https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ถูกยิงตายหลังสิ้นสุดสภาพการจ้างเกิน 6 เดือน แต่ส่งเงินกว่า 30 เดือนจะได้สิทธิใดหรือไม่ ?? MUSLIMTHAIPOST

 

ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ถูกยิงตายหลังสิ้นสุดสภาพการจ้างเกิน 6 เดือน แต่ส่งเงินกว่า 30 เดือนจะได้สิทธิใดหรือไม่ ??


559 ผู้ชม


ถูกยิงตายหลังสิ้นสุดสภาพการจ้างเกิน 6 เดือน แต่ส่งเงินกว่า 30 เดือนจะได้สิทธิใดหรือไม่ ??




ถูกยิงตายหลังสิ้นสุดสภาพการจ้างเกิน 6 เดือน แต่ส่งเงินกว่า 30 เดือนจะได้สิทธิใดหรือไม่ ??

    นายก้องเป็นผู้ประกันตน ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2546 เนื่องจากบริษัทได้หยุดกิจการชั่วคราว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ผู้ประกันตนได้ประสบอันตรายถูกยิงที่ศีรษะและเสียชีวิต โดยมีนางหลวย ภรรยา เป็นผู้จัดการศพ และจากการตรวจสอบเงินสบทบพบว่าผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วเกินกว่าสาวสิบเดือนในกรณีนี้ นายก้อง ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์หรือไม่ เนื่องจากผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเกิน 6 เดือน

    ตามมาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2537 กำหนดให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างซึ่งส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายแล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีตายต่อไปอีก 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ในกรณีของนายก้องสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างในวันที่ 31 มกราคม 2546 ซึ่งการนับระยะเวลาหกเดือนนั้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคมดังกล่าวมิได้ระบุเกี่ยวกับการนับระยะเวลาไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 193/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดว่า หากกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้น รวมเข้าด้วยกัน กล่าวคือมิให้นับวันแห่งกำหนดระยะเวลา แต่ให้นับวันถัดไปเป็นวันแรกและตามมาตรา 193/5 กำหนดว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทิน ดังนั้น กรณีของนายก้องผู้ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2546 จึงต้องเริ่มนับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นวันแรกแห่งระยะเวลาการคุ้มครองต่อไปอีกหกเดือน และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตในวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จึงอยู่ในระยะเวลาคุ้มครองหกเดือน ตามมาตรา 38 วรรคสอง นางหลวย ภรรยาซึ่งเป็นผู้จัดการศพของนายก้อง ผู้เป็นสามีจึงมีสิทธิได้รับค่าทำศพ ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท  

    สำหรับเงินสงเคราะห์กรณีตายนั้น ตามมาตรา 73(2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดว่าถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสบทบมาแล้วตั้งแต่สามสิบหกเดือนขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายเดือนที่คำนวณได้ตามมาตรา 57 คูณด้วยสาม กรณีของนายก้องผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วเกินสามสิบหกเดือน บุคคล มาตรา 73 (2)(ก) จึงมิสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายดังกล่าวด้วย

จาก : จดหมายข่าว ประกันสังคม


อัพเดทล่าสุด