https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข โรคหูดับจากหมู MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข โรคหูดับจากหมู


749 ผู้ชม


โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข โรคหูดับจากหมู

                 โรคหูดับจากหมูเรียกว่า

โรคไข้หูดับ

โรคไข้หูดับเป็นอย่างไร

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้อนี้จะทำให้สุกรป่วย และตายได้บ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน ไข้หูดับในคนมีการรายงานครั้งแรกในโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2511 หลังจากนั้นมีการรายงานประปรายทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 215 ราย และเสียชีวิตถึง 38 ราย (ร้อยละ 18 ) คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 800 ราย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะประเทศไทย และประเทศเวียดนาม

สำหรับประเทศไทยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2553 พบ 19 รายงานมีผู้ป่วยรวม 301 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ โดย 3 รายงานดังกล่าว (พ.ศ. 2537, 2549 และ 2552) เป็นผู้ป่วยในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึง 91 ราย

โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข โรคหูดับจากหมู
โรคหูดับจากหมูเรียกว่า ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข โรคหูดับจากหมู

เชื้อจากหมู่สู่คนได้กี่ทาง

การติดเชื้อไข้หูดับ

เชื้อนี้ผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ เช่น ลาบหมู โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู เช่น ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่านการติดเชื้อในคนเกิดได้สองวิธี คือ

  • จากการรับประทาน
  • หรือการสัมผัสเนื้อ และเลือดดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของสุกรที่ป่วย

ยังไม่มีรายงานการติดต่อของไข้หูดับ จากคนสู่คน

ใครผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วย และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดเป็นพิษ และเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ

          Link     https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++==


                  ปัญหาโรคหูดับในหมูและการแก้ไข

     
 

สาเหตุ

   เกิดจากเชื้อ Streptococcus suis แกรมบวก รูปร่างกลม

การติดต่อ

    ผ่านระบบทางเดินหายใจ, nose-to-nose contact, เชื้อสามารถเข้าทางบาดแผลและรอยถลอกได้, เชื้อสามารถอยู่ในฝุ่นละอองและอุจจาระ, การใช้อุปกรณ์ที่ติดเชื้อ, การปนเปื้อน secretion และ excretion

 

ปัจจัยเสี่ยง

   ภาวะเครียดของหมู , การจัดการที่ไม่ดีในฟาร์มสุกร

อาการ

   หมูไข้ขึ้นๆลงๆ ซึม ท่ายืนผิดปกติ ataxia ต่อมาชักแบบถีบจักรยาน ตาบอดและหูหนวก ข้อบวมอักเสบ ปอดบวม ตาถลน ติดเชื้อในกระแสโลหิต ผิวหนังแดง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาและการป้องกัน

     เลี้ยงสุกรแบบ all-in/all-out มีการจัดการฟาร์มที่ดี แก้ไขสุขาภิบาลให้ดีขึ้น มีความเข้มงวดใน biosecurity เลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ

 

การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน

     คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสสุกรที่ติดโรค ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ผู้ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ชำแหละเนื้อสุกร แม่บ้าน สัตวบาล สัตวแพทย์ เชื้อเข้าทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา การบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่สุก

ระยะฟักตัว

     1-3 วัน

อาการในคน

     มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นเหียน สับสน กลัวแสง คอแข็ง ข้ออักเสบ มักมีอาการปวดในข้อก่อน 1-2 วัน ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกถาวรภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากหายป่วยอาจมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่รุนแรง อาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต มีผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต และระบบโลหิต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ มีผื่นจ้ำเลือดทั้งตัว และช็อก

 
     
                        การควบคุมและมาตรการป้องกัน                      
 
สำหรับเจ้าหน้าที่
   1) ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคติดเชื้อ สเตร็ปโตคอดคัส ซูอิส และให้รายงานเข้าระบบการเฝ้าระวังโรค ( รง.506 ) และออกสอบสวนควบคุมโรค กรณีมีผู้ป่วยเสียชีวิตหรือมีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน  
   2) ให้ความรู้แก่ประชาขนโดยอาศัยเครือข่าย อสม. , SRRT ตำบล เพื่อให้ประชาชนได้รู้และทราบถึงความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ

สำหรับประชาชน
   1) ดูแลสุขอนามัยส่วนส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงการจับสัมผัสหมูที่ป่วย หรือสวมถึงมือ และปิดแผลไม่ให้สัมผัสเชื้อ ล้างมือและฟอกสบู่ทุกครั้งที่สัมผัสเนื้อหมูดิบ  
    2) ปรุงอาหารที่มีส่วนประกอบของหมูควรทำให้สุก ผ่านความร้อนอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียน นาน 10 นาที ก่อนนำไปรับประทาน 
    3) ไม่ควรนำหมูที่ป่วยหรือตายมาบริโภคและควรนำไปทำลายอย่างถูกวิธี
    4) หากมีอาการป่วยที่สำคัญ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะหลังกินหมูดิบภายใน 3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน และต้องบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบหากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราเสียชีวิตและหูหนวกได้

               Link        https://dpc9.ddc.moph.go.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคหูดับจากหมู

เพชรบูรณ์เตือน เปิปสุก ๆ ดิบ ๆ ระวัง โรคหูดับ


 สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
          สธ.เพชรบูรณ์ เตือน คนชอบเปิปอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ระวังโรคหูดับ คุกคาม ปีนี้ตายไปแล้ว 5 ราย
          สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผย ข้อมูลตัวเลขผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือ โรคหูดับ ในปี 2553 ว่า ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - ปัจจุบัน มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 23 คน เสียชีวิตแล้ว 5 คน มากสุดที่อำเภอเมือง รองลงมาเป็นอำเภอเขาค้อ และอำเภอชนแดน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ และลาบดิบ หรือ รับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ที่ปรุงโดยใช้เลือดดิบ จากสถิติพบว่า จังหวัดภาคเหนือพบผู้ป่วยโรคหูดับมากขึ้น เนื่องจากยังมีคนบางกลุ่มนิยมกินลาบ ลู่ ซึ่งทำจากหมูดิบ ๆ โดยเฉพาะการนำมาแกล้มเหล้า

          ทั้ง นี้ โรคหูดับ นั้น เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็น โรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลง หรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด
          สำหรับการรักษา โรคหูดับ นั้นต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน ทั้งนี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

อัพเดทล่าสุด