https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือทำไงดี MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือทำไงดี


986 ผู้ชม


ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือทำไงดี

พ่อแม่ที่มีลูกวัยเรียนคงกำลังประสบปัญหาลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียนหรือหนังสือชนิดใดก็ตาม การอ่านนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาตนเองของคนทุกวัย เราจะทำอย่างไรให้ลูกรักการอ่านล่ะ 

ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือทำไงดี

 สำหรับทุกคน หนังสือเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น นอกจากจะให้ความรู้แล้วยังให้คุณได้มองโลกในมุมมองที่หลากหลายขึ้นด้วย แถมยังทำให้สมองทำงาน ฝึกการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แล้วเราจะทำอย่างไรให้ลูกอยากหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านล่ะ

สิ่งที่ควรทำ

1. อ่านให้ลูกเห็นเป็นประจำ พ่อแม่ควรทำเป็นตัวอย่าง เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ทำอะไรเขาก็จะทำตาม

2. เล่านิทานให้ลูกฟัง ถึงแม้ว่าลูกคุณจะยังเล็กเป็นเด็กทารกยังฟังไม่รู้เรื่อง จริง ๆ แล้ว พ่อแม่สามารถอ่านนิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องเลย และถึงแม้ว่าลูกคุณจะโตแล้วอ่านหนังสือได้เองแล้ว การอ่านให้ลูกฟังเป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูก และทำให้ลูกเห็นว่าเราเป็นครอบครัวที่รักการอ่าน

3. อ่านเรื่องเดิมหลายรอบ ไม่ว่าคุณจะอ่านเรื่องเดิมให้ลูกฟังมาเป็น 10 ครั้งแล้ว ถ้าลูกยังอยากฟังเรื่องเดิมอยู่ก็อ่านเรื่องเดิมนั่นแหละ เมื่อเด็กมีความต้องการให้คุณหยิบหนังสือมาอ่าน คุณต้องอย่าปิดกั้นความต้องการนั้น

4. อ่านให้มีจังหวะ และได้อารมณ์ของเรื่อง เวลาอ่านให้ลูกฟัง ให้ลูกได้เอาใจเข้าไปอยู่ในนิทานเรื่องนั้น เพื่อให้เขาสนุกกับหนังสือ

5. ในเด็กวัยเรียนหนังสือที่ใช้คำคล้องจองจะช่วยให้เด็กจำคำศัพท์ได้มากขึ้น

6. เวลาเห็นลูกนั่งอ่านหนังสือเงียบ ๆ ให้คุณเข้ามานั่งใกล้ ๆ และอ่านหนังสือของคุณไปข้าง ๆ

7. ชมลูกเมื่อเห็นลูกมีความพยายามที่จะอ่านหนังสือ เมื่ออ่านออกเสียง หรือเมื่ออ่านจบเล่ม

8. ทำที่วางหนังสือให้เป็นสัดส่วนที่เป็นของลูกและสอนให้ลูกเปิดใช้หนังสืออย่างถนอม

9. ทำให้ในบ้านมีหนังสือหลากหลายประเภท นอกจากจะช่วยคลายความน่าเบื่อแล้ว ยังเสริมสร้างให้ลูกมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด

10. พูดคุยเรื่องหนังสือกับลูก ให้ลูกเล่าให้ฟังว่าเรื่องที่อ่านสนุกยังไง

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. แก้คำที่ลูกอ่านออกเสียงผิด - การแก้คำผิดทันที นอกจากจะทำให้อารมณ์ของการอ่านนิทานสะดุดแล้ว ยังเป็นการลดความมั่นใจของเด็กและทำให้เด็กอยากอ่านน้อยลง หากคุณยังอยากสอนให้ลูกอ่านให้ถูก คุณสามารถสอนทางอ้อมได้ โดยการพูดคำที่เด็กอ่านผิดไป ในช่วงของการใช้ชีวิตประจำวันบ่อย ๆ เด็กก็จะคิดได้เองว่าคำที่อ่านไปเมื่อคืนน่าจะอ่านผิด ยังไงคำศัพท์ส่วนใหญ่ในหนังสือเด็กก็เป็นคำที่เราใช้ทั่วไปอยู่แล้ว

2. ห้ามลูกอ่านหนังสือที่คุณคิดว่าไม่มีประโยชน์ - เมื่อลูกมีความรักการอ่าน อย่าหยุดเขา เขาอยากอ่านอะไรก็อ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หนังสือที่มีแต่รูป หนังสือขำขัน หรือหนังสือที่คุณไม่ชอบ เด็กที่โตแล้วบางคนอาจจะเลือกแต่หนังสือที่มีตัวหนังสือตัวใหญ่หรือหนังสือที่เหมาะกับเด็กเล็กกว่า ก็ปล่อยเด็กเลือกหนังสือของเขาไป เมื่อเขาโตขึ้น เดี๋ยวเขาก็จะหยิบหนังสือที่เหมาะสมเอง

3. เลือกแต่หนังสือวิชาการ - ที่มีเนื้อหาหนัก ๆ จะทำให้เด็กเกลียดการอ่านหนังสือ

4. จัดตารางเวลาการอ่านหนังสือ - เด็กไม่ชอบการบังคับ การจัดตารางก็เช่นกัน อยากอ่านหนังสือเมื่อไหร่ สะดวกที่ไหนก็อ่านได้เลย

5. อ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นภาษาที่คุณไม่ถนัด - สมัยนี้พ่อแม่หลายท่านอยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ โดยการส่งลูกเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนสอนภาษาต่าง ๆ แต่เมื่อคุณเองพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดี คุณก็ไม่ควรอ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษที่คุณไม่ถนัด แม้ว่าจะส่งลูกเรียนนานาชาติ คุณก็สามารถอ่านนิทานไทยให้ลูกฟังได้ เพราะคุณจะอ่านได้ดีกว่า ได้รสกว่า และสนุกกว่านั่นเอง นอกจากเด็กจะได้ทั้งสองภาษาแล้ว เขายังได้ซึมซับแนวคิดและการเขียนของจากทั้งสองวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่กลัวการพูดหรือเรียนรู้ภาษาอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด