การจ้างลูกจ้าง เป็นอาจารย์ชาวต่างชาติ MUSLIMTHAIPOST

 

การจ้างลูกจ้าง เป็นอาจารย์ชาวต่างชาติ


663 ผู้ชม


การจ้างลูกจ้าง เป็นอาจารย์ชาวต่างชาติ




ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ที่กำหนดให้ลูกจ้างที่นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือ แต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน และยังอยู่ในระหว่างทดลองงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เมื่อถูกเลิกจ้าง ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ข้อ 7 อุทธรณ์จำเลยที่ว่าโจทก์อยู่ในระหว่าง ทดลองงาน จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ อยู่ใน ระหว่างทดลองงานหรือไม่ก็ไม่จำต้องย้อนสำนวนไป ให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี จำเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในหน้าที่ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษและงานอื่น ๆ ตามที่จำเลย จะมอบหมาย โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการขอรับใบอนุญาต ให้เป็นครูตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 39 แก่โจทก์ ระยะแรกโจทก์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ได้เนื่องจากโจทก์ ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นครู จำเลยได้ ให้โจทก์โฆษณา ให้โรงเรียนของจำเลย และจำเลยจ่ายค่าจ้าง ให้แก่โจทก์ตลอดมาแสดงว่างานที่จำเลยจ้างโจทก์ทำ ไม่ใช่ มีเฉพาะงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอันเป็นงาน ที่ต้อง ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 39 เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่จำเลยได้จ้างโจทก์ ให้ทำงาน โฆษณาให้โรงเรียนของจำเลยด้วย ซึ่งเป็นงาน ที่ไม่ห้าม คนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 แต่จะต้องรับใบอนุญาต จากอธิบดีก่อนคนต่างด้าว จึงจะทำงานดังกล่าวได้ตามมาตรา 7 โดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เป็นหน้าที่ ของจำเลย ในฐานะผู้ประสงค์จะให้โจทก์คนต่างด้าวทำงาน เป็นผู้ขอรับใบอนุญาตแทนโจทก์ ดังนั้น สัญญาจ้างโจทก์ ในส่วนที่ให้ทำงานอย่างอื่นนอกเหนือจากการเป็นอาจารย์ สอนภาษาอังกฤษจึงไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยยังคงมีสิทธิ และหน้าที่ ตามสัญญาจ้างและกฎหมายต่อโจทก์ทุกประการ

คำพิพากษาฎีกาที่ : 1380/2548

อัพเดทล่าสุด