สารดูดความชื้นในซองอาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

สารดูดความชื้นในซองอาหาร


913 ผู้ชม


สารดูดความชื้นในซองอาหาร

สารดูดความชื้นในซองอาหาร


อะไรเอ่ย เม็ดเล็ก ๆ กลม ๆ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มักพบในซองขนม หรืออาหาร
          เฉลย “สารดูดความชื้น”
          ทำไม ? ในซองขนม กระป๋องลูกอมหรือถุงอาหารรับประทานเล่นถึงมี“สารดูดความชื้น” อยู่ในนั้น
          โดยทั่วไปมักพบ “สารดูดความชื้น” ในหีบห่อสินค้า หรืออาหารประเภทขนมบรรจุห่อสารดูดความชื้นนั้นมีหลายประเภท แต่ที่นิยมให้กันมากคือ “ซิลิก้าเจล” ซึ่งสกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีหลายสี
สารดูดความชื้นในซองอาหาร
          “ความชื้น” นั้นก่อปัญหาให้แก่สินค้าหลายประเภท เช่น

               “ยา” หากได้ความชื้นจะทำให้มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป
               “เฟอร์นิเจอร์เครื่องหนัง” เมื่อได้รับความชื้นจะทำให้เสียรูปทรง และทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
               “อาหาร” ที่ต้องการรักษาสภาพความกรอบหากได้รับความชื้นคุณสมบัติข้อนี้จะสูญเสียไป
          ทั้งนี้แม้ “สารดูดความชื้น” จะมีประโยชน์แก่อุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ผู้ที่ใช้สารดูดความชื้นนี้กับสินค้าของตน ก็ต้องบรรจุสารดูดความชื้นในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และต้องมีข้อความแสดงว่า “ห้ามรับประทาน” ปรากฏอยู่ด้วย แม้จะมีข้อความห้ามรับประทานระบุไว้ ผู้บริโภค ก็ยังต้องพึงระวัง เนื่องจากผู้บริโภคที่เป็นเด็กเล็ก ๆ มักจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยอาจลองรับประทานหรือนำมาเล่น โดยไม่รู้ถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้น


สารดูดความชื้นในซองอาหาร


          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ปกครองรายหนึ่งซึ่งบุตรของผู้ร้องเรียนวัยเพียง ขวบเศษถูก “สารดูดความชื้น” ที่เด็กแถวบ้านนำซอง“สารดูดความชื้น” ที่อยู่ในถุงขนมมาปาเล่นกัน แล้วซองบรรจุสารดูดความชื้นแตก “ซิลิก้า เจล”ที่บรรจุในซองกระเด็นเข้าไปในตาของบุตร ผู้ร้องเรียนซึ่งนั่งเล่นอยู่ที่บริเวณใกล้เคียง เด็กน้อยร้องไห้และเจ็บนัยน์ตามาก เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์แจ้งว่าตาข้างที่ถูกสารดูดความชื้นกระเด็นเข้าไปนั้นบอดไม่สามารถรักษา ได้ทันโดยแพทย์ชี้แจงในเบื้องต้นว่า “สารดูดความชื้น” นั้นเข้าไปทำปฏิกิริยากับดวงตา (โดยในตาจะมีนา หล่อเลี้ยง) เป็นผลให้ตาข้างซ้ายบอดความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีนี้จัดว่ารุนแรงมากใน ขณะที่สังคมไม่ได้ให้ความสำคัญหรือมีการเตือนภัยที่รัดกุมกว่านี้


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)


อัพเดทล่าสุด