https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง) MUSLIMTHAIPOST

 

ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)


775 ผู้ชม


สืบต่อ ตำนาน ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมทางดุริยางค์ไทย ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา   

ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)

                                      ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                            ที่มาภาพ

          ดนตรีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมกันมาทุกสมัย  ประวัติความเป็นมาของดนตรีจะสะท้อนให้เห็นถึงแหล่งที่มา  และวิวัฒนาการมาตามลำดับตามยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งเครื่องดนตรี  รูปแบบการผสมของดนตรี  บทเพลง และบุคคลสำคัญในยุคสมัยนั้น

                                                    
      
สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระที่ ๒  ดนตรี )
              มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
              มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

                                                                ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                      ขอบคุณภาพ  www.sirindhorn.net

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
                                    
สมัยกรุงศรีอยุธยา 
         ดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเจริญขึ้นมา  นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  เป็นต้นมา 
มีการถ่ายโยงวัฒนธรรมทางดนตรีจากชาติต่าง ๆ ทั้งจากการเจริญสัมพันธไมตรี  การขยายราชอาณาเขตและการติดต่อค้าขาย ซึ่งมีผลต่อแบบแผนของดนตรีไทย  ดังนี้
                                                        ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                        ซอสามสาย 

เครื่องดนตรีในสมัยอยุธยา

         1)ประเภทเครื่องดีด    ได้แก่  พิณเพียะ  พิณน้ำเต้า  กระจับปี่  จะเข้   (สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการมาจากกระจับปี่)
         2)ประเภทเครื่องสี  ได้แก่  ซอสามสาย  ซออู้  ซอด้วง
                                                    ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                                จะเข้

         3)ประเภทเครื่องตี  ได้แก่  กรับเสภา  กรับพวง  กรับคู่  ระนาดไม้  (ระนาดเอก)  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องคู่  ฆ้องชัย  โหม่ง  ฉิ่ง  ฉาบ  มโหระทึก  ตะโพน   โทน (ทับ)  รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก (กลองชาตรี)  บัณเฑาะว์  กลองมลายู กลองชนะ
        4)ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่  ปี่ใน  ปี่กลาง ปี่นอก  (ปีมอญและปี่ชวาเริ่มมีแพร่หลายบ้างแล้ว )  ขลุ่ย  แตรงอน สังข์
                                             ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                         
 กระจับปี่


การผสมวงดนตรีไทย มี 4  แบบ คือ

           1)วงขับไม้  วิวัฒนาการมาจากวงขับไม้ของเดิมในสมัยสุโขทัย  โดยการนำกระจับปี่เข้าร่วมบรรเลง  ประกอบด้วยผู้เล่น  4  คน  คือ  ซอสามสาย บรรเลงทำนองคลอเสียงร้อง  กระจับปี่นำลำนำเพลง  คนร้องตีกรับพวงประกอบจังหวะและโทน 1  ใบ (ใช้แทนบัณเฑาะว์)  วงขับไม้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ศาสตรจารย์ดร. อุทิศ  นาคสวัสดิ์ เรียกว่า “วงมโหรีเครื่องสี่”
                                          ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                       
วงขับไม้

             2)วงเครื่องสาย  ประกอบด้วย  ซอดวง  ซออู้  จะเข้  ขลุ่ย  โทน – รำมะนา  ฉิ่ง (มักจะเป็นผู้ร้องด้วย)  กรับ  โหม่ง
              3)วงมโหรี  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  6  ชิ้น  คือ  ซอสามสายบรรเลงคลอร้อง กระจับปี่  ขลุ่ย  คนร้องตีกรับพวง โทน –รำมะนา  บางครั้งจึงเรียกว่า  วงมโหรี เครื่องหก
                                          ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                  
วงมโหรีโบราณ

            4)วงปี่พาทย์ มี  2  ชนิด คือ
                           (1)วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา  ประกอบด้วยปี่นอก 1  เล่า โทนไม้ 2  ลูก กลองตุ๊ก (กลองชาตรี)  ฉิ่ง  และฆ้องคู่ ใช้บรรเลงประกอบการแสดงและละครชาตรี
                           (2)วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก  ประกอบด้วยปี่ 1  เลา (อาจจะเป็นปี่กลางหรือปี่ใน  แล้วแต่สถานที่)  ระนาด 1  ราง  (ระนาดเอก) ฆ้องวงใหญ่  ตะโพน  1  ใบ  และกลองทัด  1 ลูก  ใช้บรรเลง ประกอบการแสดงโขน  ละคร  และหนังใหญ่
                                            ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                   วงปี่พาทย์เครื่องห้า

         
               สำหรับบทเพลงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีมากมาย  ที่ยังนิยมบรรเลงในปัจจุบัน ได้แก่   เพลงแขกต่อยหม้อ  เพลงเต่ากินผักบุ้ง  เพลงธรณีร้องไห้  เพลงมหาชัย และเพลงสารถี  2  ชั้น  เป็นต้น

    
                                                ย้อนรอยเส้นเสียง...สำเนียงดุริยางค์ไทย (อยุธยายศยิ่งฟ้า..เรืองรอง)
                                                                 ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีต



กระบวนการเรียนรู้
        1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยและให้นักเรียนดูรูปภาพเครื่องดนตรี
        2. ศึกษาประวัติความเป็นมาไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
        3. อธิบายความสัมพันธ์ของยุคสมัยกับวิวัฒนาการทางดนตรีของไทย
        4. ศึกษาประวัติและผลงานทางดนตรีของคีตกวีบางท่าน
        5. ศึกษาประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยยุคสมัยต่าง ๆ 
        6. อธิบายความสัมพันธ์ของยุคสมัยกับวิวัฒนาการทางดนตรีไทย
        7. ศึกษาประวัติและผลงานของคีตกวีที่สำคัญในยุคต่าง ๆ  
        8. ครูสรุปความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

เชื่อมโยงในองค์ความรู้
       คณิตศาสตร์                             คำนวนขนาด รูปทรง  รูปร่างทางเรขาคณิต ของเครื่องดนตรี           
       ภาษาไทย                               การเขียน  การอธิบาย ลักษณะรูปร่างของเครื่องดนตรี
       วิทยาศาสตร์                            วิธีการกำเนิดเสียง  
       สังคมศึกษา                             วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ 
       สุขศึกษาและพลศึกษา               กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบเพลง  
       บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้      บทเพลงไทยสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน   กิจกรรมกระตุ้นเร้าความสนใจการเรียนรู้ของผู้เรียน

 เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
        -  กิจกรรมวาดภาพเครื่องดนตรีไทย
        -  ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทยประเภทอื่นๆ
        -  ศึกษาและแสวงหาประสบการณ์ตรงทางด้านดนตรีไทยในงานต่าง ๆ
        -  ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์
       
      
ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  แสดงความคิดเห็นถึงคำว่า ดนตรีไม่มีเชื้อชาติและพรมแดน
         -  คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า "ภาษาดนตรีเป็นภาษาสากล"
        -   วิธีการและแนวทางในการอนุรักษ์สืบสานดนตรีไทย
        -  เสียงดนตรีมีประโยชน์อย่างไร
        -  ความสำคัญและประโยชน์ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องดนตรีไทย

        
อ้างอิงข้อมูล
แผนการจัดการเรียนรู้, พงศ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง, 2552

อ้างอิงรูปภาพ
www.sirindhorn.net 
www.healthcorners.com
www.guru.sanook.com
www.laksanathai.com
www.patakorn.com
www4.msu.ac.th
www.4.bp.blogspot.com
www.baannapleangthai.com
www.talk.mthai.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2876

อัพเดทล่าสุด