ยาที่ใช้รักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ด้วย สมุนไพรรักษาโรคกรวยไตอักเสบ โดยเฉพาะ MUSLIMTHAIPOST

 

ยาที่ใช้รักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ด้วย สมุนไพรรักษาโรคกรวยไตอักเสบ โดยเฉพาะ


5,961 ผู้ชม


อาการขัดเบา
อาการปัสสาวะลำบาก จำนวนปัสสาวะแต่ละครั้งน้อย ปัสสาวะบ่อยหรือปวดแต่ปัสสาวะไม่ออก ในบางโรคมีอาการปวดท้องน้อย เสียงหรือปัสสาวะขุ่นขาวขุ่นแดงร่วมด้วย สาเหตุของอาการขัดเบามีมาก เช่น หนองใน หนองในเทียม กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่ว ต่อมลูกหมากโต หรือดื่มน้ำน้อย เป็นต้น
 นิ่ว
ก้อนนิ่วแบ่งตามชนิดของสาร เคมีที่มีหลายชนิด ที่พบมาก ได้แก่ นิ่งที่เกิดจากหินปูน นิ่วที่เกิดจากกรดยูริค ซึ่งพบว่า 75-85 % ของผู้ป่วยโรคนิ่วเป็นนิ่วหินปูน ขณะที่นิ่วกรดยูริคพบในผู้ป่วย 5-8 % เท่านั้น
นิ่วหินปูน พบมากทางภาคเหนือและอีสาน ผู้ป่วยเป็นชายมากกว่าหญิง ช่วงอายุของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 30-40 ปี สาเหตุเกิดจากน้ำที่ใช้ดื่มเป็นน้ำกระด้าง ทั้งปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันน้อย กินอาหารที่มีแคลเซียมหรือออกซาเลตสูงเป็นประจำ ขาดสารฟอสเฟตซึ่งมีมากในอาหารพวกโปรตีนหรือต่อมพาราทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป
นิ่วกรดยูริค พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเช่นกัน ประมาณ 50 % ของผู้ป่วย เป็นโรคเก๊าท์หรือมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเก๊าท์
ทั้งนิ่วหินปูนและนิ่วกรดยูริคเกิดขึ้นได้ทั้งในไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีอาการขัดเบา ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปวดเบ่งเหมือนยังถ่ายปัสสาวะไม่หมด บางครั้งปัสสาวะสะดุด และออกมาเป็นหยด อาจมีปัสสาวะขุ่นแดงหรือขุ่นขาว หรือพบว่ามีก้อนนิ่วหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะ ถ้าก้อนนิ่วอุดตันในท่อปัสสาวะ จะทำให้ปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก ถ้าไม่รักษาอาจลุกลามต่อไปเป็นโรคกรวยไตอักเสบและไตวายได้
นิ่วในไต ไม่มีอาการขัดเบา แต่จะปวดท้องด้านใดด้านหนึ่งอย่างรุนแรง ปวดบิดเป็นพักๆและปวดร้าวไปที่หลัง ต้นขาด้านในด้านเดียวกับท้องน้อยที่ปวด ปัสสาวะใสหรือบางครั้งขุ่นแดงในกรณีนิ่วก้อนโตหลุดเองไม่ได้ ต้องผ่าตัด แต่ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้มีอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะและไตวายได้ เช่นกัน
ถ้าสงสัยว่าเป็นนิ่ว มีอาการปวดท้องดังกล่าว แต่ปวดไม่มาก ให้ดูแลตนเองก่อนดังนี้
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ให้ถ่ายปัสสาวะลงกระโถน สังเกตว่าก้อนนิ่วหลุดมาหรือไม่ โดยเฉพาะนิ่วในไต อาการปวดท้องจะหายทันทีเมื่อนิ่วหลุด แต่อาจมีก้อนใหม่ทำให้ปวดใหม่ได้อีก
3. กินยาแก้ปวดประเภทคลายกล้ามเนือ้เรียบ ซึ่งควรซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำ
4. ถ้าอาการปวดมีมาก หรือกินยาแล้วไม่ทุเลาภายใน 6 ชั่วโมง หรือปวดซ้ำอีกควรส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกันนิ่ว
1. ดื่มน้ำวันละมากๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร
2. กินอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณพอควร ไม่น้อยจนเกินไป
3. สำหรับประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นที่มีอัตราในการเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสูง หรือเคยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ควรงดหรือลดการกินผักที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ผักแพว ผักโขม ช้าพลู ใบมันสำปะหลัง ผักเสม็ด หน่อไม้ ผักกระโดน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ อาการที่พบจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยและถ่ายออกครั้งละน้อย ขัดเบา แสบ และเจ็บเสียวช่วงใกล้ปัสสาวะเสร็จ ปัสสาวะอาจขุ่นและเหม็น ถ้าเป็นมากปัสสาวะจะเป็นเลือด โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะสั้น เชื้อผ่านเข้าง่าย สาเหตุเกิดจากการกลั้นปัสสาวะหรือเกิดหลังร่วมเพศ เป็นต้น โรคนี้มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี อาจลุกลามไปเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้
การรักษา
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
การป้องกัน
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
3. การอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายทุกครั้ง ควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนทางทวารหนัก
สมุนไพรขับปัสสาวะเป็น สมุนไพรที่ทำให้จำนวนน้ำที่ขับออกมาจากร่างกายเพิ่มขึ้นมักนำมาใช้กับอาหาร ที่ไม่รุนแรง ซึ่งเกิดจากสาเหตุดังนี้ คือ นิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์แผนปัจจุบันและไม่ต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัด สมุนไพรขับปัสสาวะจะเพิ่มจำนวนปัสสาวะ ทำให้นิ่วขนาดเล็กหลุดออกมา อาจมีผลในการละลายก้อนนิ่วที่มีอยู่ได้บ้าง ฉะนั้นผู้ป่วยโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ โดยเฉพาะนิ่วที่อุดตันทางเดินปัสสาวะบริเวณใดบริเวณหนึ่งไว้ ไม่ควรใช้สมุนไพรขับปัสสาวะ เนื่องจากจำนวนปัสสาวะที่เพิ่มไม่สามารถผ่านส่วนที่อุดตันลงมาได้ ในทางตรงกันข้ามจะทำให้แรงดันในไตหรือทางเดินปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น อาการปวดจะเพิ่มขึ้นและอาจเกิดอันตรายได้ ส่วนอาการขัดเบาที่เกิดจากเนื้อไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อกามโรคบางชนิด เช่น หนองใน ไม่จำเป็นต้องใช้สมุนไพรจำพวกนี้ ควรรักษาที่สาเหตุคือ ใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ สมุนไพรขับปัสสาวะส่วนใหญ่ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ข้อควรระวังสำหรับการใช้สมุนไพรขับปัสสาวะ คือ สมุนไพรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักมีเกลือโปตัสเซียมหรือโซเดียมค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและสตรีมีครรภ์
สมุนไพรในกลุ่มนี้ ได้แก่
กระเจี๊ยบ ใช้ผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) รินเฉพาะส่วนใส ดื่มจนหมดวันละ 3 ครั้ง
ข้อควรระวัง น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ระบาย อาจทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบมีอาการท้องเสียได้เล็กน้อย
ขลู่ ใช้ ต้นสดหรือแห้งทั้งต้น วันละ 1 กำมือ (สด หนักประมาณ 40-50 กรัม ถ้าแห้งหนักประมาณ 15-20 กรัม) ต้มกับน้ำ แบ่งดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง
ชุมเห็ดไทย เมล็ดชุมเห็ดไทยมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์ระบาย แม้ขนาดที่ใช้เป็นยาขับปัสสาวะจะน้อยกว่าขนาดที่ใช้เป็นยาระบาย พบว่าบางคนอาจมีอาการท้องเสียร่วมกับฤทธิ์ขับปัสสาวะได้
ตะไคร้ ใช้ ต้นสด วันละ 1 กำมือ หหรือหนัก 40-60 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้า ฝ่าเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเฉพาะส่วนใสดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา
หญ้าคา ใช้รากและเหง้าสดหรือแห้ง วันละ 1 กำมือ (พืชสดหนัก 40-50 กรัม พืชแห้งหนัก 10-15 กรัม) ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (250 มิลลิลิตร) แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
หญ้าหนวดแมว ใช้ใบและก้านแห้ง ครั้งละ 1 หยิบมือ (4-5 กรัม) ต้มกับน้ำ 1 ขวดน้ำปลา (750 มิลิลิตร) โดยต้มน้ำให้เดือด ใส้หญ้าหนวดแมวแล้วยกหม้อลงจากเตา ปิดฝาหม้อทิ้งไว้ 15-20 นาที รินเฉพาะส่วนใสดื่ม
ข้อควรระวัง
1. ในการปรุงยา ไม่ควรต้มเคี่ยว จะทำให้กลิ่น รส ไม่ดี ถ้าต้มข้นเกินไปจะมีรสขม ทั้งยังทำให้ผุ้ดื่มได้รับยามากกว่าปกติ อาจมีอาการมึนงง คลื่นไส้ เหนื่อย หายใจผิดปกติ ชีพจรเต้นผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจควรระวังให้มากกว่าเป็นพิเศษ
2. อาจใช้ใบหรือต้นสดต้มกินก็ได้ แต่รสชาติจะเหม็นเขียว จะมีรายงานว่าผู้ที่เคยใช้หญ้าหนวดแมวสดหลายราย รู้สึกคลื่นไส้และใจสั่น ฉะนั้นควรใช้ใบที่ตากแดดจนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งนอกจากจะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวแล้ว น้ำยาจะมีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย
3. ควรปลูกและเก็บไว้ใช้เอง เพราะหญ้าหนวดแมวแห้งที่ซื้อจากร้านขายยานั้นมักจะมีใบน้อยแต่มีต้นแก่ปนมา มาก และส่วนใหญ่ใบแก่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง
4. ภายหลังดื่มยาอาจเกิดอาหารระคายคอเล็กน้อย
อ้อยแดง ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง วันละ 1 กำมือ (ลำต้นสดหนัก 70-90 กรัม หรือใช้ลำต้นแห้งหนัก 30-40 กรัม) สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำจะได้ยารสขมๆหวานๆ แบ่งดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา ( 75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง
ที่มา   www.samunpri.com

อัพเดทล่าสุด