https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคข้อ! 'รูมาตอยด์' ภัยเงียบ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคข้อ! 'รูมาตอยด์' ภัยเงียบ


550 ผู้ชม


มันคืออะไร โปรดอ่าน   

                  ระยะนี้มีข่าวคราวการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนไทยแบบแปลก ๆ ปรากฏออกมาค่อนข้างถี่ บ้างก็เพราะโรคที่คนไทยพอจะคุ้นกันอยู่ อย่างมะเร็ง แต่เป็นที่ดวงตา และบ้างก็เพราะโรคประหลาด ๆ ซึ่งที่น่าเห็นใจมากก็คือคนที่เป็นข่าวป่วยไข้แปลก ๆ ระยะนี้มักเป็นเด็ก มีทั้ง... หลับแล้วหยุดหายใจ, สมองหด-ประสาทถดถอย ฯลฯ 
 
ทั้งโรคแปลก-ทั้งโรคไม่แปลก...รุมคุกคามคนไทย
 
และกับ “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์” นี่ก็ยังร้าย !!
 
“สำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการ แต่การประมาณการจากการสำรวจขั้นพื้นฐานในหัวข้อการสำรวจธรรมดา พบว่า ทุก ๆ 1,000 คนจะมีผู้เป็นโรครูมาตอยด์ประมาณ 2-3 คน แต่ตัวเลขเบื้องต้นทั้งประเทศน่าจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 คน โดยช่วงอายุที่เป็นมากที่สุดคือช่วง 30-40 ปี และจะเป็นในเพศหญิงถึง 80-90% เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนสำคัญ ขณะที่จำนวนหมอในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญโรคนี้มาก ๆ มีอยู่ประมาณ 100 คน ส่วนสมาชิกของสมาคมมีอยู่ประมาณ 200 คน” ...นี่เป็นการระบุของ พญ.รัตนวดี ณ นคร นายกสมาคมรูมาติส ซั่มแห่งประเทศไทย ซึ่งบ่งชี้ถึงสถานการณ์โรคนี้ 
 
“รูมาตอยด์” คือ “โรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง” ที่มีลักษณะเด่นคือจะมีการงอกของเยื่อบุข้ออย่างมาก และเยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและ “ทำลายกระดูกและข้อ” ในที่สุด ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อยคือ... ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า อย่างไรก็ตาม โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะกับข้อเท่านั้น พิษภัยของมันยังอาจทำให้มีอาการทางระบบอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ 
 
อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้น ระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า และเมื่อถึงระยะมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด ทั้งนี้อาการข้ออักเสบมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางรายก็อาจรุนแรงเฉียบพลันได้ บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย และในรายที่อาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัว 
 
“สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางอย่าง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมด้วย” ...เป็นข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มฯ 
 
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันวิทยาการการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะโดยการใช้ยา หรือการผ่าตัด แต่จะอย่างไรก็ตามการรู้เท่าทันโรคนี้และการป้องกันก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคนี้เป็นอีกหนึ่ง “นักทรมานตัวฉกาจ” ผู้ที่ป่วยจะทรมานมากและอาจประสบปัญหาอื่นอีกหลายด้าน 
 
ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมาได้มีฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมตัวกันจัดตั้ง “ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์” ขึ้น ซึ่งก็มีการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อย่างต่อเนื่อง และในวันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย. 2552 นี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.15 น. โดยประมาณ ก็จะมีการสัมมนาหัวข้อ “อยู่อย่างเป็นสุขกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทางเลือกใหม่...สู่ชีวิตที่ดีขึ้น” ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 12 โรงพยาบาลราชวิถี โดยความร่วมมือกันของ 4 ฝ่ายหลักคือ... 1.คนไข้ คือชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์, 2.แพทย์เฉพาะทาง คือสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, 3.กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง วิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข จะเป็นประธานในพิธีและ 4.ภาคเอกชน คือบริษัท ไวเอท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสนับสนุนการจัดกิจกรรม
 
งานสัมมนาดังกล่าวนี้จะมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น นิทรรศการความรู้ คลินิกเคลื่อนที่-ให้คำปรึกษาแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สัมมนา เสวนา กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ “สู้รูมาตอยด์” ซึ่งก็จะมีแพทย์ทั้งจากโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี กรมแพทย์ทหารเรือ เข้าร่วมงาน 
 
“จะเป็นศูนย์กลางให้กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมถึงคุณหมอที่ดูแลโรคนี้ด้วย เพื่อให้รับทราบว่าผู้ป่วย-ญาติผู้ป่วยต้องดูแลตนเอง-ดูแลกันอย่างไร เพราะโรคนี้อาจจะไม่ถึงกับเสียชีวิตแต่ทรมาน บางครั้งอาจเหมือนโรคสำออย ซึ่งคนที่ไม่เข้าใจจะไม่ทราบ”...ประธานชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ ไพบูลย์ เอี่ยมแสงชัยรัตน์ ระบุ และว่า... การจัดงานครั้งนี้จะเป็นนิมิตหมายที่ดีของผู้ป่วยในอีกหลาย ๆ โรคด้วย จากการที่ทั้ง 4 ส่วนได้มาร่วมมือกันและอยู่บนพื้นฐานที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
 
ด้าน น.ส.นฤมล สหะวงศ์วัฒนา กรรมการชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ เสริมว่า... งานนี้จะได้ประโยชน์อย่างมากในการเรียนรู้และบำบัดรักษาโรครูมาตอยด์จากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ๆ ที่อยู่รอบข้างดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่ต้องการติดต่อกับทางชมรม เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพื่อสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิต ก็สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-5675-6472
 
ทั้งนี้ นี่ก็เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับการ “รวมพล-จัดทัพสู้...โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์” อีกหนึ่งโรคที่ชื่อเรียกยาก และการรักษาให้หายขาดยังมิใช่ง่าย แม้มิใช่โรคใหม่ ดังนั้นคนไทยอย่าได้ประมาทกับโรคนี้ ซึ่งถ้าใครคิดว่านี่ก็แค่โรคปวดข้อทั่ว ๆ ไป ก็ขอเตือนทิ้งท้ายด้วยการระบุของนายกสมาคมรูมาติสซั่มฯ ที่ว่า..... 
 
“โรคนี้หากรักษาตั้งแต่เริ่มต้นหรือระยะแรก ๆ ก็จะสามารถรักษาหรือควบคุมได้ถึง 60-85% แต่ส่วนใหญ่มักจะรู้หลังจากเป็นไปมากแล้ว ทำให้โอกาสหายขาดมีไม่เกิน 10% ... 
 
โรคนี้ถือว่าเป็น...เพชฌฆาตเงียบ 
 
ที่ทรมานผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง !!!”. 
ที่มา..นสพ. เดลินิวส์ 5 มิ.ย. 52

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=984

อัพเดทล่าสุด