https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคติดต่อ (Communicable Diseases)...ตอนที่ 1 MUSLIMTHAIPOST

 

โรคติดต่อ (Communicable Diseases)...ตอนที่ 1


586 ผู้ชม


พฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น รวมทั้งอาจทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายลดลง   

โรคติดต่อ (Communicable Diseases)...ตอนที่ 1


 

 โรคติดต่อ (Communicable Diseases)...ตอนที่ 1
https://www.daradaily.co.th/content/news/p1-10870.jpg

โรคติดต่อ
Communicable Diseases

หากมนุษย์มีพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ 
ส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น 
รวมทั้งอาจทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายลดลง จุลินทรีย์ที่มีอยู่โดยทั่วไป 
จะสามารถเข้าจู่โจม ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น 
(ซึ่งในภาวะที่ร่างกายแข็งแรงเชื้อโรคเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้)

โรคติดต่อ
         โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอด ติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล 
โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ วัณโรค กามโรค โรคเรื้อน 
อหิวาตกโรค โรคเอดส์ เป็นต้น แม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ 
แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ

 

        สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุกมีความชื้นสูง
เป็นผลให้เชื้อโรคชนิดต่างๆ ตลอดจนแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้เร็ว 
ทำให้มีโรคติดต่อต่างๆ ชุกชุม และบางโรคก็พบบ่อยกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โรคที่พบบ่อย
ในแถบเขตร้อนนี้ รวมเรียกว่า โรคเขตร้อน (tropical diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด 
นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่างๆ

        จุลินทรีย์หรือจุลชีพ คือ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 
ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเป็นพันเท่าหรือหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ ในบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวเรา 
ในดิน ในน้ำ ในอาหาร บนผิวกาย หรือในร่างกายของเรา จะสามารถตรวจพบจุลินทรีย์ต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด

        จุลินทรีย์บางชนิด มีชีวิตอยู่โดยไม่ทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น บางชนิดมีประโยชน์
ช่วยสังเคราะห์สารต่างๆ ให้ประโยชน์ในทางกสิกรรมและอุตสาหกรรม แต่บางชนิดก่อโรคให้กับคน สัตว์และพืช 
จุลินทรีย์ที่ก่อโรคนี้รวมเรียกว่า "เชื้อโรค" 
        นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยอีกมากมาย ที่ยังไม่ถึงขั้นที่จะจัดเป็นโรค มักเป็นองค์ประกอบหนึ่ง
ของโรคดังกล่าวแล้ว (โรคชนิดหนึ่ง ๆ มักปรากฏหลาย ๆ อาการ) เช่น อาการปวด อาการคลื่นไส้ อาการอาเจียน 
อาการปวดท้อง อาการท้องเสีย อาการท้องผูก อาการไอ อาการหอบ อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น)

        โรคภัยไข้เจ็บมีมากมาย หลักการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง 
จึงควรเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นส่วนสำคัญ 
โดยจะต้องศึกษาลักษณะของโรคและสาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้ด้วย และประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดโรค 
ซึ่งในรายละเอียดจะต้องคำนึงถึงความสมดุลย์และธรรมชาติ ไม่ควรมีพฤติกรรมที่ประมาท
หรือเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บแล้วหวังผลการรักษาตรงปลายเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดที่เชื่อว่ายาคือพระเจ้า
ที่จะแก้ปัญหาสุขภาพได้ทุกกรณี เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในขณะเดียวกัน ยาก็มีพิษภัยที่ก่อปัญหาได้เช่นเดียวกัน 
        ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน แม้ว่าจะได้ดูแลป้องกันเป็นอย่างดีแล้ว
 เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปได้ดังใจนึกในทุกขณะหากเกิดการป่วยไข้ขึ้นมา 
การแก้ปัญหาก็ยังคงต้องอาศัยแนวคิดในเรื่องของธรรมชาติเป็นกุญแจสำคัญ ไม่ควรใจเร็วด่วนได้ แก้ปัญหาปลายเหตุ
โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหา
ต่อการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยการใช้ยา 
        มีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ มากมาย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรืออาจพูดได้ว่า 
การใช้ยาบำบัดหรือบรรเทาอาการนั้น ๆ เป็นประจำเป็นสิ่งที่ผิด อันที่จริงแล้ว อาการเจ็บป่วยหลาย ๆ อาการ
เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลของการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของร่างกาย สะท้อนให้ร่างกายได้รู้สึกว่า
มีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้น เพื่อเตือนให้ร่างกายปรับวิถีการดำรงชีวิตที่ผิดนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม อันจะทำให้
เกิดการคืนสู่สมดุลย์ของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างปกติสุข

        การใช้ยาแก้ปัญหาอาการโดยไม่จำเป็น จะทำให้เกิดการละเลยต่อการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง 
อาจทำให้เกิดผลเสียมากขึ้นในที่สุด หรือในบางกรณีจะส่งผลเสียในระยะยาวได้

ตัวอย่างโรคติดต่อ
         โรคตาแดง เป็นโรคติดต่อที่ระบาดได้ง่ายมาก โรคนี้จะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้า
                          ไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ 
         โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ระบาดได้ตลอดปี
                           มักเกิดในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว 
         โรควัณโรค (ทีบี) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียติดมากับละอองเสมหะและละอองน้ำลาย
                           ที่กระจายในอากาศ สมัยก่อนคนเรียกโรคนี้ว่า ฝีในท้อง ถ้าใครเป็นละก็ตายทุกราย 
                           ไม่มียาแก้แถมคนที่ป่วยยังถูกรังเกียจด้วย แต่ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาได้ 
        วัณโรคในเด็กและผู้ใหญ่ต่างกันมาก ในผู้ใหญ่มักจะมีจุดที่ปอด มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ไอแห้งๆและผอมแห้งแรงน้อย

        ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีจะมีความต้านทานต่ำเมื่อได้รับเชื้อ จะไม่สามารถสกัดกันเชื้อได้ 
                            และเชื้อจะกระจายไปตามร่างกายและอาจรุนแรงมากเมื่อเชื้อไปถึงสมอง


โรคติดต่อในประเทศไทย
        
1. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ 4 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และ กาฬโรค 
2. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารสุขลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2524 มีอยู่ 44 โรค 
     คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง ไข้กาหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยัก 
     โปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูม ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก 
     โรคพิษ สุนัขบ้า โรคตับอักเสบ โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) 
     โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ 
     สครับไทฟัส (scrub typhus) มูรีนไทฟัส (murine typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น 
     แอนแทร็กซ์ (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส 
     หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ 
     โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง 
3. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีอยู่ 15 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ 
     บาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ ไข้พิษสุนัขบ้า ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ 
     โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราดระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม

        ดังนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด 
ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่นไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ.2504 
(ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ.2521) 
โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป เช่น อหิวาตกโรค อย่างไรก็ตาม 
โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฎอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่ ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว 
โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป

เนื้อหานี้เหมาะสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   ระดับช่วงชั้นที่ 3 และ 4
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค
                           และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
ประเด็นคำถาม
              1. จงให้ความหมายของโรคติดต่อ พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ
              2. โรคติดต่ออันตราย มีกี่โรค อะไรบ้าง
              3. โรคติดต่อ ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปัญหาต่อผู้ที่ป่วย ต่อสังคม และประเทศชาติอย่างไร จงอธิบาย
กิจกรรมเสนอแนะ   
              1. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเครือข่ายอินเตอร์เนต
              2. ค้นคว้า อภิปราย และนำเสนอ 
              3. ให้ทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อต่างๆ    การสร้างเสริมสุขภาพและ            
                       การป้องกันโรคด้วยภูมิปัญญาไทย
                  
การบูรณาการ
      สามารถบูรณาการได้กับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา-จุลินทรีย์/การแพร่ระบาด)
                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ศัพท์ภาษาอังกฤษ )
                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (โภชนาการ)

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.panyathai.or.th

https://images.google.co.th/imgres? 

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1849

อัพเดทล่าสุด