https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ปัญหาที่พบบ่อยๆ......ในการสอนวิชาพลศึกษาทุกชั่วโมง MUSLIMTHAIPOST

 

ปัญหาที่พบบ่อยๆ......ในการสอนวิชาพลศึกษาทุกชั่วโมง


686 ผู้ชม


นักเรียนที่เป็นโรคหอบหืด..ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนของกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆในแต่ละชั่วโมง..ครูพลศึกษาต้องสนใจ   


ภาพจาก...www.goodhealth.co.th

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้          สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                         ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5
       
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11                           เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                      การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -   วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -   มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                           ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                           ของตนเอง

เนื้อหาสาระ
โรคหอบหืด
       คือโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลม ต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางหายใจเกิดการตีบแคบ และทำให้หายใจลำบาก

อาการ 
         เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ เยื่อบุหลอดลมจะบวมทำให้หลอดลมตีบแคบลง ขณะเดียวกันการอักเสบทำให้หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้นและตอบสนองโดยการหด เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบแคบลงไปอีก นอกจากนี้หลอดลมที่อักเสบจะมีการหลั่งเมือกออกมามาก ทำให้ท่อทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้กล้ามเนื้อท่อทางเดินหายใจยังเกิดการหดตัว ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดอาการ หายใจลำบาก ไอ หายใจมีเสียงวี๊ซ หายใจถี่ และรู้สึกแน่นหน้าอก ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบริมฝีปากและเล็บมีสีเขียวคล้ำ

สาเหตุ 
        หลอดลมของผู้เป็นโรคหอบหืดมีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (STIMULI) สิ่งกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดอาการหอบหืดได้แก่  สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น , ไรฝุ่น , ขนสัตว์ , ละอองเกสร สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ , มลพิษในอากาศ , กลิ่น , ควัน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด , ความโกรธ , ความกลัว , ความดีใจ  การออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ  ยา เช่น ยาแอสไพริน , ยาลดความดันบางกลุ่ม
อาหาร เช่น อาหารทะเล , ถั่ว , ไข่ , นม , ปลา , สารผสมในอาหาร เป็นต้น

คำแนะนำ 
1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่นปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด
2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน
3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง
4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูดเช่น เบนโซเอท ซัลไฟท์
5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue
6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง
7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคหอบหืดมีผลเสียอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้ที่เป็นโรคหอบหืดออกกำลังกายหนักไม่ได้นานเพราะอะไร
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรคหอบหืดจะมีผลโดยตรงต่อร่างกายอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่างๆ
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการหายใจและไหลเวียนของโลหิต
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
แหล่งข้อมูลที่มา 
www.goodhealth.co.th

อัพเดทล่าสุด