https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ห่วงอนามัยเรื่องใกล้ตัวที่ถูกลืม MUSLIMTHAIPOST

 

ห่วงอนามัยเรื่องใกล้ตัวที่ถูกลืม


823 ผู้ชม


ห่วงอนามัยมีหลายขนาด เลือกใช้ตามขนาดของมดลูก   

                                           

                                                    การใส่ห่วงคุมกำเนิด(IUD)

                                ห่วงอนามัยเรื่องใกล้ตัวที่ถูกลืม    

                                                   ภาพจาก www.pharm.chula.ac.th.jpg

 ห่วงคุมกำเนิด      
         
ส่วนใหญ่เป็นพลาสติค พวก Polyethylene ใช้ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อช่วยในการคุมกำเนิด กลไกการทำงานไม่แน่ชัดแต่เชื่อว่า จะทำให้เกิดการระคายเคืองทำให้มีพวกเอ็นไซม์ และเม็ดเลือดขาวออกมาในโพรงมดลูกจับกินตัวอสุจิ และทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถมาฝังตัวได้ตามปกติ หรือ กระตุ้นการบีบรัดตัวของมดลูกและท่อนำไข่  การใส่ห่วงไม่ยาก คล้ายๆกับการตรวจภายในธรรมดาไม่ต้องใช้ยาชา หรือ ดมยาสลบ จะรู้สึกเจ็บเสียวตอนใส่ห่วงเล็กน้อยในบางคนเท่านั้น  แต่ต้องใส่โดยแพทย์หรือบุคลากรางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว  
     
ผลของการคุมกำเนิด  
         แต่ก่อนใช้ชนิดที่เป็นพลาสติคอย่างเดียวผลในการคุมกำเนิดจะน้อยมีโอกาสพลาดตั้งครรภ์ได้ง่าย (ประมาณ18/100 คน ใน หนึ่งปี) แต่ระยะหลังมีการปรับปรุงโดยการใส่โลหะเช่นทองแดงพันรอบพลาสติค ทำให้ได้ผลดีขึ้น(โอกาสตั้งครรภ์ลดเหลือไม่ถึง 2/100 คน ในหนึ่งปี)และผลในการคุมกำเนิด จะอยู่ได้ประมาณ 3-6 ปีแล้วแต่ชนิดของห่วงจากนั้นจึงเปลี่ยนอันใหม่      

                                                    

                         ห่วงอนามัยเรื่องใกล้ตัวที่ถูกลืม
                   

                                                                                                 ภาพจาก   www.exteen.com 


  ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปกติ   
           แนะนำให้ใส่ขณะหมดประจำเดือนใหม่ๆ เพราะว่าปากมดลูกยังปิดไม่สนิทจะทำให้ใส่ง่าย และยังเป็นการมั่นใจได้ว่าไม่มีการตั้งครรภ์อยู่ก่อนถ้าใส่ช่วงเวลาอื่นจะต้องแน่ใจว่าไม่ตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว                                                                                                        

    การดูแลห่วงหลังใส่แล้ว     ควรหมั่นตรวจดูว่าห่วงยังคงอยู่ในโพรงมดลูกตามปกติหรือไม่ สามารถทำการตรวจด้วยตัวเองหลังจากหมดประจำเดือนใหม่ โดยการใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในช่องคลอด คลำหาดูว่าหางห่วงซึ่งเป็นด้ายไนล่อนยื่นยาวพ้นปากมดลูก มาอยู่ในช่องคลอดประมาณ 1-2 นิ้ว ยังอยู่หรือไม่ ถ้าคลำไม่พบ ควรไปพบแพทย์ เพราะว่าห่วงอาจจะหลุดออกมาขณะที่ปากมดลูกเปิดขณะมีประจำเดือน โดยเฉพาะหลังการใส่เดือนแรกๆ หรือบางครั้งห่วงอาจจะเลื่อนตำแหน่งหรือ หลุดเข้าไปในช่องท้อง(พบน้อยมาก จะพบในคนที่ใส่ห่วงไว้นานจนเกินกำหนดแล้วไม่ได้เปลี่ยน )  

 

                                ห่วงอนามัยเรื่องใกล้ตัวที่ถูกลืม                                                

                                                                   ภาพจาก   www.elib-online.com 


     ข้อดี   ไม่เสี่ยงต่อผลของฮอร์โมนต่างๆเหมือนในการใช้ยาคุมแบบต่างๆใส่ครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี                             
     ข้อเสีย บางคนอาจะพบมีอาการ ปวดเกร็งมดลูก คล้ายเป็นตะคริว หรือ มีเลือดออกจากมดลูกผิดปกติ ได้ แต่มักจะเป็นในช่วงแรกหลังการใส่ใหม่ๆ เท่านั้น

 

ประเด็นคำถาม   ( ตอบโดยสรุป  สั้นแต่ได้ใจความสมบูรณ์ โดยส่งทาง e-mail ที่ครูกำหนดให้แต่ละห้อง)
       1. Polyethylene(โพลิเอทธีลีน) ต่างกับ Polyurethane (โพลียูรีเทน) อย่างไร  
       2. จาก ข้อ 1. สารทั้งสองชนิด ใช้ในการผลิตอุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดใดบ้าง  
       3. กลไกในการคุมกำเนิดของห่วงอนามัยป็นอย่างไร  
       4. ด้านไนล่อนที่ส่วนปลายของห่วง มีไว้เพื่อประโยชน์อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ  
        ค้นคว้าถึงผลจากการใช้ขดลวดทองแดงพันรอบแกนของห่วงอนามัย ว่าช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น  
       1. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ : สารPolyethylene และ Polyurethane   
       2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : อ่าน คิด วิเคราะห์คำถาม คำตอบ  
       3. กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี : ค้นคว้าข้อมูล

ที่มาข้อมูล

www.geocities.com       
www.aidskku.kku.ac.th    
www.pharm.chula.ac.th   
www.elib-online.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2947

อัพเดทล่าสุด