https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1 MUSLIMTHAIPOST

 

ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1


693 ผู้ชม


ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ต่างก็เป็นโรคที่แพร่ระบาดโดยไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมาก ไวรัสเหล่านี้เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วจนยากต่อการควบคุมพวกมันมักมีกลเม็ดเด็ดพรายในการแพร่เชื้อสู่คน และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราก็เอื้อให้พวกมันปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น   

                                                       ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว
                                                                 ตอนที่ 1

       ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ต่างก็เป็นโรคที่แพร่ระบาดโดยไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมาก ไวรัสเหล่านี้เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วจนยากต่อการควบคุมพวกมันมักมีกลเม็ดเด็ดพรายในการแพร่เชื้อสู่คน และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราก็เอื้อให้พวกมันปฏิบัติการได้ง่ายขึ้นเสียด้วยสิ ต่อไปนี้คือรูปร่างลักษณะของไวรัสต่างๆ ตลอดจนการแพร่ระบาด และการป้องกันอันตรายจากไวรัสเหล่านี้
โครงสารงของไวรัส
        สายพันธุกรรม บรรจุข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างไวรัส้อาไว้ ถ้าเชื้อโรคต้องการเพิ่มจำนวน มันจะต้องส่งสารพันธุกรรมไปยังเซลล์ที่มีความสามารถในการอ่านสารพันธุกรรม กฏข้อนี้แสดงให้เห็นลักษณะการใช้ชีวิตของไวรัสที่เป็นปรสิตคอยพึ่งพิงอาศัยอยู่กับสิ่งมีชืวิตอื่น
       โมเลกุลเครื่องมือ ช่วยเหลือไวรัสโดยการไปกระตุ้นเซลล์ให้สามารถอ่านสารพันธุกรรมออก
        แคปชิด(Capsjd) เป็นขั้นที่ประกอบไปด้วยโปรตีนช่วยปกป้องสารพันธุกรรมจากแสงอัลตร้าไวโอเลต ความร้อนหรือความหนาวเย็น เมื่อไวรัสอยู่ภายนอกของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
        เปลือกหุ้ม มีไขมันเป็นส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับที่ห่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์ พบในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
        โปรตีนบนพื้นผิว เป็นเครื่องมืสำคัญสำหรับไวรัส โปรตีนชนิดนี้ช่วยให้มันเจอกับเซลล์เป้าหมาย(เม็ดเลือด เซลล์ประสาท) และช่วยให้มันแทรกตัวเข้าไปได้
ไวรัสรูปทรงเรขาคณิต
                                                     ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1

                                                แบคเทอริโอฟาจ(Bacteriophage)
        มีตะขอและหางสำหรับฉีดสารพันธุกรรม เหมือนกับเข็มฉีดยา ไวรัสชนิดนี้ไม่จะแพร่พันธุ์สู่เซลล์ร่างกายโดยตรง แต่จะแพร่เชื้อเข้าสู่แบคที่เรียเท่านนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อ "แบคเทอริโอฟาจ" มันสามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้
ทุกชนิด รวมถึงพืช สาหร่าย และเห็ดรา

                                                       ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1
                                                                ไวรัสเปลือย
        ไม่มีเปลือกหุ้ม ไวรัสชนิดนี้อยู่ในอากาศได้นานพอสมควร เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูด เปลือกตาอักเสบ หรือโรคโปลิโอที่ทำให้เป็นอัมพาต มันมีชีวิตอย฿ในน้ำได้นานหลายสัปดาห์ และเป็นอันตรายต่อผู้ที่ดื่มเข้าไปครับ

                                               ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1

                                                            ไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม
        การที่มีเปลือกหุ้มบางๆทำให้ไวรัสพวกนี้อ่อนแอกว่าพวกอื่นๆ เมื่อเกาะอยู่ที่อ่างในห้องน้ำ หรือกลอนประตู ไวรัสชนิดนี้จะมีอันตรายอยู่นานไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่นาทีเท่านั้น กรณีนี้หมายถึงไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า โรคเอดส์ หรือฝีดาษ
ไวรัส คืออะไรกันแน่
       แด็กคิวลา หรือผีดิบซอมบี้ยังต้องชิดซ้าย เมื่อบนโลกนี้ยังมีสิ่งที่ประหลาดและเหี้ยมโหดกว่า พวกมันคือไวรัส มีมากกว่า 2,000 สายพันธ์บนโลก แต่มีเพียงประมาณ 200 สายพันธ์เท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในจำนวนนี้ เราพบไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูดและไข้หวัด รวมถึงพวกที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า (ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกปีละ 50,000 ราย) โรคไข้หวัดใหญ่ (มีผู้เสียชืวิตปีละ 5 แสนถึง 1 ล้านคน) หรือโรคเอดส์ (มีผู้เสยชีวิตเมื่อปี ค.ศ.2003 ถึง 3 ล้านคน)
       ชื่อไวรัสมาจากภาษาลาตินที่มีความหมายว่า ยาพิษ ไม่ไช่พวกมันวางยาพิษจนเราไม่สบาย แต่เพราะพวกมันพากันบุกรุกเข้ามาอาศัยอยู่ในร่างกายของเราต่างหาก ในการแพร่พันธ์นั้นพวกมันจำเป็นต้องแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ต่างๆของเรา จากนั้นจะเปลี่ยนเซลล์ในร่างกายให้เป็นโรงงานแม่พิมพ์ เพื่อคัดลอกไวรัสที่มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการออกมามากกว่าพันล้านตัว ทำให้เซลล์ต่างๆไม่สามารถทำงานได้ นี่จึงเป็นระยะเริ่มแรกของโรค
        ที่ประหลาดที่สุดคือ ไวรัสไม่ใช่สัตว์ เพราะพวกมันไม่มีชีวิต "เมื่ออยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ พวกมันไม่กิน ไม่แพร่พันธ์ แต่เป็นเพียงโมเลกุลขนาดใหญ่คล้ายกับผลึกแก้ว" ฟิลิปป์ เดอ มิคโก นักไวรัสวิทยาแห่งเมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส กล่าวยืนยัน โครงสร้างของไวรัสไม่ได้ซับซ้อนอะไร (ดูภาพประกอบ) แต่พวกไวรัสสามารถแทรกผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราเปลี่ยนรูปจนคล้ายกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กได้ พวกมันจึงเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
ไวรัสกับแบคทีเรีย แตกต่างกันอย่างไร
        เรามักจัดให้พวกมันอยู่ในพวกเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ไวรัสและแบคทีเรียมีสิ่งที่คล้ายกันน้อยมาก
        แบคทีเรียเป็นเซลล์ที่มีชีวิตและอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ไวรัสไม่ใช่ 
        ไวรัสจะแพร่จำนวนอยู่ภายในเซลล์เท่านั้น แต่แบคทีเรียจะแพร่พันธ์ภายนอกเซลล์ อยู่ใน เลือด ปอด หรือลำไส้
        ไวรัสไม่สะทกสะท้านต่อยาปฏิชีวนะ ต่างจากแบคทีเรียที่ทนต่อยาประเภทนี้แทบไม่ได้
        แบคทีเรียสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ แต่ไวรัสทำไม่ได้
        ไวรัสที่เล็กสุดมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียถึง 300 เท่า
                                                    ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1
                                                        นี่คือไวรัสที่มาโจมตีเม็ดเลือขาว
                                       ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 1
        แบคทีเรียคลอสทริเดียม โบทูลินัม(Clostridiuym botulinum) จะปล่อยสารพิษออกมาทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคโบทูลิซึม
(Botulism)

ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมีผลดีอย่างไร
        2. ไวรัสจัดเป็นพวกพืช หรือสัตว์ และเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่      
       
 3. ไวรัสกับแบคทีเรีย แตกต่างกันอย่างไร        
กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากไวรัสและการป้องกันรักษา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย      การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ไวรัส และแบคทีเรียเป็นเชื้อโรคที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า 
        3. สังคมศึกษา    สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ 
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การศึกษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ และการป้องกันรักษา
แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
        นิตยสาร GoGenius ปีที่ 5 ฉบับที่ 50 มิถุนายน 2552

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1103

อัพเดทล่าสุด