https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
HR Scorecard คืออะไร MUSLIMTHAIPOST

 

HR Scorecard คืออะไร


839 ผู้ชม


HR Scorecard คืออะไร




HR Scorecard เป็นระบบงาน HRM ที่เน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล HR Scorecard จึงเป็น

  • ระบบงานที่ก่อให้เกิดผลงานในระดับสูง  (The High Performance Work System)

  • ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ขององค์กร (HR System Alignment)

  • ผลของการบริหารทรัพยากรบุคคลอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ต้อง บรรลุ (HR Deliverable)

  • ประสิทธิภาพของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Efficiency)

องค์ประกอบของระบบ HR Scorecard
  • มาตรฐานความสำเร็จของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Standard for Success)

  • ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ  (Critical Success Factors)

  • มาตรวัดและตัวชี้วัดความสำเร็จ  (Measures and Indicators)

  • แผนดำเนินการ(Strategic planning)

  • การตรวจติดตาม ประเมินผล ผลการดำเนินงาน  (Evidence, Application and Reports)

 วัตถุประสงค์ของ HR Scorecard เพื่อ
  1. เพื่อพัฒนาระบบและสร้างกลไกการประเมินสมรรถนะของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล

  2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของ

  3. เพื่อสร้างกลไกความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลกับ

  4. เพื่อส่งเสริมผลประกอบการ ผลการดำเนินงานขององค์กร ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  5. เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจต่อระบบการจัดการและการดำเนินงานขององค์กร

  6. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริมความกว้าหน้าแก่บุคลากรในองค์กร

กรอบมาตรฐานความสำเร็จ 7 ด้านตามแนว HR Scorecard ได้แก่

1.    ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสอดคล้องกับยุทศาสตร์องค์กร2.    ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล3.    ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล4.    ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล5.    คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานในส่วนราชการจะใช้แค่ 5 มาตรฐาน  แต่ในส่วนเอกชนที่ผมเคยทำ มีมาตรฐานเพิ่มมาอีก 2 รายการคือ6.    ความพึงพอใจของลูกค้า

7.    ผลประกอบการขององค์การ

 

ขั้นตอนในการนำเอา HR Scorecard เข้าไปใช้ในองค์กร มีดังนี้

  1. วิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์
  2. วิเคราะห์ส่วนต่าง(ปัญหา)ของผลการปฏิบัติงานของ HR
  3. กำหนดประเด็นกลยุทธ์ทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
  4. กำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
  5. กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางด้าน HR
  6. สำรวจข้อมูลทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  7. ตั้งเป้าหมาย แผนงานรองรับ และเป้าหมายลดหลั่น
  8. ติดตามผลลัพธ์และดำเนินการปรับปรุง
  9. ประเมินผลลัพธ์และประเมินผลปฏิบัติงาน

ที่มา :  คุณ ยม : HRM HRD,Human Capital, Public-Private Management


อัพเดทล่าสุด