โรคคออักเสบ pharyngitis รูปภาพโรคคออักเสบ โรคคออักเสบ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคคออักเสบ pharyngitis รูปภาพโรคคออักเสบ โรคคออักเสบ


172,815 ผู้ชม


โรคคออักเสบ pharyngitis รูปภาพโรคคออักเสบ  โรคคออักเสบ

 รูปภาพโรคคออักเสบ โรคคออักเสบ pharyngitis

คออักเสบ (Pharyngitis) ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) (1)_________

 โรคคออักเสบ pharyngitis รูปภาพโรคคออักเสบ  โรคคออักเสบ โรคคออักเสบ pharyngitis รูปภาพโรคคออักเสบ  โรคคออักเสบ

รูปที่ 1 Viral Pharyngitis (2) รูปที่ 2 Pharyngitis (3)

การอักเสบภายในลำคอและต่อมทอนซิล มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้มีไข้สูงและเจ็บคอ

คออักเสบที่เกิดจากไวรัส ที่พบได้บ่อย เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ พวกนี้มักจะมีน้ำมูกใส ๆ ต่อมทอนซิลไม่แดงมาก และไม่มีหนอง

เมื่อพูดถึงต่อมทอนซิลอักเสบ เรามักจะหมายถึงการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ซึ่งอาจทำให้มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กวัยเรียน และพบได้เป็นครั้งคราวในผู้ใหญ่

สาเหตุ_________________________________________________________________________

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ (Beta Streptococcus group A.) ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนสำคัญ คือ ไข้รูมาติก (94) และหน่วยไตอักเสบ (136)

ติดต่อโดยการหายใจ ไอหรือจามรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัด (1)

ระยะฟักตัว ประมาณ 1-5 วัน

อาการ_________________________________________________________________________

ในรายที่เป็นเฉียบพลัน จะ มีไข้สูงซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด และมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวหรือหนาวสะท้าน รู้สึกแห้งผากในลำคอหรือเจ็บในคอมาก บางคนอาจเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารลำบาก

ในเด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน ไอ ปวดท้อง หรือท้องเดินร่วมด้วย เด็กบางคนอาจมีไข้สูงจนชัก หรือร้องกวนไม่ยอมนอน

บางครั้งอาจสังเกตเห็นมีก้อนบวมและเจ็บ (ก้อนลูกหนูหรือต่อมน้ำเหลืองอักเสบ) ที่บริเวณใต้คางข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้าง

ในรายที่เป็นเรื้อรัง จะมีอาการเจ็บคอบ่อย ๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย มักไม่มีไข้หรือบางครั้งอาจมีไข้ต่ำ ๆ

สิ่งตรวจพบ____________________________________________________________________

ไข้สูง (39-40 ซ.)

ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะพบต่อมทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด และมีหนองขาว ๆ เหลือง ๆ เป็นจุด ๆ อยู่บนต่อมทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย

ถ้าพบเป็นแผ่นขาวปนเทา ซึ่งเขี่ยออกยาก และมีเลือดออก ควรนึกถึงคอตีบ

นอกจากนี้ อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ

ในรายที่ต่อมทอนซิลโตมาก ๆ จนดันลิ้นไก่เบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ควรนึกถึงโรคฝีของทอนซิล

ในรายที่เป็นเรื้อรัง พบว่าต่อมทอนซิลโต ผิวขรุขระแต่ไม่แดงมาก และพบตุ่มน้ำเหลืองบนผนังคอเป็นลักษณะแดงเรื่อและสะท้อนแสงไฟ ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางมักจะโตและเจ็บเรื้อรัง

อาการแทรกซ้อน_______________________________________________________________

1. เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้หูชั้นกลางอักเสบ (163) ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ จมูกอักเสบ (25) ไซนัสอักเสบ (26) ฝีของทอนซิล (peritonsillar abscess) ปอดอักเสบ (66)

2. เชื้ออาจแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นข้ออักเสบเฉียบพลัน (112) กระดูกอักเสบ (osteomyelitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66)

3. โรคแทรกที่เกิดจากเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก (94) และหน่วยไตอักเสบ (136) ซึ่งมักจะเกิดหลังต่อมทอนซิลอักเสบ 1-4 สัปดาห์

การรักษา______________________________________________________________________

1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อนและดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ

ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ ½ ช้อนโต๊ะ ในน้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละ 2-3 ครั้ง

2. ให้ยาลดไข้ (ย1) เด็กเล็กที่เคยชัก ให้ฟีโนบาร์บิทาล (ย18.1) ร่วมด้วย

3. ในรายที่ต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต่อมทอนซิลมักจะมีลักษณะสีแดงจัด หรือมีจุดหนองหรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ ให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ตัวที่แนะนำ คือ เพนวี (ย4.1) วันละ 4 ครั้ง ๆ ละ 200,000-400,000 ยูนิต ถ้าแพ้ยานี้ให้ใช้ อีริโทรมัยซิน (ย4.4) แทน ให้ยาสัก 3 วันดูก่อน ถ้าดีขึ้นควรให้ต่อจนครบ 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้เกิด ไข้รูมาติก หรือ หน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน

4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน หรือ กินยาไม่ได้ หรือสงสัยมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ให้แนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล

ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และไม่มีประวัติการแพ้เพนิซิลลิน อาจต้องใช้ยาฉีดประเภทเพนิซิลลิน ที่สะดวก ได้แก่ เบนซาทีนเพนิซิลลิน (ย4.1) เพนาเดอร์ (ย4.1) ซึ่งใช้ฉีดเพียงเข็มเดียวเท่านั้น

ถ้าเป็นฝีของทอนซิล อาจต้องผ่าหรือเจาะเอาหนองออก

5. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก (tonsillectomy) ถ้าเป็นปีละหลายครั้ง (มากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป) จนเสียงานหรือหยุดเรียนบ่อย หรือมีอาการอักเสบของหูบ่อย ๆ

นอกจากนี้ในรายที่เป็นฝีของทอนซิลแทรกซ้อน อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดทอนซิล เพราะถ้าทิ้งไว้ ก็อาจมีการอักเสบเรื้อรังได้

การผ่าตัดทอนซิลมักจะทำในช่วงอายุ 6-7 ปี

ข้อแนะนำ______________________________________________________________________

1. โรคนี้พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กบางคนอาจเป็นได้บ่อย แต่เมื่อโตขึ้น ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น ก็อาจค่อย ๆ เป็นห่างขึ้นได้

2. อาการเจ็บคอ อาจมีสาเหตุได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเสมอไป ดังนั้น ถ้าพบคนที่มีอาการเจ็บคอ ควรซักถามอาการอย่างละเอียดและตรวจดูคอทุกราย เพื่อแยกแยะสาเหตุ

3. ถ้าสงสัยว่าเกิดจากเชื้อเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น มีไข้สูงร่วมกับต่อมทอนซิลโตแดงหรือเป็นหนองหรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คาง บวมและเจ็บ ควรให้เพนิซิลลิน (ย4.1) หรือ อีริโทรมัยซิน (ย4.4) ให้ได้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน

การรักษาอย่างผิด ๆ หรือกินยาไม่ครบขนาด เช่น ซื้อยาชุดกินเอง ถึงแม้ว่าจะช่วยให้อาการทุเลา แต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้

สำหรับไข้รูมาติก ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 5-15 ปี ถ้าไม่ได้รักษาหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง จะทำให้เกิดโรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) หรือลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ บางรายอาจต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเวลามาก

4. การป้องกัน โรคคออักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด และหมั่นรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก

เอกสารอ้างอิง__________________________________________________________________

1. สุรเกียรต์ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป: หลักการวินิจฉัยและการ

รักษา/280โรคและการดูแลรักษา.กรุงเทพ: พิมพ์ดี กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2544.

2. www.medicalook.com (picture: “รูปที่ 1 Pharyngitis”)

3. Commons.wikimedia.org (picture: “รูปที่ 2 Viral Pharyngitis”)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคคออักเสบ

ข้อควรรู้ของโรคคออักเสบ รองศาสตราจารย์ ดร. สุบัณฑิต นิ่มรัตน์

by ยา-Ku-ซ่า on Tuesday, May 31, 2011 at 9:20am ·

“ความ ไม่เป็นโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ว่า คออักเสบนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร เพราะถ้าเรารู้แล้วเราก็สามารถจะป้องกันการเกิดโรคได้บ้างใช่ใหม๊ค่ะ คออักเสบนั้นภาษาอังกฤษที่เรียกว่า อะคิ้ว ฟาริ้งไจติส (Acute Pharyngitis) และสาเหตุนั้นเกิดมาจากหลายประการ ดังนี้ค่ะ

1. โรคคออักเสบเกิดจากเชื้อไวรัส (Viral Pharyngitis) ซึ่งเป็นโรคคออักเสบที่บ่อยที่สุด บางทีเป็นอาการต่อเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสที่มาจากเชื้อหวัดแล้วหวัดลง คอทำให้คออักเสบ และเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคนี้เราสามารถทราบได้ง่าย ๆ คือ คุณอ้าปากกว้าง ๆ ใช้ไม้กดลิ้นดู หายใจเข้าทางปากลึก ๆ ก็จะเห็นคอแดงอักเสบ และต้องรักษาตัวตามอาการเท่านั้น ถ้าเป็นไข้ ก็กินยาแก้ไข้ ถ้าไอ ก็กินยาแก้ไอ รวมทั้งหลักใหญ่คือ ต้องพักผ่อนให้มากที่สุดจึงจะทำให้หายจากอาการได้ค่ะ

2. โรคคออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Pharyngitis) เป็นการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า สเตร๊ฟโตค้อกคัส (Streptococcus) เป็นส่วนใหญ่ อาการที่ชัดเจนคือจะมีอาการที่เจ็บคอมาก และถ้าคุณอ้าปากดูคอจะเห็นคอบวมแดงเป็นหนอง ส่วนมากจะเกิดร่วมกับต่อทอนซิลอักเสบด้วยเสมอค่ะ ในกรณีอย่างนี้การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเสมอมิฉะนั้นก็จะมีอาการ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามต้องไปปรึกษาแพทย์เสมอนะค่ะ อาการที่พบบ่อย ๆ คือ อาการไข้สูง เจ็บคอมาก ปวดศีรษะ เสียงแหบ ๆ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อาเจียน โรคนี้อย่าไว้วางใจนะค่ะเพราะจะทำให้เกิดอาการทรุดเรื่อยตามปริมาณของเชื้อ ที่สะสมต้องไปพบแพทย์ให้เร็วนะค่ะ

3. โรครีฟลั่กซ์ฟาร์ริงค์ไจติส (Reflux Pharyngitis) โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากโรคอื่นต่อเนื่องมาคือ เกิดจากการล้นขึ้นมาของน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดอาหารส่วนต้นเกิดการอักเสบเรียกว่า รีฟลั่กซ์อีโซฟาร์ไจติส (Reflux Esophagitis) แล้วก็เลยขึ้นมาที่คอด้านใน เรียกว่า รีฟลั่กซ์ฟาร์ริงค์-ไจติส (Reflux Pharyngitis) จะรู้สึกเปรี้ยว มีกลิ่นเรอของน้ำย่อยมาจากกระเพาะอาหารค่ะ ซึ่งถ้าท่านผู้ฟังมีอาการดังนี้ต้องพบแพทย์ ไม่สามารถรักษาตนเองได้นะค่ะ

4. โรคการระคายเคืองคอ (Irritation) อาการเหล่านี้เกิดจากพวกเราเอง เช่น การสูบบุหรี่จะทำให้คอระคายเคืองมาก กินเหล้าก็ทำให้ระคายคอด้วยนะค่ะ รับประทานอาหารเผ็ดจัด พริกไทรสจัด ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองในคอด้วยเช่นกันค่ะ รวมทั้งท่านผู้ฟังที่มีอาชีพในการใช้เสียงทั้งหลาย การใช้เสียงมากจะระคายคอทำให้คอแดง คออักเสบและเสียงแหบ และปัญหาคอเจ็บที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ อาจจะทำให้พวกเราเกิดคออักเสบดังกล่าวสามารถเป็นปัญหาใหญ่ ปัญหานาน และมีอาการเจ็บคอเรื้อรังได้ค่ะ

5. โรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่หาสาเหตุได้ค่อนข้างยากและป้องกันได้ค่อนข้างยาก เช่น หากแพ้ควันบุหรี่แต่เราก็ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่บางช่วงบางเวลาก็ จะทำให้เกิดการเจ็บคอโดยไม่รู้สาเหตุได้ค่ะ นอกจากนั้นโรคภูมิแพ้นั้นแพ้ได้สารพัดชนิด และแตกต่างกันไปตามแต่บุคคลค่ะ บางคนแพ้ควันบุหรี่ ไรฝุ่น พบมากบนที่นอน โซฟา เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง ขนนก ของเสียแมลงสาบ เชื้อรา รวมทั้ง การใช้ยาปฏิชีวนะและการรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ดังนั้นโรคคออักเสบที่เกิดจากการเกิดจากโรคภูมิแพ้ต้องปรึกษาแพทย์เท่านั้น นะค่ะ โรคนี้เองเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตราย แต่น่ารำคาญที่เจ็บคอไม่หาย เป็นนาน เรื้อรัง ไม่หายขาด และต้องกินยาบ่อย ๆ จนน่าเบื่อหรือทำให้เกิดโรคที่ต่อเนื่องเช่น โรคไซนัส นั่นเองค่ะ

เอาละค่ะโรคคออักเสบก็มีมาอย่างน้อยก็ 5 ชนิดใหญ่ๆ นะค่ะ แล้วเราจะสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด ก็สามารถทำได้นะค่ะ ดังนี้ค่ะ

1. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ วัน

2. โรคคออักเสบที่เกิดจากไวรัสหวัดลงคอ สามารถป้องกันโดยไม่ควรเข้าใกล้คนที่เป็นหวัด หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้หน้ากาก แต่อย่างไรก็ตามหน้ากากที่เราเห็นนั้นไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้นะค่ะ แต่ก็ลดการติดต่อได้บ้างค่ะ

3. คนที่เป็นหวัดก็ควรใช้หน้ากากกันการไอ จาม

4. ในช่วงที่มีโรคดังกล่าวแพร่ระบาดควรล้างมือให้สะอาดบ่อยขึ้น เพราะเราสามารถสัมผัสจากการแตะอุปกรณ์ที่คนเป็นหวัดได้สัมผัสเราก็สามารถติด โรคได้นะค่ะ

5. การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอมีความสำคัญมากนะค่ะ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนเพราะจะมีเชื้อโรคติดมากับการพัดพาของลมฝนค่ะ

6. ไม่ควรตากฝนตัวเปียกชื้นและยังอดนอน จะทำให้เป็นหวัดลงคอ คออักเสบได้ง่าย

7. การดื่มน้ำมาก ๆ แต่ก็ต้องเป็นน้ำที่สะอาดนะค่ะ น้ำอุ่นๆ นะค่ะดีที่สุด ดื่มวันละ 6-8 แก้ว ดื่มน้ำมาก ๆ ทำให้ไม่เจ็บคอ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เพราะว่ามีน้ำตาลมาก มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอเนทมาก การดื่มน้ำหวาน กินไอศกรีม กินขนมหวาน ๆ มากก็จะทำให้เจ็บคอนะค่ะ

8. ถ้าเป็นไปได้ก็ให้หลีกเลี่ยงหมากฝรั่ง ลูกอม ขนมอบ ขนมหวานทุกชนิด หลีกเลี่ยงการใช้เสียงตะโกนดัง ๆ พูดมากเกินไป หลีกเลี่ยงอากาศที่อับ เลี่ยงควันบุหรี่ งดการสูบบุหรี่ การกินเหล้า การเที่ยวกลางคืน อดนอน หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดรสจัด หลีกเลี่ยงยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จะมีผลทำให้กระเพาะอาหารอักเสบแล้วท้นขึ้นมาที่คอหอยได้

9. โรคเจ็บคอ เป็นโรคที่เป็นแล้วทำให้เกิดผลกระทบมากมาย อย่างน้อยที่สุด คนที่เป็นก็จะไม่สบายกายและทรมาน รวมทั้งทำให้มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงทำงานทำการก็ลำบากนะค่ะเพราะว่าเป็น แล้วนานกว่าจะหาย ดังนั้นเมื่อป่วยด้วยโรคดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทันที และเมื่อหายแล้วให้ทำตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้อีกนะค่ะ สุดท้ายนี้ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงนะ ค่ะ สวัสดีค่ะ

เอกสารอ้างอิง

คออักเสบ ต่อมทอลซิลอักเสบ. เข้าถึงได้จาก https://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/Respiratory/Pharyngi.htm

หมอชาวบ้าน. คออักเสบ. เข้าถึงได้จาก https://www.doctor.or.th/node/3414 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553.

นพ. สันติภาพ ไชยวงศ์เกียรติ. 2546. คออักเสบ. นิตยสารใกล้หมอ. ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 มิถุนายน

นิตยสารใกล้หมอ. 2552. คออักเสบ. ปีที่ 27 ฉบับที่ 24 มิถุนายน.

โรคภูมิแพ้ Allergy. เข้าถึงได้จาก https://www.siamhealth.net/public_html/index0/allindex.htm เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม

อัพเดทล่าสุด