักดิ์
สีทอง    ทำให้รู้สึกมีราคา  สูงค่า  ร่ำรวย  หรูหรา  มั่งคั่ง  เจริญรุ่งเรือง

สีกับการมองเห็น
การมองสีในที่สว่างมากๆ  จะทำให้สีนั้นดูอ่อนลง
และเมื่อมองสีในที่สว่างน้อย  จะทำให้สีนั้นดูเข้มขึ้น  
แต่ถ้าไม่มีแสงสว่างเลย  จะมองเห็นสีต่างๆ เป็นสีดำ 
ที่มาข้อมูล
https://www.prc.ac.th/newart/webart/colour07.html
คำถามสู่การเรียนรู้ในห้อง
1.ทำไมป้ายจราจรจึงนิยมใช้สีเหลือง  สีส้ม  สีขาว
2.ห้องนอน ห้องนั่งเล่น จะทาด้วยสีอะไร  
3.อภิปรายความรู้สึกที่มีต่อภาพ
 
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ออกแบบลายผ้า
2.จัดป้ายนิเทศ

บูรณาการความรู้สู่สาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (การออกแบบป้ายโฆษณา ออกแบบเสื้อผ้า)
2.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สารขจัดสีผิว สีผม)
3.กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ(การเลือกเส้อผ้าให้เหมาะกับสีผิว เลือกสีผมกับสีผิว)

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2146

อัพเดทล่าสุด