https://e-learning.iainponorogo.ac.id/favourites/
เครื่องวัดความดัน(โลหิต) ซื้อมาใช้เองดีไหม MUSLIMTHAIPOST

 

เครื่องวัดความดัน(โลหิต) ซื้อมาใช้เองดีไหม


840 ผู้ชม


เครื่องวัดความดัน(โลหิต) ซื้อมาใช้เองดีไหม

เครื่องวัดความดัน(โลหิต) ซื้อมาใช้เองดีไหม


          ยุคนี้ผู้คนนิยมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง นัยว่าป้องกันความเสี่ยงทั้งหลายก่อนที่จะเกิดปัญหาสุขภาพแบบชุดใหญ่ หลายคนอาจจะคิดอยากหาเครื่องมือวัดความดันโลหิตมาไว้ใช้เองที่บ้านและ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การ แพทย์บริเวณใกล้ๆ โรงพยาบาลหรือแม้แต่ร้านค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท
          ฉลาดซื้อเคยลงผลการทดสอบเครื่องวัดความดันทั้งแบบข้อมือและต้นแขน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ(ICRT) ได้ทำไว้ทั้งหมด 22 รุ่น หลายๆ รุ่นยังไม่พบเห็นในตลาดบ้านเรา แต่ถ้าดูจากยี่ห้อก็พอจะเคยได้เห็นหรือได้ยินมาบ้าง สนนราคาโดยประมาณก็มีตั้งแต่600 ถึง6,000 บาท
          ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องประสิทธิภาพ ก่อนอื่นหากคิดจะซื้อต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานของการวัดความดันเสียก่อน ในปัจจุบันค่าการตรวจวัดความดันโลหิตบ้านเราใช้หลักของอเมริกา คือ
         
ถ้าความดันน้อยกว่า 120/80 ถือว่าปกติ ควรวัดซ้ำทุก 2 ปี
          ถ้าความดัน 120-139/80-89 ถือว่าไม่เป็นโรค แต่เกือบๆ จึงควรวัดซ้ำทุก 1 ปี
          ถ้าความดันมากกว่า 140/90 ถือว่าเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์และต้องวัดซ้ำภายใน 2 เดือน

          ดังนั้นถ้าเราไม่เป็นโรค ก็ไม่จำเป็นต้องวัดบ่อยๆ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่อง   
          แต่หากเป็นโรคแล้วข้อดีของการมีเครื่องวัดคือ ทำให้เราใส่ใจความดันตัวเองและกินยาสม่ำเสมอ นอกจากนี้บางคนเวลาไปวัดความดันที่สถานพยาบาลความดันจะสูงเกิน จริง(whitecoat hypertension) ทำให้หลงรักษาผิดทาง แต่พอวัดที่บ้านกลับไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย


เครื่องวัดความดัน(โลหิต) ซื้อมาใช้เองดีไหม


        ถ้าจะถามว่าแบบไหนดีจริงๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะข้อเท็จจริงความดันโลหิตเราวัดทางอ้อม(ถ้าวัดทางตรงต้องแทงแท่งวัดเข้า ไปในเส้นเลือด) และเดิมใช้เครื่องวัดปรอทเป็นหลัก วัดตรงตำแหน่งต้นแขนเหนือข้อพับ เพราะในท่ายืนหรือนั่งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหัวใจ ดังนั้นข้อมูลการวิจัยเกือบทั้งหมดใช้การวัดเหนือข้อพับและที่สถานพยาบาลก็ ใช้วิธีเดียวกัน หากเราใช้ต่างวิธีอาจได้ค่าที่ไม่เหมือนกันหรือไม่ควรนำค่ามาเปรียบเทียบกัน เพราะแม้แต่วัดที่เดียวกันหลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน ยิ่งคนละที่ยิ่งไปกันใหญ่วัดข้างขวามักจะสูงกว่าวัดข้างซ้ายเหล่านี้เป็นต้น
          ดังนั้นโดยมาตรฐานแล้ววัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก แต่เครื่องวัดที่ข้อมือก็พยายามเทียบให้ได้ค่าใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่นับเป็นมาตรฐานและที่สำคัญถึงวัดที่ข้อมือ เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกัน
          ไม่ได้สรุปว่าวัดที่ต้นแขนดีกว่า แต่เป็นมาตรฐานกว่าเท่านั้น


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากวารสารฉลาดซื้อ


อัพเดทล่าสุด