https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ถาม-ตอบ หญิงสาวมุสลิม ห้ามทำงานนอกบ้าน? MUSLIMTHAIPOST

 

ถาม-ตอบ หญิงสาวมุสลิม ห้ามทำงานนอกบ้าน?


1,373 ผู้ชม

ยากทราบว่าอิสลามอนุญาตให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้าน โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้จัดการต่าง ๆ ได้หรือไม่?


ถาม-ตอบ หญิงสาวมุสลิม ห้ามทำงานนอกบ้าน?

ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้หรือไม่?
 
ตอบคำถามโดย ชัยค ดร. ยูซุฟ อัล ก็อรฎอวียฺ
อุมมุ ฟิดาอ์ แปลและเรียบเรียง

คำถาม

          อยากทราบว่าอิสลามอนุญาตให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้าน โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้จัดการต่าง ๆ ได้หรือไม่?

 
คำตอบ

            แท้ จริงแล้วการงานที่มีค่ายิ่งของสตรีนั้น คือการดูแลบรรดาลูก ๆ และสามีของเธอ ส่วนการทำงานนอกบ้านเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ ถือเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

             ประการแรก คือ การงานนั้น ๆ ต้องถูกต้องตามหลักการของศาสนา สตรีมุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสถานที่ซึ่งเธอจะต้องอยู่ตามลำพังกับ บุรุษที่ไม่ใช่มะหฺร็อม หรือต้องไม่ทำงานในร้านซึ่งมีการจำหน่ายเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์

            ประการที่สอง เธอจะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักการของอิสลามทั้งในเรื่องของการแต่งกาย การพูดคุย และมารยาทอื่น ๆ ทุก ๆ ด้าน

             ประการที่สาม สตรีผู้ซึ่งทำงานนอกบ้านนั้นจะต้องไม่ใช้เวลาในการทำงาน จนทำให้สูญเสียเวลาสำหรับหน้าที่หลัก นั่นคือ การดูแลลูก ๆ และสามีของเธอ

            ตาม ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า สตรีมุสลิมได้รับอนุญาตให้สามารถทำงานนอกบ้านได้ตราบเท่าที่เธอต้องการโดย ปฏิบัติตนอยู่ภายใต้ภาวะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ต้องเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต เนื่องจากว่าไม่มีผู้ใดรับภาระในส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของเธอ ดังเช่นเรื่องราวของบุตรีของนบีชุอัยบฺ ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน ความว่า

            และ เมื่อเขา(นบีมูซา)มาพบบ่อน้ำแห่งเมืองมัดยัน เขาได้พบฝูงชนกลุ่มหนึ่งกำลังตักน้ำ และนอกจากพวกเขาเหล่านั้น เขายังได้พบหญิงสองคนคอยห้าม(ฝูงแกะ) เขากล่าวถามว่า “เรื่องราวของเธอทั้งสองเป็นมาอย่างไร ?”

          นางทั้งสองกล่าวว่า “เราไม่สามารถตักน้ำได้ จนกว่าคนเลี้ยงแกะเหล่านั้นจะถอยออกไป และบิดาของเราก็เป็นคนแก่มากแล้ว” (อัล-กุรอาน 28: 23)

             จะเห็นได้ว่า บุตรีของนบีชุอัยบฺ ต้องออกไปตักน้ำให้กับฝูงแกะของเธอเนื่องจากว่า บิดาของเธอชรามากแล้ว อีกทั้งสองก็ไม่มีพี่ชายเลย      

        เป็นที่ยอมรับกันในสังคมมุสลิม ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีสตรีทำงานเป็นการเฉพาะสำหรับบางสาขาอาชีพ เช่น  งานทางด้านการศึกษา(ครู,อาจารย์)และงานด้านการรักษาพยาบาล(แพทย์,พยาบาล) เพื่อเธอเหล่านั้นจะได้ทำการสอนและดูแลสตรีด้วยกันเอง

            ใน ส่วนของสตรีที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา ท่านอิหม่าม อบู ฮะนีฟะฮฺ อนุญาตให้สตรีเป็นผู้พิพาษาได้ในคดีที่การรู้เห็นของเธอต่อเรื่องนั้นเป็น ที่ยอมรับกัน แต่สำหรับท่านอิบนุ ฮัซมฺ และท่านอัฏ-เฏาะบะรียฺ มีความเห็นว่าสตรีสามารถทำหน้าที่ผู้พิพากษาได้ในทุกคดี(โดยไม่มีเงื่อนไข)

            ณ ตรงนี้ เราควรจะใส่ใจว่า การอนุญาตให้สตรีเป็นผู้พิพากษาได้นั้น มิใช่เรื่องจำเป็น

            ข้อ พิจารณาที่ดีกว่านี้ก็คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาคมมุสลิม โดยให้ตัวผู้หญิงเองและครอบครัวของเธอเป็นบรรทัดฐานหลักในการตัดสินว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแต่งตั้งให้สตรีดำรงตำแหน่งที่เคร่งเครียดเช่นนี้

            สตรี ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าเมือง ผู้ปกครอง หรือเคาะลีฟะฮฺของรัฐอิสลาม เนื่องมาจากว่า บ่อยครั้งที่เธอไม่สามารถอดทนต่อภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่เหล่านี้ได้ เราใช้คำว่าบ่อยครั้ง เพราะในความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ที่อาจจะมีสตรีบางคนที่มีกำลังใจและความอด ทนในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ มากกว่าที่บุรุษมี  ถึงกระนั้นก็ดี เช่นนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งบัญญัติอิสลามนั้นจะไม่นำข้อยกเว้นมาเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป

             ไม่มีความผิดใด ๆ สำหรับกรณีของสตรีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำในสถาบันต่าง ๆ  หรือเป็นสมาชิกรัฐสภา ตราบเท่าที่หน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้น อยู่ภายใต้ผลประโยชน์ของประชาคมมุสลิม

https://www.muslimahtoday.net

อัพเดทล่าสุด