https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อยากเป็นไหม....โรคกระเพาะอาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

อยากเป็นไหม....โรคกระเพาะอาหาร


552 ผู้ชม


โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก   


ภาพจาก...www.taliw.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้        สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                        ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 

        
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 11                 เรื่อง   การป้องกันโรค
              สาระที่ 4                              การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
              มฐ.พ. 4.1 
                           วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม 
                                                        สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                        มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                        ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                        ของตนเอง
เนื้อหาสาระ
โรคกระเพาะอาหาร

         โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบอีกด้วย
         สาเหตุ ของโรคกระเพาะอาหารนั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เช่นการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ในขณะท้องว่าง การรับประทานยาแก้อักเสบหรือแก้ปวดจำพวกยาที่ใช้กันในโรคกระดูกและข้อ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการตรวจพบว่ามี bacteria ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเราได้ bacteria ตัวนี้พบว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้
         อาการ โรคกระเพาะที่พบบ่อยคือ มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แต่บางคนอาจมีอาการแน่นท้องบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ผลข้างเคียงของโรคกระเพาะที่มีอันตราย ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และกระเพาะอาหารที่เป็นแผลทะลุทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้
         ในกรณีที่ท่านมีอาการปวดท้องและสงสัยว่าจะเป็นโรค กระเพาะ ท่านควรรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องมีมากมาย หากยังไม่มีความแน่ใจ ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์จะซักประวัติของท่านอย่าง ละเอียดมากยิ่งขึ้น มีการตรวจร่างกายเพื่อว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือในบางกรณีอาจมีการตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารหนือให้กลืนแป้งแล้วเอ็กซเร ย์ เพื่อดูให้เห็นร่องรอยของแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น
่          การรักษาที่สำคัญที่สุด ของโรคกระเพาะคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง โดยท่านต้องรับประทานให้ตามเวลา การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการระมัดระวังการรับประทานยาที่อาจมีผลต่อการทำให้มีกรดใน กระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการระมัดระวังเรื่องความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยเช่นกัน
ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอย่างไร
        2. นักเรียนบอกวิธีการป้องกันอย่างไรได้บ้าง
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรคกระเพาะอาหารจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร
          
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการย่อยอาหาร 
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ 
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

แหล่งข้อมูลที่มา :  www.kkict.org

อัพเดทล่าสุด