ไฟแนนซ์ เรื่องน่ารู้ เกณฑ์การจัดไฟแนนซ์ บ้าน รถยนต์ MUSLIMTHAIPOST

 

ไฟแนนซ์ เรื่องน่ารู้ เกณฑ์การจัดไฟแนนซ์ บ้าน รถยนต์


849 ผู้ชม

การจัดไฟแนนซ์ หรือการเช่าซื้อเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว โดยจะใช้กับทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น


การจัดไฟแนนซ์

ไฟแนนซ์ เรื่องน่ารู้ เกณฑ์การจัดไฟแนนซ์  บ้าน รถยนต์


การจัดไฟแนนซ์ หรือการเช่าซื้อเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว โดยจะใช้กับทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเช่าซื้อประเภทนี้เกิดขึ้นมาก มาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ

การจัดไฟแนนซ์เช่าซื้อรถยนต์มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. การเช่าซื้อรถยนต์ใหม่จากตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
2. การเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่ารถมือสอง

สำหรับการซื้อรถยนต์ใหม่จากตัวแทนจำหน่ายทั่วไปแล้ว ทางตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้จัดหาบริษัทรับเช่าซื้อให้แก่ลูกค้าที่ต้องการจะ ซื้อรถอยู่แล้ว และถ้าเป็นการซื้อรถมือสอง ผู้ซื้ออาจจะต้องติดต่อกับทางบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์เอง หรืออาจจะขอให้ทางเต๊นท์ที่ขายรถยนต์ทั่วไปจัดการจัดไฟแนนซ์ให้ ซึ่งก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อความสะดวก

ขั้นตอนในการจัดไฟแนนซ์รถยนต์
1. ติดต่อผู้ขายรถยนต์ และบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์
2. ทางบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์ จะมีพนักงานตลาดทำรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เช่าซื้อ เพื่อจัดส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครดิต หรือเช็กเกอร์ของบริษัทไฟแนนซ์ตรวจสอบ
3. ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครดิตจะส่งให้ทางบริษัทพิจารณาอนุมัติ
4. เมื่อผลการพิจารณาว่าเครดิตผ่านแล้ว ทางบริษัทก็จะอนุมัติให้ผู้ซื้อ สามารถเช่าซื้อรถยนต์ได้ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ใช้เวลาประมาณไม่เกิน 7 วัน

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการเช่าซื้อ
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เช่าซื้อ
3. เอกสารจากผู้ค้ำประกัน หนังสือค้ำประกัน
4. สัญญาเช่าซื้อ
5. เอกสารประกอบสัญญาเช่าซื้อ

ในการเช่าซื้อรถนั้น ในบางครั้งเมื่อผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระเงินค่างวดตามกำหนดสัญญาได้ ทางบริษัทอาจจะส่งเจ้าหน้าที่ หรือเอกสารมาเพื่อเตือนการชำระเงินค่างวด และถ้าหากยังไม่ชำระตามที่บริษัทได้แจ้ง ก็อาจจะมีการส่งเจ้าหน้าที่มาทำการยึดรถ ซึ่งนอกจากกรณีนี้แล้วทางบริษัทไฟแนนซ์อาจจะทารยึดรถได้ในกรณีต่อไปนี้
1. ขายรถยนต์ไปโดยมิแจ้งให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ทราบ และมีการค้างค่างวดไว้
2. ผู้ค้ำประกันมีการติดต่อขอถอนค้ำประกัน
3.

ผู้เช่าซื้อมีการย้ายภูมิลำเนาโดยมิได้แจ้งให้บริษัทไฟแนนซ์ทราบ


ไฟแนนซ์ , ไฟแนนซ์ บ้าน , ไฟแนนซ์ รถยนต์ , การจัดไฟแนนซ์ , เกณฑ์การจัดไฟแนนซ์

ที่มา : https://www.deeteesood.com

อัพเดทล่าสุด