โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ


1,056 ผู้ชม


โดย : โรงพยาบาลกรุงเทพพระประแดง
อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เริ่มแรกมักมีปัญหาเรื่องความจำ บางคนมีปัญหาในการนึกคำศัพท์ที่จะพูด, ในกรณีที่อาการเป็นมากขึ้นจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การทำงาน, การดูแลบ้าน, การทำอาหาร, การขับรถ, การเดินทาง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางด้านภาษา...
โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

  1. อาการของโรคอัลไซเมอร์
  2. อัลไซเมอร์เกิดจากอะไร
  3. โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  4. การรักษาโรคอัลไซเมอร์
  5. อาหารกับอัลไซเมอร์
  6. วัคซีนกับอัลไซเมอร์
  1. อัลไซเมอร์คืออะไร

    ตอบ. จริงๆ แล้วอัลไซเมอร์เป็นชื่อของจิตแพทย์ และ พยาธิแพทย์ชาวเยอรมันค่ะ ชื่อเต็มคือ Alois Alzheimer (1864-1915), นพ.อัลไซเมอร์ ได้อธิบายอาการ และพยาธิวิทยาทางสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คนแรก คือ นาง Auguste D ในที่ประชุมจิตแพทย์เยอรมัน ปี ค.ศ.1906 หลังจากนั้นนพ. Kraepelin ได้มีการบรรยายกลุ่มอาการ และพยาธิวิทยาดังกล่าวในหนังสือ psychiatrie ปี 1910 และให้ชื่ออาการดังกล่าวคือ โรคอัลไซเมอร์

  2. อาการของโรคอัลไซเมอร์

    ตอบ. อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เริ่มแรกมักมีปัญหาเรื่องความจำ บางคนมีปัญหาในการนึกคำศัพท์ที่จะพูด, ในกรณีที่อาการเป็นมากขึ้นจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การทำงาน, การดูแลบ้าน, การทำอาหาร, การขับรถ, การเดินทาง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางด้านภาษา นึกคำพูดไม่ออก หรือตอบแบบอ้อมค้อมไม่ตรงคำถาม ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเรื่องหลงทาง รวมถึงยังพบปัญหาทางด้านพฤติกรรม และอารมณ์ได้ด้วย เช่น การหลงผิด, ระแวง, เห็นภาพหลอน, ก้าวร้าว, ซึมเศร้า
    ในระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่พูด แขนขาเกร็ง ในบางรายอาจพบอาการชักร่วมด้วย

  3. อัลไซเมอร์เกิดจากอะไร
    ตอบ.
     ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่ามี
    ความผิดปกติของการจับตัวของโปรตีน 2 ชนิดในสมอง คือ Aβ42amyloid โปรตีนและ Tau โปรตีน รวมถึงยังพบว่ามีความผิดปกติของสารสื่อประสาทหลายชนิดโดยเฉพาะ สารอะซีติลโคลีนที่ลดลง
  4. โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่

    ตอบ. พบว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ในปัจจุบันมีการค้นพบยีนอย่างน้อย 4 ชนิด คือ APP, presenilin-1, presenilin-2, Apo€4 ในกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

    สำหรับยีน Apo€4 ยังเป็นยีนที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นยีนที่พบในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่มีประวัติทางพันธุกรรมถึง 40-65% แต่ในคนปกติก็สามารถพบยีนนี้ได้ 24-30% ดังนั้นจึงยังไม่แนะนำให้ทำการตรวจยีนนี้ในคนปกติ ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์แล้ว การตรวจพบยีนก็เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนโรคอัลไซเมอร์

  5. การรักษาโรคอัลไซเมอร์

    ตอบ. ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด ทำได้เพียงการให้ยาชะลออาการผู้ป่วยอย่างน้อยในช่วง 5 ปีแรก รวมถึงการควบคุมอาการผิดปกติทางพฤติกรรม และอารมณ์ของผู้ป่วย

    ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันที่มีใช้ ได้แก่ Donapezil, rivastigmine, galantamine, memantine

    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การหลงผิด หวาดระแวง วุ่นวาย หรือเห็นภาพหลอน การให้ยาทางจิตเวช (antipsychotic) จะสามารถควบคุมอาการผู้ป่วยได้

    บางครั้งผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะพบอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ยาลดอาการซึมเศร้าจึงอาจต้องให้ผู้ป่วยร่วมด้วย

    อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ นอกจากยาแล้ว การดูแลจากญาติและคนใกล้ชิดที่มีความเข้าใจผู้ป่วยก็มีความสำคัญเช่นกัน

  6. อาหาร, สมุนไพร กับโรคอัลไซเมอร์

    ตอบ. จากการศึกษาพบว่าอาหารหรือสมุนไพรบางอย่างมีผลดี บางอย่างมีผลเสียหรือไม่ได้ผลในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เช่น แปะก๊วย จากการศึกษาพบว่าไม่เกิดประโยชน์ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์, เต้าหู้ จากการศึกษาในคนอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น พบว่าทำให้ความจำแย่ลง, ส่วนอาหาร และสมุนไพรที่อาจจะให้ผลดีกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ บลูเบอรรี่, ทับทิม ขิง โสม ชาเขียว

  7. วัคซีนกับอัลไซเมอร์
    ตอบ.
     ปัจจุบัน
    ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากวัคซีนรักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งค้นพบก่อนหน้านี้ให้ผลดีกับสัตว์ทดลอง แต่เมื่อนำมาใช้กับคนแล้วพบว่าทำให้มีอัตาการเกิดสมองอักเสบมากขึ้นจึงไม่ได้นำมารักษาในคน ขณะนี้จึงยังมีการทดลอง และวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนซึ่งยังต้องรอผลการวิจัยต่อไป

www.108thealth.com

อัพเดทล่าสุด