https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ภาษาไทยน่ารู้ : คำย่อ และอักษรย่อ คืออะไร การย่อคำให้ถูกต้อง ตัวอย่างการย่อคำย่อ MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาไทยน่ารู้ : คำย่อ และอักษรย่อ คืออะไร การย่อคำให้ถูกต้อง ตัวอย่างการย่อคำย่อ


6,173 ผู้ชม

คำย่อ และอักษรย่อ


คำย่อ และอักษรย่อ

คำย่อ และอักษรย่อ
คำย่อ เป็นการย่อคำให้สั้นลง
อักษรย่อ เป็นการย่อโดยใช้พยัญชนะต้นของพยางค์หรือคำ เพื่อย่อคำหรือกลุ่มคำให้สั้นลง

คำย่อ และอักษรย่อช่วยให้ถ้อยคำสั้นลง จึงนิยมใช้เพราะสะดวกในการสื่อสาร เเละเมื่อ่านต้องอ่านเต็มคำ การเขียนอักษรย่อให้ใช้เครื่อวหมายมหัพภาค ( . ) ตามหลังอักษรย่อแต่ละตัวหรือคำ เเต่ก็มีชื่อเฉพาะบางแห่งที่นิยมใส่จุดเดียวท้ายอักษรย่อทั้งชุด การย่อคำมีหลายลักษณะ ดังนี้

๑.  ย่อคำโดยใช้พยัญชนะตัวแรกของคำเป็นอักษรย่อ เเล้วใส่เครื่องหมาย มหัพภาค เช่น
      ซอย (ซ.)           ถนน (ถ.)          อำเภอ (อ.)           นาฬิกา (น.)           เฮลิคอปเตอร์ (ฮ.)           มหาวิทยาลัย (ม.)
๒.  ย่อคำโดยใช้พยัญชนะต้นของบางพยางค์ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาคท้ายพยัญชนะต้นเเต่ละตัว เช่น
      มกราคม (ม.ค.)     พุทธศักราช (พ.ศ.)     นางสาว (น.ส.)      เด็กชาย (ด.ช.)     โรงเรียน (ร.ร.)      โรงพยาบาล (ร.พ.)
๓.  ย่อคำโดยใช้พยัญชนะต้นของบางพยางค์ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาคท้ายอักษรย่อตัวสุดท้าย เช่น
      กิโลเมตร (กม.)    นายอำเภอ (นอภ.)    ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.)    องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)    คณะรัฐมนตรี (ครม.)
๔.  ย่อคำโดยใช้พยางค์เเรกของคำเป้ฯอักษรย่อแล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค เช่น
      สันธาน (สัน.)       โทรศัพท์ (โทร.)        นิบาต (นิ.)
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด