https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ประวัติผู้แต่งอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง สรุปอิเหนา ตัวละครในเรื่องอิเหนา MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติผู้แต่งอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง สรุปอิเหนา ตัวละครในเรื่องอิเหนา


43,624 ผู้ชม


           พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงประสูติริมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า “ฉิม”
พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
กับกรม สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกเป็นหลวงยกพระบัตรเมืองราชบุร


ี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง
พระราชวงศ์จักรี ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระชนมายุ 16 พรรษา
พระราชบิดาจึงโปรดสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศราสุนทร
ครั้งมี่พระชนมายุสมควรที่จะได้รับการอุปสมบท พระราชบิดาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบท
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย
           ตลอดรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โ

ดยเสด็จพระราชบิดา
ไปในการสงครามทุกครั้ง เมื่อพระชนมายุได้ 41 พรรษา พระราชบิดาได้ทรงสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็น
“พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ดำรงพระเกียรติยศเป็น พระมหาอุปราช อยู่ 3 ปี
ครั้งถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย
์นับเป็นองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนาม่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย”
ทรงครองราชย์อยู่ 15 ปี ครังถึงปี พ.ศ. 2367 ได้เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ 56 พรรษา กับ 5 เดือน


           พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้รูป ครุฑ
(ฉิมพลี เป็นชื่อวิมานพญาครุฑ ซึ่งพร้องกับชื่อเดิมของพระองค์ท่านว่า “ฉิม”)

-------------
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แด่ง ; พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะคำประพันธ์ ; กลอนบทละคร


เนื้อเรื่องโดยย่อ ; สรุปอิเหนา


ท้าวกะหมังกุหนิงกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อ  วิหยาสะกำ  ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า  องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้  เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง   ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางคือบุษบา  ธิดาท้าวดาหาที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว   แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำแต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา                    ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย)  ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย)  และจรกาให้ยกทัพมาช่วยกันรบป้องกันเมืองดาหา                   

เมื่อท้าวกุเรปันได้รับข่าวแล้วจึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่อยู่เมืองหมันหยา(เมืองจินตหรา) อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกรธเลยต้องไป  ในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่)  ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะแต่ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องขึ้นมาอิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปเฝ้าท้าวดาหา                   

ในที่สุดเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้ดาหาทำให้เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา  ในที่สุดสังคามาระตาก็เป็นผู้ฆ่าวิหยาสะกำ  ส่วนอิเหนาเป็นผู้ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา
                               

หลังจากนั้นท้าวปาหยันกับท้าวประหมัน (พี่กับน้องของท้าวกะหมังกุหนิง)   ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออิเหนา   อิเหนาจึงอนุญาตให้ระตูนำพระศพของทั้งสองกลับไปทำพิธีตามพระราชประเพณี
คำศัพท์ ;
ตุนาหงัน = คู่หมั้น
บุหรง = นกยูง
บุหลัน = พระจันทร์
ปะตาระกาหรา = เทวดาประจำวงศ์เทวัญ 
ระเด่น  เป็นคำนำหน้ากษัตริย์เมืองใหญ่
ระตู เป็นคำนำหน้ากษัตริย์เมืองเล็ก

อัพเดทล่าสุด