https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มาศึกษา...โครงสร้างของเต้านมสุภาพสตรีกันดีกว่า. MUSLIMTHAIPOST

 

มาศึกษา...โครงสร้างของเต้านมสุภาพสตรีกันดีกว่า.


769 ผู้ชม


เต้านมของคนเราประกอบไปด้วยไขมัน เนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนมนมประมาณ 15-20 lobes ภายใน lobe ประกอบ lobules และมีถุง bulbs   


ภาพจาก..www.thaigoodview.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้         สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                         ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5
       
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11                           เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                     การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -   มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                          ของตนเอง
เนื้อหาสาระ
       
        ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะเปิดยังหัวนม (nipple) ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือด และน้ำเหลือง( lymph) ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ( axillary lymph node)

        มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด

        เต้านมคนเราเปลี่ยนแปลงตามอายุ และตามรอบประจำเดือน การที่เราหมั่นคลำเต้านมตัวเองจะทำให้เรารู้ลักษณะปกติของเต้านม เราสามารถพบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เต้านมตั้งแต่แรก

  • ลักษณะ เต้านมในแต่ช่วงเวลาของรอบเดือนจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ช่วงก่อนมีรอบเดือนเต้านมจะตึงและคัดเมื่อคลำจะรู้สึกตึง คลำได้ต่อมน้ำนม แต่หลังจากประจำเดือนมาแล้วเต้านมจะนิ่มขึ้น
  • เต้านมในวัยทองจะเหลวนิ่ม เนื่องต่อมน้ำนมไม่ทำงาน
  • สำหรับท่านที่ตัดมดลูกโดยที่ไม่ได้ตัดรังไข่ เต้านมของท่านยังคงเหมือนเดิม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

คำว่าปัจจัยเสี่ยงหมายถึงปัจจัยหรือว่าที่จะเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมเพื่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญคือ...

  • อายุ หากอายุมากจะเสี่ยงมาก
  • การมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย
  • การไม่มีบุตรหรือคลอดลูกคนแรกอายุมาก
  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่เต้านม
  • ประวัติญาติสายตรง(แม่ พี่ น้อง)เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีการให้รังสีรักษาที่เต้านมหรือทรวงอก
  • ทำ mamogram แล้วพบความผิดปกติ
  • กินฮอร์โมน estrogen หรือ progesterone
  • การดื่มสุรามากกว่าหนึ่งหน่วยสุรา
  • คนผิวขาว
  • เข้าสู่วัยทองต้องอายุมาก
  • มีบุตรเมื่ออายุมาก
  • ไม่มีบุตร
  • ไม่ได้ให้นมลูก
  • อ้วน
  • การใช้ฮอร์โมนทดอทนตอนวัยทอง
  • การดื่มสุรามากกว่าหนึ่งหน่วยสุรา
  • ไม่ออกกำลังกาย

จะต้องเฝ้าการเปลี่ยนแปลงของเต้านมอะไรบ้าง

       คุณผู้หญิงทุกท่านต้องเรียนรู้ว่าเต้านมปกติของตัวเองเป็นเช่นไร ก่อนมีประจำเดือน หลังมีประจำเดือน หรือวัยทองเต้านมมีลักษณะอย่างไร หากเกิดโรคขึ้นมาคุณจะรู้ได้เร็ว

ลักษณะของเต้านม

  • สังเกต ดูสีผิวของเต้านม ขนาด ผิวบริเวณเต้านมเรีบยสนิทไม่มีรอยบุ๋ม หากผิวมีลักษณะผิวส้ม หรือมีรอยบุ๋มที่ผิดปกติคุณจะต้องคลำเต้านมตัวเองหากพบก้อนต้องปรึกษาแพทย์ หากยกมือขึ้นแล้วมีความผิดปกติที่ผิวหนังก็ถือว่าผิดปกติ
  • หากคุณรู้สึกว่ามีความปวดหรืออึกอัด ควรปรึกษาแพทย์
  • หากคุณคลำได้ก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ ให้ปรึกษาแพทย์
  • สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหัวนมเช่น
    • มีน้ำที่ไม่ใช่น้ำนมไหลออกจากหัวนม
    • มีเลือดออกหรือหัวนมชื้นตลอดเวลา
    • หัวนมผิดตำแหน่งเช่นยุบลงไปหรือถูกดึงรั้งไปทางอื่น
    • ผื่นรอบหัวนม
ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาโครงสร้างของเต้านมผู้หญิงแตกต่างกับผู้ชายอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้หญิงจึงมีน้ำนมขณะตั้งท้องและคลอดบุตรแล้ว
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า ผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเต้านมโดยตรงต่อผู้หญิงอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเต้านม
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความ  การสรุปย่อ
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบโครงสร้างของร่างกาย (ชีววิทยา)
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. ศิลปะ           วาดรูปลายเส้น
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการออกกำลังกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : www.siamhealth.net/

อัพเดทล่าสุด