Best Practice ปี 2551 : เปิดกลยุทธ์ 3 บริษัทคนไทย MUSLIMTHAIPOST

 

Best Practice ปี 2551 : เปิดกลยุทธ์ 3 บริษัทคนไทย


734 ผู้ชม


Best Practice ปี 2551 : เปิดกลยุทธ์ 3 บริษัทคนไทย





Best Practice ปี 2551 : เปิดกลยุทธ์ 3 บริษัทคนไทย

จากการที่กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) จัดงาน Thailand Internation Logistics Fair 2008 ขึ้นเมื่อวันที่ 11-12 กันยายนที่ผ่านมา ในงานนี้ได้มีการจัด ประกวดต้นแบบโลจิสติกส์ ปี 2551 (Logistics Model Award 2008) ด้วยเป็นครั้งที่ 2 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างความตื่นตัวด้านการพัฒนาโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแก่กลุ่มผู้ประกอบการเอกชน
ผลการตัดสินรายชื่อบริษัทที่ได้รับรางวัลการประกวดต้นแบบโลจิสติกส์ ปี 2551 ได้แก่ บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด ชนะการประกวดประเภทการจัดการด้านการให้บริการโลจิสติกส์ของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ครบวงจร บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์แมเนจเมนท์ จำกัด ชนะการประกวดประเภทการจัดการด้านการให้บริการโลจิสติกส์ธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอเรชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด ชนะการประกวดประเภทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ด้านธุรกิจรับจัดการขนส่ง/ตัวแทนขนส่ง
ว่าที่ ร.ต.ธเนศร์ โสรัตน์ รองประธานกรรมการเครือบริษัท วี-เซิร์ฟกล่าวว่า วี-เซิร์ฟ กรุ๊ป มีบริษัทในเครือทั้งหมด 12 บริษัท มีสาขาทั้งในกรุงเทพมหานคร(กทม.) และต่างจังหวัดกว่า 10 แห่ง เป็น กลุ่มบริษัทที่ให้บริการงานด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรของคนไทย 100% ทุนจดทะเบียนรวม 66.5 ล้านบาท มีพนักงาน 480 คน ยอดขายในปี 2551 คาดว่าประมาณ 1,100 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 10-15%
วี-เซิร์ฟ มีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ 3 แห่งเนื้อที่รวมกว่า 80 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ใช้สอย 25,880 ต ร.ม.เฉพาะที่บางนามีขนาด 12 ไร่ พื้นที่ 12,000 ตร.ม. ทางด้านรถบรรทุกจำนวน 200 คัน บริษัทนำ GPS (Global Positioning System) มาใช้เพื่อตรวจสอบสถานะความปลอดภัย สถานที่และประหยัดต้นทุนในการขนส่ง การมุ่งลดต้นทุนขนส่งรถเที่ยวเปล่า (Back Hual) การมีระบบบรรจุตู้สินค้ามีมาตรการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน C-TPAT ของสหรัฐอเมริกา
ทางด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในองค์กร มีการใช้ ERP SYSTEM มีระบบการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้านานถึง 5 ปี มีระบบออนไลน์ เพื่อตรวจสอบว่า สินค้าในขณะนี้อยู่ที่ไหน มีระบบการจัดการแบบไร้กระดาษ มีการนำ ebXML มาใช้ในการจัดทำใบขนสินค้าและเอกสารในการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการได้โดยเฉพาะกรมศุลกากร
สำหรับเข็มทิศทางธุรกิจของเครือมีอยู่ 4 ข้อคือ 1.ต้องมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า มีการพบปะกับซัพพลายเออร์ทุกเดือน เพื่อสร้าง ซัพพลายเชนให้ เข้มแข็ง เป็นต้น 2.บริการต้องเป็นเลิศ เช่น การประกันเวลาส่งมอบ การนำเข้าสินค้าต้องส่งมอบภายใน 2 วันหลังเรือเข้าและเอกสารครบ 95% ด้านการส่งออก ต้องทำได้ตามที่ลูกค้ากำหนด 100% 3.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ต้องมีดัชนีชี้วัดทุกเดือน จุดไหนไม่ดีต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น และ 4.เสริมสร้างความ เติบโตและยั่งยืน
กุญแจแห่งความสำเร็จของ วี-เซิร์ฟ คือ การให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีศูนย์อบรมอยู่ที่อาคารทศพลแลนด์ ถนนรัชดาภิเษก ย่านห้วยขวาง
นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวริน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด กล่าวว่า ฮาซเคมฯเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์สำหรับเคมีภัณฑ์และสินค้าอันตรายครบวงจร เป็น 1 ใน 6 บริษัทภายใต้กลุ่มบริษัท ทริพเพิล ไอ ลอจิสติกส์ กรุ๊ป (Triple I Logistics Group) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทของคนไทยที่ให้บริการด้านการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการจัดการด้านโลจิสติกส์ครบวงจร มีประสบการณ์มากว่า 10 ปี ทำให้ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่องมากกว่า 25% ต่อปี โดยเฉพาะการทำสัญญากับเฟดเอ็กซ์ ที่ให้ฮาซเคมดำเนินการขนส่งสินค้าอันตรายไปต่างประเทศ ทำให้ยอดขายก้าวกระโดดพอสมควร และฐานลูกค้าของบริษัทกว่า 90% เป็นบริษัทข้ามชาติ
"อยากจะบอกว่า การคิดดีเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำดีด้วย สารเคมีจะไม่มีการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่มีสินค้าอื่นบรรจุอยู่ และเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องปลอดภัยด้วย สินค้าอันตรายบางประเภทจะไม่รับเก็บในโกดังที่อาจเกิดอันตรายต่อพนักงาน"
สำหรับกุญแจแห่งความสำเร็จนั้น นายเฉลิมศักดิ์กล่าวว่า มีด้วยด้วยกัน 3 ปัจจัยหลักคือ 1.มีความรู้ในสินค้าเคมีอันตราย 2.การจัดระบบรักษาความปลอดภัยและ 3.ความเป็นมืออาชีพ
นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอเรชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด(EBCI) กล่าวว่า จุดแข็งของบริษัทคือ ให้คำปรึกษาและบริการแบบครบวงจรด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทำ VMI บริหารสต๊อกร่วมกับลูกค้า หรือแม้แต่ช่วยหาตลาดให้กับลูกค้าทันทีที่ลูกค้าเปิดออร์เดอร์มา บริษัทจะมีพนักงานเข้าไปดูแลงานทั้งหมดให้ ทั้งกฎระเบียบข้อบังคับ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีไทยกับประเทศต่างๆ การดำเนินการพิธีศุลกากร เป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์และเปิด L/C การดูแลการขนส่ง รถบรรทุก เครนยกสินค้า แรงงาน การเอาสินค้าเข้าคลัง ดูแลการบรรจุหีบห่อ ดูแลเทคนิคและบริการซอฟต์แวร์ที่ดีไซน์โดยบริษัทให้โดยภาพรวมในการช่วยลูกค้าลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทคือ 1.ระบบงานลูกค้าต้องมีมากกว่าความพอใจ 2.จัด พนักงานร่วมปรึกษาหารือกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3.จัดทำแผนธุรกิจ 4.การจัดอบรม ณ บริษัทลูกค้า และ 5.งานที่ทำให้ลูกค้าต้องถูกต้อง ดี ครบถ้วน
หน้า 12

ที่มา : matichon.co.th

อัพเดทล่าสุด