กลยุทธ์ความสำเร็จในอาชีพ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การทำงานให้ประสบความสำเร็จ MUSLIMTHAIPOST

 

กลยุทธ์ความสำเร็จในอาชีพ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การทำงานให้ประสบความสำเร็จ


886 ผู้ชม


กลยุทธ์ความสำเร็จในอาชีพ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การทำงานให้ประสบความสำเร็จ
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า

แม้หลายคนจะบอกว่า ไม่มีสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจที่ตายตัว  ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างมีวิธีการเฉพาะตัว แต่ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในบทบาทของนักกลยุทธ และคลุกคลีกับข้อมูลการวิจัย ถ่ายทอดกลเม็ดการทำธุรกิจยุคหน้าให้ประสบความสำเร็จว่าควรจะมีอะไร

ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่มีจินตนาการ!
 
คำ ที่กลั่นออกมาเป็นบทสรุปของกลยุทธ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จได้ ดั่งเดียวกันทุกคน   แม้จะใช้ตำราเล่มเดียวกันเป็นเข็มทิศในการนำทางก็ตามที
 
The Secret  จึงเป็นกุญแจไขปริศนา “ทฤษฎี Hedgehog Concept เป็นทฤษฎีที่เล่าเปรียบเทียบระหว่างตัวเม่นกับหมาจิ้งจอก ที่บอกว่า หมาจิ้งจอกเป็นหมาที่ฉลาดมากอย่ากกินเม่นมาก แต่เม่น วิถีชีวิตของมันก็ไม่ซับซ้อนมาก แต่พอหมาจิ้งจอกจะกินก็ม้วนตัวของมันทุกที แล้วจิ้งจอกก็ทำอะไรมันไม่ได้ เพราะฉะนั้น เรื่องการที่มีรูปแบบที่ดีลงตัว ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ก็สามารถป้องกันตัวเองได้ " เป็นคำอธิบายเปรียบเทียบกับสิ่งที่เขาจะเล่าต่อไป

ซับซ้อนนำสู่หายนะ

ดร.เอกชัยระบุว่า อะไรก็ตามที่มีความ ซับซ้อน แต่ “สะเปะสะปะ” มักจะนำไปสู่หายนะ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เรียบง่าย  จะช่วยลดความสะเปะสะปะลง เพราฉะนั้นการจะนำไปสู่หายนะน่าจะน้อยลงด้วย มี 3 คำถามให้ถามตัวเองว่า เราทำอะไรได้ดีที่สุด เพื่อลดไม่ให้สะเปะสะปะ และให้ถามว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนบริษัท และอะไรที่เรารักที่จะทำ???
 
เพราะ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือเปล่า ตนเชื่อว่า แต่ละคนก็มีความเชื่อต่างๆ กันไป ก็มีหลายคนอาจจะเชื่อว่าปัจจัยความสำเร็จอาจจะต้องขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม  เพราะในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีปัจจัยความสำเร็จไม่เหมือนกัน และก็มีหลายตัวด้วย

เพราะฉะนั้น  แต่ละคนคงต้องมองปัจจัยสำเร็จให้สอดคล้องกับจุดแข็งของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น เราอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขายเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มผสมเกลือแร่ ถามว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไร
 
อันดับแรก เลยคือ ดิสทริบิวชัน แชลแนล แม้ทำโปรดักต์ดีอย่างไรก็ตาม แต่ว่าแชลแนลในการจัดจำหน่ายไม่มีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีทางไปได้  ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าตัวโปรดักส์จะไม่มีคุณภาพ หมายถึงว่าตัวคุณภาพในทุกธุรกิจทุกอุตสาหกรรมต้องมีให้เหมาะสมกับตลาดที่เขา อยู่ ถ้าหากว่าเขาจับตลาดที่เป็นพรีเมียม และมาตรฐานคุณภาพก็ต้องอยู่ในระดับที่สูง
 
แต่เมื่อเรากำลังพูดถึงปัจจัยความสำเร็จของเขา ถ้าไม่มีคุณภาพก็เข้าอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่แล้ว

ดังนั้น  ถามว่าใครจะประสบความสำเร็จหรือไม่ คิดว่ามีปัจจัยมากเหลือเกิน ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมที่อยู่ ส่วนใครจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่ที่ว่ารู้ว่าปัจจัยคืออะไร แล้วหยิบมาให้เหมาะกับจุดแข็งของตนเอง
 
“ตอน นี้ในโลกธุรกิจ ก็เหมือนกับกับสิ่งต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหว และพอบอกว่ามีการเคลื่อนไหว ก็มักจะมีลักษณะที่เป็นรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอยู่เรื่อยๆ แล้วรูปแบบที่ออกมามักจะมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมักจะเกิดจากการเอาของเก่ามาบวกกับไอเดียอะไรบางอย่าง แล้วรวมกันเป็นของใหม่ได้ระดับหนึ่ง “ดร.เอกชัยอธิบาย
 
พร้อมกับบอก ต่อไปว่า ในเมื่อมีการคิดแบบนี้โดยทั่วไป สิ่งที่ออกมาใหม่ๆ หรือโมเดลทางธุรกิจดูจะมีแนวโน้มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่าความจริงอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้น ก็คือว่าความซับซ้อนกับการประสบความสำเร็จอาจจะไม่ได้ไปด้วยกัน ไม่ได้หมายความว่า ยิ่งมีโมเดลทางธุรกิจซับซ้อนยิ่งขึ้น อัตราการประสบความสำเร็จจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น 
 
เพราะมีมากซึ่งมี ระบบการบริหารจัดการที่ดี มีแผนกลยุทธ์ต่างๆ ที่ซับซ้อนมากๆ บริษัทชั้นนำระดับโลกทั้งหลายที่เราเห็นตอนนี้ เราจะเห็นว่าบริษัทที่มีปัญหาซึ่งแน่นอนคงมีปัญหาในทุกระดับ แต่พวกแรกๆ ที่มีปัญหาคือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีโมเดลสลับซับซ้อนมากๆ แม้แต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งนี้ก็เกิดจากการที่เราพัฒนาเครื่องมือทางการ เงินที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นมา  พอเครื่องมือตรงนี้เดินไปถึงจุดๆ หนึ่งที่เหมือนเป็นจุดที่คล้ายๆ กับทดสอบที่ว่าเป็นของที่ดีจริงหรือไม่ พอมีการทดสอบคนที่คิดหรือพวกเราที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ

เรียบง่ายมีจินตนาการ นำองค์กรสู่ความสำเร็จ
 
ดังนั้น  ถามว่าความเรียบง่ายจะทำให้มีโอกาสสำเร็จได้ดีหรือไม่?
 
เขา บอกว่า ไม่อยากจะฟันธงว่าความซับซ้อนดูจะแย่มากกว่าความเรียบง่าย คือ ตัวกลยุทธ์ ด้วยตัวเนื้อหาของมันมีความซับซ้อนอยู่แล้ว คือไม่ใช่ทุกคนจะมีความเข้าใจในเรื่องของกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีในการบริหารธุรกิจ  อย่างคนที่มีการศึกษาดี คนที่เป็นนักธุรกิจ คนที่มีตำแหน่งการบริหารสูงๆ เห็นธุรกิจมามากซึ่งอาจจะมีความเข้าใจ
 
แต่ถามว่าคนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่ได้มีมุมมองอยู่ในระดับนั้น  สิ่งที่เขาเข้าใจคือสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเขา งานแบบวันต่อวัน  

“ดัง นั้น ถ้าคุณยิ่งทำซับซ้อนเท่าไหร่ คุณพยายามถ่างช่องว่างระหว่างผู้บริหารกับคนที่เป็นส่วนใหญ่ขององค์กร ดังนั้น ผมเชื่อว่าพอมีช่องว่างอยู่เยอะ ธรรมชาติของกลยุทธ์อันหนึ่งที่มันต้องการก็คือ มันต้องไปในทิศทางเดียวกัน ต้องมีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นพอช่องว่างมีเยอะ ความเข้าใจมันก็มีน้อย   ...
 
พอ ความเข้าใจมีน้อย สิ่งที่เราหวังผลก็จะได้น้อยตามไปด้วย เหมือนเราเรียนหนังสือ ถ้ามีความตั้งใจในตัวสิ่งที่กำลังทำอยู่ ไม่ว่าจะพลิกแพลงแบบไหนก็แล้วแต่ หมายถึงสถานการณ์ข้างนอก เราก็ยังทำได้ ธุรกิจก็เหมือนกัน พอข้างนอกเปลี่ยนแปลง เราก็ยังทำได้ เพราะเรามีความเข้าใจ”

เป็นคำอธิบายของนักกลยุทธคนสำคัญ
 
อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า ความเรียบง่ายที่นำพาเราให้ประสบความสำเร็จได้สมกับโมเดลธุรกิจก็คือ ความพร้อมกับการปรับตัว

ดังนั้น  สิ่งที่เราต้องการคืออะไร ก็คือ เรื่องของความสามารถในการปรับตัว (Agility) จะกลายเป็น Piority ที่สำคัญมากขึ้น แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เวลาเราพูดถึงสิ่งเรียบง่าย มักจะนึกถึงคอร์สที่ต่ำลง ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องทำอะไรซับซ้อนมาก เหมือนกับให้นโยบายว่าเวลาเราคิดอะไรก็แล้วแต่อย่าให้ซับซ้อน ให้เรียบง่าย แต่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นสิ่งที่ดูยิ่งใหญ่ พอคนได้โจทย์ไปก็จะไม่คิดอะไรซับซ้อน
 
พอเราบอกว่าคอร์สดาวน์ลงได้ เหมือนเป็นปัจจัยแรกที่ทุกธุรกิจต้องการ ถ้าคอร์สอยู่ในระดับที่เราจะคอมพลีทได้ เหมือนกับเราจะทำเสต็ปที่สอง สาม สี่ได้ง่าย แต่ถ้าเราตั้งต้นด้วยคอร์สที่สูงกว่าสแตนดาร์ด เราจะเหนื่อย พอเราบอกเรียบง่ายทำให้คนในองค์กรเห็นภาพที่อยู่ในทิศทางที่จะไปอย่างนั้น

กรณีศึกษาองค์กร เรียบง่าย- มีจินตนาการ-ไม่ซับซ้อน
 
ถาม ว่า ความเรียบง่ายมี 3-4 ข้อด้วยกัน ที่นี่รวมไปถึงตัวลูกค้าด้วยหรือเปล่า ที่ใช้งานสะดวก ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น จะอยู่ในนิยามของความเรียบง่ายด้วยหรือเปล่า
 
“ถ้าเป็นในฝั่งของ ลูกค้า ความสะดวกหรือว่าความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ผมคิดว่าอาจจะไม่ได้อยู่ในลักษณะโมเดลธุรกิจ เพียงแต่เรามองว่าจุดที่สัมผัสกับลูกค้า ลูกค้าเลือกซื้อเรา  เพราะว่าสะดวก อย่างเซเว่นอีเลฟเว่น โมเดลธุรกิจด้านหลังจะเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่สิ่งที่เขามอบให้กับลูกค้าก็คือ เรื่องของความสะดวกซื้อ แต่ไม่ได้หมายความว่าโมเดลธุรกิจข้างหลังเขาจะสะดวก”
 
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยพยายามยกตัวอย่างองค์กร  เพื่อที่จะฉายภาพได้ชัดขึ้น
 
หรือ อีกแห่งหนึ่ง ร้านสุกี้ MK ในอดีตหากใครต้องการรับประทานสุกี้  ต้องเดินทางไปถึงสยามสแควร์เพื่อกินที่ร้านแคนตั้น โคคา แต่พอผู้บริหารรุ่นใหม่ MK ขึ้นมา ก็นำคำว่าคอนวีเนี่ยนเข้ามาก่อน โดยเอาสุกี้เข้าสู่โมเดิร์นเทรดเป็นแห่งแรก เรียกว่าอยากกินเมื่อไหร่ได้ แต่อร่อยไม่แน่ใจว่าใครอร่อยกว่ากัน แต่สะดวกพูดได้ว่าสะดวกกว่าใคร
 
หรือ อย่างค่ายรถยนต์ใหญ่ อย่างโตโยต้า เขาทำเรื่องลีน โปรดักต์ชัน (Lean Production) คอนเซ็ปท์เขาก็คล้ายกัน ให้เรียบง่าย สั้น พวกนี้ก็เป็นคอนเซ็ปท์ที่ยิ่งใหญ่
 
ถามว่าเขาได้นำไปใช้กันไหม เดี๋ยวนี้ก็ได้รับความนิยมกันมาก มีลีน มาร์เก็ตติ้ง (Lean Marketing) ทำการตลาดเหมือนกัน แต่ว่าไม่ต้องทำให้เวอร์ ซับซ้อนมาก แต่ให้ได้ผล เป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องความเรียบง่าย แล้วถามว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับแนวคิดกลุ่มที่เป็น “คอมพลิเคท”
 
“ผม เชื่อว่าน่าจะได้รับความนิยมมากกว่า คือพอคุณจ่ายเงินน้อยกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า Expectation คุณก็เล็กลง แต่ถ้าลงทุนในการรีเอ็นจิเนียริ่ง เงินก็ใช้มาก แต่ได้ผลแค่นี้ เราอาจจะมีความคาดหวังที่สูง เพราะเราทุ่มทุนทุนแรงไปเยอะ”
 
เขายกตัวอย่างพร้อมกับยกตัวอย่างอีก ว่า  หากมองที่ประเทศไทย มีองค์กรที่เข้าข่ายความเรียบง่ายเท่าที่มีโอกาสได้พูดคุยกับซีอีโอ  อย่างคุณหมอนลินี ที่เป็นเจ้าของกิฟฟารีน ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานทางธุรกิจอะไร ทำธุรกิจตามสัญชาติญาณ แต่ด้วยเป้าประสงค์ที่ค่อนข้างดี จึงบอกว่าความเรียบง่ายก็ต้องมาจากการปูพื้นฐานที่เหมือนกับเรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่  เธอทำธุรกิจกิฟฟารีนเป็น 10 ปี ซึ่งบริษัทก็มีกำไร แต่ไม่เคยนำกำไรออกจากบริษัท ทั้งที่มีผู้ถือหุ้นไม่กี่คน กำไรปีหนึ่งแม้จะด้วยวิธีการทำธุรกิจที่ยึดนโยบายมาร์จิ้นคงที่ซึ่งเป็นมาร์ จิ้นไม่สูงเพื่อให้ทุกคนทำตาม เพื่อที่จะให้เวลาดิลิเวอร์ตัวโปรดักต์มีมูลค่าสูง ของดีแต่ราคาพอสมควร  เธอบอกว่าตัวกำไรที่ดีก็เอามา Re-invest อยู่ในบริษัทกิฟฟารีน
 
เพราะ ฉะนั้น  ทำให้กิฟฟารีนพัฒนาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งเวลาคุยกับเธอไม่เหมือนกับคุยกับซีอีโอ เหมือนพูดคุยกับคุณหมอมากกว่า มีครั้งหนึ่งย้ายโรงงาน ทั้งที่มีคนงานนับเป็นพันคน แล้วในบทนักธุรกิจทั่วไป เวลาคิดย้ายโรงงานเกิดอะไรขึ้น คนงานจะตามมาหรือไม่ ถ้าไม่ตามเรามา จะเอาคนงานที่ไหนทำงาน
 
“แต่ สำหรับหมอนลินีแกไม่คิดอะไรมาก  เพราะก็เชื่อว่าแกดูแลทุกคนเป็นอย่างดี พอแกย้ายโรงงานซึ่งระยะทางก็ไกลนะ บอกว่าคนกว่า 90% มาหมดเลย คนที่ไม่ตามมามีปัญหาข้อจำกัดส่วนบุคคล เช่น จำเป็นต้องดูแลลูกบริเวณนั้น” นี้คือตัวอย่าง
 
และอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่ปูนซิเมนต์ไทย ก็อาจจะเป็นแห่งหนึ่ง ในสมัยก่อนช่วงวิกฤตปี 2540 อาจจะดูซับซ้อนเพราะทำโปรดักต์ใหญ่มาก หลากหลาย แต่เดี๋ยวนี้เขาดูเหมือนจะโฟกัสมากขึ้น แล้วก็สิ่งที่เขามุ่งเน้นช่วงนี้ก็จะไม่เน้นเรื่องหลายด้าน  แต่จะเน้นเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ทุกคนมุ่งสู่จุดเดียวกัน
 
แล้วถามว่านวัตกรรมเขาก็มีมากมาย  ซึ่งตนเห็นว่ามีอยู่ 2-3 อย่างตามที่เขาให้ข่าวมา อย่างแรกแรก  ต้องเกิดนวัตกรรมในเรื่องของโอเปอเรชัน เดย์ทูเดย์  เรามีวิธีการที่มันดีกว่าปกติไหม และต้องมีอินโนเวทีฟ ลีดเดอร์ เพราะเขาเชื่อว่าถ้าลีดเดอร์เป็นคนที่มีอินเวโนชันก็จะส่งผลให้คนอื่นๆ มีอินโนเวชันตามไปด้วย

“มีบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียว กัน ขายโปรดักส์คล้ายๆ กัน แต่ดีไซน์โมเดลทางธุรกิจไม่เหมือนกัน คนหนึ่งเน้นที่จะ”ดีลิเวอร์”ความครบถ้วนให้กับลูกค้า คือ  ถ้าเดินเข้าร้านที่เป็นเอเย่นเขา หากเราเป็นช่างคุณมั่นใจเลยว่าคุณจะได้อะไหล่ของรถยนต์อย่างแน่นอน

เขาพยายามจะรักษาสัญญาตรงนี้กับ ลูกค้า ซึ่งก็ดี แต่ว่ามันนำไปซึ่งสินค้าคงคลังมหาศาล เพราะว่า เขาต้องรักษาสัญญาตรงนี้ตลอดเวลา บริษัทที่ใช้โมเดลแบบนี้ที่เคยได้มีโอกาสพูดคุยกับเขา มีสินค้าคงคลังในส่วนสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และสินค้าที่อยู่ในโฟรเซส และวัตถุดิบรวมกันแล้วทั้งหมดประมาณ 60% ของยอดเซลล์ “นักวิชาการผู้นี้ยกตัวอย่าง
 
ถามว่าในสภาวะปกติมีปัญหาไหม
 
ตอบ ว่า  ไม่มีปัญหา เพราะเขาใช้มาร์เก็ตติ้งผลักตัวอะไหล่ต่างๆ ออกไปได้ แต่จะมีปัญหาทันทีถ้าสภาวะไม่ปกติ เพราะว่าพอเกิดภาวะชะงักงัน สินค้าคงคลัง วัตถุดิบจะพามาซึ่งปัญหาสารพัดเลย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลรักษา การเสื่อมสภาพ ตกรุ่น ต้นทุนทางการเงิน สถานที่เก็บ ในขณะที่อีกบริษัทหนึ่งขายอะไหล่เหมือนกัน ชื่อบริษัทโออีไอ แต่โมเดลธุรกิจไม่เหมือนกัน เน้นทำอะไรที่ดูสั้นและไม่ต้องให้สัญญาในระดับที่สูง แต่สัญญาอยู่ในระดับที่รับได้
 
“แนวคิดของเขาคือ ถ้าเดินมาที่ร้านของเขา ถ้าเป็นภาวะปกติคุณก็จะได้ของครบเหมือนกัน เขาใช้วิธีคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าก่อน ด้วยการเก็บค่าสถิติธรรมดา เขาอาจจะไม่สามารถให้สัญญาได้ในดีกรีที่สูง แต่สิ่งที่เขาได้คือสินค้าคงคลังต่ำลงมากประมาณไม่เกิน 10%”
 
นอก จากนี้ ดร.เอกชัยยังยกตัวอย่าง กูเกิล และไอโฟน ว่าคือ องค์กร หรือสินค้าที่เข้าตามคอนเซ็ปที่อธิบาย  กรณีไอโฟน เขาจะไม่มีฟังก์ชันที่มันซับซ้อน ไม่มีบลูทูธ โปรแกรมที่ซับซ้อน แล้วเวลาที่เราจะสื่อสารกับคนอื่นจะทำอย่างไร สิ่งที่เขาคาดหวังอยากให้ลูกค้าสื่อสารคือ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เขาใส่เทคโนโลยีที่เรียกว่าเอดจ์เข้ามา ก็จะเชื่อมต่อไวไฟ เหมือนเรามีคอมพิวเตอร์อยู่กับมือ
 
ตัวอย่าง มีบริษัทที่เน้นเรื่องของสิ่งต่างๆ และสตาร์ทจากด้านในและประสบความสำเร็จ เช่น ไมโครซอฟท์ตั้งบริษัทในครั้งแรก ถ้าสังเกตเขาก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมาก เขาก็ตั้งเป้าว่าอยากให้มีคอมพิวเตอรืส่วนบุคคลอยู่บนโต๊ะทำงานทุกๆ โต๊ะทั่วโลก เขาแค่คิดแค่นี้เอง แต่ถามว่าสมัยก่อนคือพีซีมันก็แพง แต่ด้วยมันคือเป้าประสงค์ของธุรกิจที่เรียบง่าย แต่มีความยิ่งใหญ่อยู่ตรงนี้มันนำมาซึ่งสิ่งอื่นๆ ที่ตามมาตอนหลัง หรือย่างวอลล์ ดิสนีย์ เป้าประสงค์ในการตั้งวอลล์ ดิสนีย์ของเขาไม่ซับซ้อนมาก คือสร้างความสุขให้กับลูกค้าทุกวัน แค่นี้เอง

หัวใจความสำเร็จคือซีอีโอ

อย่างไรก็ตาม  ดร.เอกชัยแนะนำว่าหัวใจของความเรียบง่ายขึ้นอยู่กับซีอีโอ  ดังนั้น ซีอีโอเป้นคนสำคัญทุกเรื่อง เวลาจะไดร์ฟนโยบาย จะสร้างคาแรกเตอร์ขององค์กร หรือกลยุทธ์ ซีอีโอเป็นคนสำคัญที่ต้องเข้าใจและต้องให้การสนับสนุนอย่างแรงกล้า
 
ถ้า ซีอีโอไม่สนับสนุนยากมากที่จะประสบความสำเร็จ บางทีอย่างค่านิยมของพวกเราที่อยู่ในองค์กร องค์กรเน้นเรียบง่ายสร้างสรรค์ แต่ถ้าเกิดซีอีโอเข้ามาในอีกลักษณะหนึ่งที่เห็นเรื่องของความหวือหวา ก้าวล้ำ อาจจะเกิดการตรงกันข้ามกัน อาจจะไม่ไปด้วยกันและนำมาสู่ปัญหา

ตัวอย่าง จีอีในอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ เป็นตัวสะท้อนของความล้มเหลว เพราะโมเดลธุรกิจไม่เรียบง่าย มีความใหญ่ และบางคนก็มองว่าเป็นองค์กรไดโนเสาร์ ทั้งที่-จีอีเป็น Case Study ของการใช้โมเดลธุรกิจตัวหนึ่ง คือ ซิกซิกม่า เขาใช้ซิกซิกม่าทั่วทั้งองค์กรจีอี

ถามว่าดีไหม ก็ดี แต่ก็ซับซ้อน ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งว่าความซับซ้อนมากไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เราประสบ ความสำเร็จมาก และยั่งยืนมาก อย่างจีเอ็ม ภาพรวมอเมริกาเป็นเจ้าพ่อแห่งความซับซ้อน จะเห็นว่าโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ส่วนใหญ่มาจากทางอเมริกา ซีกประเทศทางตะวันออกเราจะไม่เน้นความซับซ้อนมาก 

ดังนั้น อาจจะเป็นอีกเห็นผลหนึ่งที่ทำให้นักธุรกิจชาวเอเชียสนใจปรัชญาพื้นฐานการ บริหารธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย เพราะสอดคล้องกับวัฒนธรรมและความเชื่อ อาจจะไม่ได้สตาร์ทจากด้านนอก แต่สตาร์ทจากด้านใน

ที่มา : เว็บไซต์ pattanakit

อัพเดทล่าสุด