https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1 MUSLIMTHAIPOST

 

ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


914 ผู้ชม


โฮมวิดีโอเป็นเรื่องประทับใจสำหรับทุกๆ ท่าน แต่การถ่ายโฮมวิดีโอด้วยกล้องดิจิตอลวิดีโอ อาจจะไม่ง่ายนัก เพราะมีทั้งในส่วนที่เสีย และส่วนที่ต้องการปะปนกันอยู่ การนำไฟล์วิดีโอมาปะติดปะต่อ ปรับปรุง ตัดต่อ จัดเรียง จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613

การตัดต่อวิดีโอด้วยเครื่องพีซีทุกวันนี้ ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย ใครๆ ก็ทำได้ ไม่ต้องใช้เครื่องแพงๆ ระดับเทพ ราคาหมื่นกว่าๆ ก็สามารถตัดต่อกันได้แล้ว

ขั้นตอนการตัดต่อวิดีโอ

ก่อนอื่น เราควรเข้าใจขั้นตอนการตัดต่อวิดีโอ ว่ามีขั้นตอนเริ่มต้นและจบกันอย่างไร เพื่อให้เราสามารถแยกแยะ จัดเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน การเตรียมไฟล์ต้นฉบับ ฯลฯ ได้อย่างถูกต้อง ขั้นตอนการตัดต่อวิดีโอมีดังในรูปที่ 1 ครับ

ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูปที่ 1

เริ่มจากต้นฉบับวิดีโอ ส่วนใหญ่ก็คือกล้องดิจิตอลวิดีโอ เมื่อถ่ายวิดีโอแล้วเก็บไว้ในอะไร ในปัจจุบันนี้ก็มีเก็บไว้ในม้วนเทป MiniDV, แผ่น ดีวีดี และฮาร์ดดิสก์ ตรงจุดนี้ตอนซื้อกล้องมา ผมว่าทุกท่านรับทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะพนักงานขาย และโบรชัวร์ของกล้องที่เราซื้อมาก็บอกไว้อย่างชัดเจน

ในขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนของการนำเอาโฮมวิดีโอเข้ามาเก็บไว้ในเครื่องพีซี ในกรณีที่ใช้กล้องที่เก็บวิดีโอไว้ในม้วนเทป MiniDV เราเรียกว่า การแคปเจอร์ (Capture) การนำเข้าจะต้องผ่านทางช่อง FireWire บางเครื่องอาจจะมีช่อง FireWire มาให้พร้อม (แต่น้อยมาก) ถ้าไม่มีเราสามารถซื้อการ์ด FireWire มาเสียบติดตั้งเพิ่มเข้าไป ราคาไม่ได้แพงเหมือนแต่ก่อน ไม่เกิน 600 บาท ดังรูปที่ 2

ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูปที่ 2

แต่ถ้าเราใช้กล้องที่เก็บวิดีโอไว้ในแผ่น ดีวีดี หรือในฮาร์ดดิสก์ เราจะเรียกว่าเป็นการถ่ายโอนมากกว่า เพราะวิดีโอเป็นไฟล์อยู่แล้ว เราเพียงแค่ก๊อบปี้มาไว้ในเครื่องพีซีเท่านั้น กล้องที่เก็บวิดีโอไว้ในแผ่นดีวีดี ขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยาก เพียงนำแผ่น ดีวีดี แผ่นนั้นใส่เข้าไปในไดรฟ์ ดีวีดี ที่ติดตั้งอยู่แล้วกับเครื่องพีซี ถ้าเป็นกล้องที่เก็บวิดีโอในฮาร์ดดิสก์ ก็ไม่ยากครับ ใช้การเสียบผ่านสาย USB เข้ากับเครื่องพีซี เครื่องพีซีก็จะเห็นฮาร์ดดิสก์ในตัวกล้องเป็นไดรฟ์ๆ หนึ่ง (เหมือนกับที่เราใช้แฟลชไดรฟ์)

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการทำงานที่เครื่องพีซี ลงมือตัดต่อไฟล์ ไม่ชอบตรงไหน ชอบตรงไหน แต่งเสียง แต่งภาพ ใส่ข้อความ ซึ่งในขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำงานด้านการตัดต่อวิดีโอเฉพาะ มีให้เลือกหลายตัวครับ แต่ในบทความนี้ ผมแนะนำตัวฮิต คือ Ulead Video Studio 11 Plus

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากตัดต่อ ปรับแต่ง เสริมแต่งไฟล์วิดีโอจนได้ดั่งใจแล้ว เราจะทำโฮมวิดีโอของเราเป็นอะไรล่ะ เป็นแผ่น VCD, แผ่นดีวีดี สั่งอัดไปยังม้วนเทป MiniDV หรือสั่งให้ออกมาเป็นไฟล์วิดีโอ เพื่อนำไปเล่นกับโปรแกรมในเครื่องพีซี

คุณลักษณะของไฟล์วิดีโอ

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับมาตรฐานของไฟล์วิดีโอที่มีอยู่มากมาย ให้เลือกใช้กันจนเวียนหัว เรามาดูรายละเอียดในส่วนที่เป็นคุณลักษณะของไฟล์วิดีโอกันก่อนครับ เพราะไม่ว่าไฟล์วิดีโอนั้นจะใช้มาตรฐานอะไร ก็จะต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะพวกนี้อยู่

  1. Resolution เป็นขนาดการแสดงผลของไฟล์วิดีโอ ที่ใช้สูตรว่า ความละเอียดในแนวนอน X ความละเอียดในแนวตั้ง เช่น ไฟล์วิดีโอมาตรฐาน Vซีดี จะมี Resolution อยู่ที่ 352x288 แต่ถ้าเป็นไฟล์วิดีโอมาตรฐานดีวีดี จะมี Resolution ที่สูงกว่า อยู่ที่ 720X576 ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่า ไฟล์วิดีโอมาตรฐานดีวีดี ให้รายละเอียด และความคมชัดที่ดีกว่าแน่นอน แต่ต้องแลกมากับขนาดของไฟล์ที่ต้องใหญ่โตมากกว่า
  2. Frame rate เป็นจำนวนภาพกี่ภาพที่แสดงภายในหนึ่งวินาที โดยมีอยู่ 2 มาตรฐาน คือ ถ้าใช้กับระบบส่งสัญญาณแบบ PAL (ที่บ้านเราใช้กัน) ค่าของ Frame rate จะอยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเป็นระบบส่งสัญญาณภาพแบบ NTSC ที่ใช้ในแถวสหรัฐ ญี่ปุ่น จะอยู่ที่ 29.97 เฟรมต่อวินาที โดยที่ระบบส่งสัญญาณแบบ PAL และ NTSC มีผลกับ Resolution ด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าเป็นไฟล์วิดีโอมาตรฐานดีวีดีที่ใช้ระบบ PAL ค่าของ Resolution อยู่ที่ 720X576 แต่พอมาเป็นระบบ NTSC ปั๊บ ค่าของ Resolution จะอยู่ที่ 720X480
  3. Bit rate เป็นหน่วยวัดคุณภาพของวิดีโอ ว่าภายในเวลาหนึ่ง สามารถมีภาพได้กี่ภาพ แน่จริงกว่าแน่ ไฟล์ที่มี Bit rate สูงกว่า ย่อมได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าไฟล์ที่มี Bit rate ต่ำกว่า แต่ต้องแลกกับขนาดของไฟล์ที่ใหญ่กว่า
  4. Codec ถ้าพูดกันตามตรง ไฟล์วิดีโอที่ไม่มีการบีบอัดมาเลย ในวิดีโอความยาว 1 ชั่วโมง ใช้เนื้อที่การจัดเก็บถึง 13 กิกะไบต์ ทำให้ไม่มีแผ่นบันทึกไหนบันทึกเพื่อนำไปรับชมนอกสถานที่ได้ นอกเสียจากการรับชมจากตัวฮาร์ดดิสก์ของเครื่องพีซี

ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการบีบอัด (ตอนสร้างไฟล์) และคลาย (ตอนเล่นไฟล์) ที่ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ภาพคุณภาพสูง มีอัตราการสูญเสียคุณภาพให้น้อยมากที่สุด และต้องมีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก สามารถนำเอาไฟล์ไปบันทึกในแผ่นบันทึก เช่น ซีดี ดีวีดี ได้

แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่า ในทุกวันนี้มี Codec มากมายที่ใช้กันอยู่ ดังนั้นถ้าไฟล์นั้นถูกเข้ารหัสด้วย Codec ที่ชื่อ DivX ตอนนำไฟล์มาเล่นกับเครื่องเล่น หรือโปรแกรมในเครื่องพีซี เครื่องเล่นและโปรแกรมจะต้องมี Codec ที่ชื่อ DivX เหมือนกัน จึงจะสามารถรับชมภาพและเสียงจากไฟล์วิดีโอนั้นได้

เอาล่ะครับ ผมมีภาพตัวอย่าง การแสดงคุณลักษณะของไฟล์วิดีโอมาให้ดูครับ โดยผมโหลดโปรแกรม KMPLAYER จากเว็บ https://www.kmplayer.com/ แล้วเรียกโปรแกรมนี้ขึ้นมาทำงาน คลิ้กขวาเลือกคำสั่ง Media Info จากนั้นผมลากไฟล์วิดีโอตัวหนึ่งมาใส่ในวินโดวส์ Media Info เห็นไหมครับ มีการบอกรายละเอียดไว้อย่างครบถ้วน ดังรูปที่ 3

ตัดต่อโฮมวิดีโอเด็ดๆ ด้วย Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 3

รู้จักมาตรฐานของไฟล์วิดีโอยอดนิยม

เอาล่ะครับ ในเมื่อรู้กันไปแล้วว่า ไฟล์วิดีโอแต่ละไฟล์ต้องมีคุณลักษณะ ที่นี้คุณลักษณะที่ว่าเหล่านั้น ก่อให้เกิดไฟล์วิดีโอในมาตรฐานต่างๆ กัน วิธีหนึ่งสังเกตได้จากส่วนขยายของไฟล์ว่าเป็นไฟล์ในฟอร์แมตไหน เช่น .avi, .mpg เป็นต้น

  • ไฟล์ avi เป็นไฟล์วิดีโอมาตรฐานเก่าแก่ เป็นไฟล์วิดีโอที่มีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าชาวบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ ลำพังดูแค่ว่าส่วนขยายไฟล์เป็น .avi ไม่ได้เสียแล้ว เพราะไฟล์ .avi ที่ใช้ Codec ใหม่ๆ ยอดนิยมอย่าง DivX , XviD ก็มีส่วนขยายไฟล์เป็น .avi เหมือนกัน หลายๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า ทำไมเป็นไฟล์ .avi ที่เครื่องแล้วไม่เห็นมีภาพ คำตอบก็คือ ไฟล์ .avi ตัวนั้นไม่ใช่ไฟล์ .avi มาตรฐาน แต่เป็นไฟล์ DIVX หรือ XVID นั่นเอง
  • ไฟล์ MPEG (Motion Picture Experts Group) เป็นไฟล์วิดีโอที่ผ่านการบีบอัด ลดทอนคุณภาพ เพื่อให้สามารถนำเอามาเขียนใส่แผ่น ซีดี ถ้านำมาเขียนใส่แผ่น ซีดี เราจะใช้ไฟล์ MPEG ในมาตรฐาน MPEG-1 แต่ถ้าต้องการนำมาเขียนเป็นแผ่น ดีวีดี ต้องใช้ไฟล์ MPEG มาตรฐาน MPEG-2

ในตารางด้านล่างนี้ เป็นมาตรฐานการใช้ไฟล์ฟอร์แมต MPEG เพื่อใช้สำหรับเขียนแผ่นซีดี หรือดีวีดี

   ทำแผ่น VCD  ทำแผ่น DVD
 Resolution สำหรับ PAL  352 x 288  720 x 576
 Resolution สำหรับ NTSC  352 x 240  720 x 480
 Bit Rate สำหรับภาพ  MPEG-1 คงที่ 1.15 Mb/s  MPEG-2 แปรผันได้ถึง 9.6 Mb/s
 Bit Rate สำหรับเสียง  MPEG-1 คงที่ 224 kbps  MPEG-2 แปรผันได้ถึง 912 kbps
 คุณภาพงานที่ได้  พอใช้  ดี

ไฟล์มาตรฐาน MPEG ไม่ได้มีแค่ MPEG-1 และ MPEG-2 แต่ที่กำลังฮิตสุดๆ ตอนนี้ คือ MPEG-4 ที่พัฒนาให้มีการบีบอัดที่ดีกว่าเดิม คุณภาพที่ได้ดีที่สุด ขนาดของไฟล์ที่ได้ไม่ใหญ่มาก โดยที่สายพันธุ์ของ MPEG-4 ที่พูดไปก่อนหน้านี้ ก็คือ DivX , XviD เกจิทั้งหลาย มักเรียก DivX ว่าเป็น “the MP3 of video” เป็นการเปรียบมวยว่า ไฟล์เพลง MP3 ที่ขนาดไฟล์น้อยกว่าไฟล์ออดิโอถึง 10 เท่าแต่ให้คุณภาพที่เกือบเท่ากัน DivX ก็เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ resolution ที่ 640x480 สามารถเก็บความยาวของวิดีโอได้ถึง 80-90 นาที โดยให้คุณภาพคมชัดเท่ากับดีวีดี และยังให้คุณภาพเสียงที่ดีคือ 48kHz , 96 kBits แบบสเตอริโอ

  • ไฟล์ฟอร์แมต QuickTime จัดว่าเป็นพวก MPEG-4 โดยพัฒนาจากค่าย Apple
  • ไฟล์ฟอร์แมต ReadMedia จัดว่าเป็นพวก MPEG-4 โดยพัฒนาจากค่าย RealMedia
  • ไฟล์ฟอร์แมต WMV จัดว่าเป็นพวก MPEG-4 โดยพัฒนาจากค่ายไมโครซอฟท์ โดยในตอนนี้เป็นการเข้ารหัสโดยใช้ Windows Media 9 Series

การต่อสาย FireWire จากกล้องไปยังการ์ด FireWire

จะพูดได้ว่าเป็นการลำเอียงตัวโฮมวิดีโอจากกล้องที่ใช้ม้วนเทป MiniDV ในการบันทึก โดยที่เครื่องพีซีจะต้องมีการ์ด FireWire อยู่พร้อมแล้ว จากนั้นเราก็ทำการเสียบสาย FireWire จากช่องที่ตัวกล้องวิดีโอ มาเข้ากับช่องที่การ์ดบนตัวพีซี โดยที่ตัวกล้องให้เปิดการทำงานไปยังโหมดการเล่นวิดีโอ จะทำให้ตัววินโดวส์รู้จักกับตัวกล้องและพร้อมที่จะลำเลียงโฮมวิดีโอมาเก็บไว้ที่เครื่องพีซี

สายของ FireWire ด้านที่นำมาเสียบกับช่อง FireWire ที่เครื่องพีซี จะเป็นหัวใหญ่ ส่วนอีกด้านจะเป็นหัวเล็ก ให้นำไปเสียบเข้ากับช่อง FireWire ที่ตัวกล้องวิดีโอ (ดูรูปที่ 2 ประกอบ) หรือบางที่อาจจะเป็นหัวเล็กทั้งสองด้านก็ได้

ผมลืมบอกไปว่า ไฟล์วิดีโอที่ถ่ายด้วยกล้อง MiniDV เราจะต้องเตรียมพื้นที่ในไดรฟ์ โดยเฉลี่ยความยาววิดีโอที่ถ่าย 1 ชั่วโมง จะใช้เนื้อที่ 13 กิกะไบต์ และเราจำเป็นต้องใช้ไดรฟ์ที่ถูกฟอร์แมตให้ใช้ไฟล์ระบบแบบ NTFS ด้วยเหตุผลที่ว่า ทำให้สามารถเก็บไฟล์ในขนาดที่เกิน 4 กิกะไบต์ ได้ เพราะถ้าใช้ไดรฟ์ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32 จะมีปัญหาไม่สามารถจัดเก็บไฟล์วิดีโอลงไปได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดการจัดเก็บไฟล์เกินกว่า 4 กิกะไบต์ ไม่ได้

อัพเดทล่าสุด