https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 2 MUSLIMTHAIPOST

 

ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 2


1,085 ผู้ชม


ตอนจบในครั้งก่อน ผมได้นำท่านจนสามารถดึงคลิปวิดีโอที่ถ่ายไว้ จากกล้องย้ายมาอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องพีซี เรามาต่อยอดกันต่อ กับการนำเอาคลิปวิดีโอแต่ละตัว มาตัดต่อ ปรับแต่ง เสริมปรุงให้งานดูดีมีระดับ ได้ดั่งใจด้วยการใช้งานในโหมด VideoStudio Editor

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613

จัดการกับคลิปวิดีโอ

เมื่อเรานำคลิปวิดีโอเข้ามาไว้ที่ Library (Library มีตัวเลือกให้เราเลือกโหลดได้ทั้งไฟล์เสียง ไฟล์ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย) นอกเหนือไปจากการให้โหลดไฟล์วิดีโอ) เมื่อเราคลิกไปยังคลิปวิดีโอตัวที่ต้องการ ในหน้าจอ Preview จะแสดงเนื้อหาของวิดีโอนั้นให้เราได้รับชมได้

  • งานแรกของคลิปวิดีโอ ส่วนใหญ่เราจะต้องทริม (Trim) เนื้อหาของวิดีโอนั้นๆ เพื่อตัดส่วนที่เราไม่ต้องการออกไป (แต่เนื้อหาของไฟล์วิดีโอตัวจริงยังอยู่ครบเหมือนเดิม) ซึ่งมีผลเฉพาะตอนเรานำเนื้อหามาใช้ตัดต่อในโปรแกรม Ulead Video Studio การทริมคลิปวิดีโอ เราสามารถใช้การเลื่อน Trim Handles ที่อยู่ด้านหน้า และด้านหลัง เลื่อนเพื่อได้เนื้อหาตามต้องการ (เป็นแถบสีน้ำเงิน) แล้วใช้การ Play ตรวจสอบดูว่า ได้ผลตรงใจแค่ไหน หรือเราจะใช้การทริมอีกวิธีหนึ่ง คือการเลื่อน Jog Slider ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ หากต้องการเริ่มตัดตั้งแต่ตรงไหน ก็ให้ไปคลิกที่ปุ่ม Mark In และเลื่อนตัว Jog Slider ไปยังตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการตัด แล้วคลิกไปที่ปุ่ม Mark Out (จะได้ผลการเลือกที่เป็นแถบสีน้ำเงิน) (ดังรูปที่ 1)

รูปที่ 1

  • ถ้าในกรณีที่คลิปวิดีโอยาวมากๆ การเลื่อนตัว Jog Slider ไปยังตำแหน่งต่างๆ ดูแล้วค่อนข้างยุ่งยาก เราสามารถใช้การแบ่งคลิปวิดีโอออกเป็น 2 ไฟล์ได้ (แต่ไฟล์จริงยังคงเหมือนเดิมอยู่) ให้เราเลื่อนตัว Jog Slider ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นก็ไปคลิกที่ปุ่ม Cut เป็นรูปกรรไกร คลิปนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ไฟล์ทันที ดูได้ที่ Library (ดังรูปที่ 2)

รูปที่ 2

  • เมื่อเราเลือกคลิปวิดีโอไหน ตรงแท็บ Video มีตัวเลือกให้เราปรับค่าของคลิปวิดีโอนั้นอย่างมากมายครับ เช่นการปรับระดับเสียง ปิดเสียง หรือทำ Fade เสียงเข้าออก , การสั่งหมุนภาพ , ลด Speed ของการแสดงผลคลิปวิดีโอ (Playback Speed) เช่นเราต้องการทำภาพให้ Slow Motion หรือให้ภาพเดินเร็วขึ้น เหมือนหนังการ์ตูน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะสั่งให้เล่นภาพจากหลังมาหน้าแทนได้ (Reverse video) แยกเสียงออกจากไฟล์ภาพ (Split Audio) การปรับสี (Color Correction) ปรับให้ภาพสว่างขึ้น มืดลง หรือเป็นภาพสีแนว Art แนว Pop ที่ใช้การปรับแบบเลื่อนแถบสไลด์ หากเราต้องการให้ค่าแถบสไลด์กลับมายังค่าเดิมให้ดับเบิลคลิกที่แถบสไลด์เพื่อกลับคืนค่า (ดังรูปที่ 3)

รูปที่ 3

นำคลิปมาเรียงร้อยบน Timeline

ผมขอเน้นอีกทีนะครับ คำว่าคลิป เหมารวมทั้งไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพนิ่ง การเรียงร้อยวิดีโอเป็นเรื่องเป็นราว เรามักจะทำกันในโหมด Timeline ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นโหมด Storyboard ให้เราคลิกที่ปุ่ม Timeline เพื่อสลับโหมด

เมื่อเราเปิดทำงานในโหมด Timeline สังเกตดูนะครับ ลักษณะของ Timeline จะเหมือนกับโปรแกรมตัดต่อค่ายอื่นๆ คือมีหลายแทร็ก (บางท่านเรียกว่าหลายๆ ชั้น) เริ่มจากชั้นบนก่อนนะครับ เป็น Video Track สำหรับนำเอาไฟล์วิดีโอมาวางไว้, Overlay Track สำหรับใส่วิดีโอเหมือนกัน แต่เป็นลักษณะให้ไฟล์วิดีโอแสดงภาพซ้อนทับกันได้กับ Video Track ต่อมาเป็น Title Track สำหรับใส่ไตเติล ข้อความประกอบลงไปในวิดีโอ, Voice Track สำหรับอัดเสียงลงไป และ Music Track สำหรับใส่เสียงเพลงบรรเลงประกอบ
 สิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องใช้กันบ่อยๆ เพื่อดูงานบน Timeline ก็คือการใช้ปุ่ม Zoom ครับ สำหรับให้ย่อ หรือขยายดูงานที่อยู่บน Timeline (ดังรูปที่ 4)

รูปที่ 4

เมื่อเรานำคลิปมาเรียงร้อยกันบน Timeline ที่จอภาพ Preview เมื่อเราสั่ง Play จะกลายเป็นเล่นไฟล์งานที่อยู่บน Timeline แทน สังเกตง่ายๆ ข้อความตรงปุ่ม Play จะเปลี่ยนเป็นตัว Project (ตัวใหญ่กว่า) แทนที่จะเป็น Clip เหมือนกับตอนทริม การเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Timeline ไม่ต้องบอกนะครับ เราก็ใช้ตัว Jog Slider ที่อยู่บนไม้บรรทัด Timeline เลื่อนไปมา

เมื่อเราวางคลิปวิดีโอไว้บน Timeline (ดึงไล่เรียงต่อๆ กันตามลำดับได้เลย วางไปแล้วสามารถคลิกเพื่อสลับตำแหน่งก็ยังได้) ลองเลื่อนเมาส์ไปยังต้นคลิป หรือท้ายคลิป เราสามารถที่จะทริมจากตรงนี้ได้เหมือนกัน และถ้าคุณกดปุ่ม Shift ค้างไว้ จากที่เป็นการทริม (ตัวลูกศรเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว) จะกลายเป็นการเปลี่ยน Speed ได้ ถ้าเราดึงคลิปให้ยืดออกไป จะกลายเป็นการทำภาพ Slow Motion และถ้าดึงคลิปให้ย่นเข้ามา จะเป็นการทำเร่ง Speed ภาพ (ดังรูปที่ 5)

รูปที่ 5

ใส่กรอบให้วิดีโอ

จากคำถามที่หลายๆ ท่านเคยถามไถ่มา บอกว่าเห็นในไฟล์วิดีโองานแต่งงานของเพื่อน ทำไมมีกรอบรูปหัวใจแสดงได้ด้วย อยากจะบอกว่า สำหรับ Ulead Video Studio เป็นเรื่องที่ง่ายมาก โดยเฉพาะท่านที่มีแผ่นโปรแกรม Ulead Video Studio 11+ ที่อยู่ในรูปแบบแผ่นซีดี ในแผ่นที่สองมีกรอบรูปแถมมาให้มากมายครับ

  • ตรง Library ให้เลือกไปที่ Decoration -> Frame จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Load Decoration แล้วก็ไปเลือกกรอบภาพจากแผ่นโปรแกรมแผ่นสองเข้ามา (ดังรูปที่ 6)

รูปที่ 6

  • ที่ Library ในโหมด Frame เราก็ลากกรอบรูปที่ต้องการ มาวางไว้ที่แทร็ก Overlay ปรับหรือลดเวลาในการแสดงกรอบให้เท่ากับตัววิดีโอ หรือจะน้อยกว่าก็ได้ เพราะถ้าคุณอยากจะใส่กรอบหลายๆ รูปแบบก็สามารถนำกรอบตัวอื่นมาวางเรียงต่อกันไปได้เรื่อยๆ ถ้ากรอบแสดงไม่เต็มจอ คุณสามารถคลิกขวาที่ตัวกรอบจากช่อง Preview เลือกคำสั่ง Fit to Screen กรอบก็จะแสดงแบบเต็มจอให้แล้ว (ดังรูปที่ 7)

รูปที่ 7

อัพเดทล่าสุด