มีเด็กคนไหนที่เป็นโรคหัวใจโตแล้วเสียชีวิต โรคหัวใจโตในเด็ก MUSLIMTHAIPOST

 

มีเด็กคนไหนที่เป็นโรคหัวใจโตแล้วเสียชีวิต โรคหัวใจโตในเด็ก


794 ผู้ชม


มีเด็กคนไหนที่เป็นโรคหัวใจโตแล้วเสียชีวิต โรคหัวใจโตในเด็ก

                 มีเด็กคนไหนที่เป็นโรคหัวใจโตแล้วเสียชีวิต

หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน
โดย : นพ.วรวุฒิเจริญศิริ

         หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ... 

อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดงด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หากหัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
  2. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะสำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลางระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอกจากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอกขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่งช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็นการให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

       Link   https://www.108health.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          โรคหัวใจโตในเด็ก

 

โรคหัวใจในเด็กสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ

HEART_ASDcombo2.jpg

1)โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด(Congenital heart disease) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในวัยทารกและวัยเด็ก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดใหญ่ของทารกในครรภ์ เป็นผลให้หน้าที่ของหัวใจผิดปกติจึงไม่สามารถสูบฉีดโลหิตเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเรื้อรัง

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ที่พบบ่อยคือ Ventricular septal defect , Tetralogy of Fallot , Patent ductus Arteriosus ,Atrial Septal Defect และ Pulmonary stenosis ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ

1.1 กลุ่มที่ไม่มีอาการเขียว ( Acyanotic ) คือกลุ่มที่มีการลัดวงจรของเลือดจากซ้ายไปขวา Left to right shunt เช่น Ventricular septal defect ( VSD) , Atrial Septal Defect
( ASD) รหือกลุ่มที่มีการตีบแคบ stenosis lesion เช่น Pulmonary stenosis
1.2 กลุ่มที่มีอาการเขียว (cyanotic )แบ่งตามเลือดที่ไปเลี้ยงปอด เช่น มีเลือดไปเลี้ยงปอดน้อย จาก ภาวะ Tetralogy of Fallot ( TOF), Pulmonary stenosis และ เลือดไปเลี้ยงที่ปอดมากเกินไปเช่น Transposition of great arteries ( TGA) Anomalous pulmonary venous connection (TAPVC)
2. โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquire Heart Disease)
เช่นกลุ่มอาการโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังได้แก่ การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจจากเหน็บชา โรคหัวใจรูมาติก โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจวาย เป็นต้น

ภาวะหัวใจวายชนิดเลือดคั่ง ( Congestive Heart Failure )

คือกลุ่มอาการที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอตามความต้องการ
สาเหตุ ในทารกและเด็ก newborn มักเกิดจากภาวะที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิด ในเด็กโตมักเกิดได้จากโรคหัวใจที่เกิดภายหลัง หรือมีภาวะ Volume load
อาการแสดง ในทารกจะพบว่าใช้เวลาในการดูดนมนาน ร่วมกับมีอาการหอบ มีเหงื่ออกมาก เลี้ยงไม่โต หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที ในทารกแรกเกิด และ มากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในทารก newborn พบร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก อาจพบตับโต ในเด็กโต มีหายใจเร็ว หอบเหนื่อย มีภาวะ Orthopnea ตับโต หัวใจโต
การรักษา พักบนเตียง งดอาหารเค็มจัดเพื่อลดการคั่งของโซเดียมในร่างกาย งดการออกกำลังกายหนัก ไม่จำเป็นต้องให้ยาขับปัสสาวะในรายที่ไม่บวมมาก อาจให้ยาพวก digitalis เพื่อเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ

Pulmonary Edema

คือภาวะที่มีสารน้ำรั่วจากหลอดเลือดฝอยเข้ามาในปอด intestinal space จำนวนมาก เกินความสามารถของ Lymphatic system ที่จะกำจัดออก
การดูแลรักษา
-ให้ออกซิเจน
-จัดท่านอนหัวสูง และห้อยเท้าลง เพื่อให้เลือดดำไหลกลับสู่หัวใจปริมาณลดลง
-ให้ยาขับปัสสาวะ และยาตัวอื่น
-Supportive

Atrioventricular canal defect

เกิดจากความผิดปกติของ endocardial cushion ซึ่งในภาวะปกติจะพัฒนาไปเป็น
1.ส่วนล่างของ ผนัง atrium ไปปิด Foramen primum
2.ส่วนต้นของ Ventricular septum
3.Septal leaflet ของลิ้นไตรคัสปิด
4.Anterior leaflet ของลิ้น Mitral
อาการแสดง มักพบร่วมกับ เด็กที่มีภาวะ Down syndrome อาการแสดงคือมีภาวะหัวใจวายได้บ่อยภายในอายุ 2 เดือน

Ventricular septal defect

คือภาวะบกพร่องแต่กำเนิดที่ผนังกั้นระหว่าง Ventricle เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก แบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อยๆคือ
1.ชนิดใต้ลิ้น Pulmonary
2.พบบ่อยที่สุดคือบริเวณ membranous septum
3.Inlet หรือ AV ?canal
4.ชนิด Muscular มีความผิดปกติที่บริเวณผนังกั้นส่วนที่เป็น กล้ามเนื้อ
ถ้าแบ่งตามขนาดอาจแบ่งเป็น ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่
อาการและอาการแสดง ขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ลัดวงจร ถ้ารุขนาดเล็กไม่แสดงอาการมาก รุขนาดปานกลางเด็กจะมีอาการเหนื่อยง่าย ตัวเล็ก และติเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ถ้ารูขนาดใหญ่อาจพบเขียวได้เล็กน้อยเวลาร้อง หัวใจโต อาจแสดงภาวะหัวใจวาย

การรักษา รูอาจจะเล็กลงเมื่อเด็กโตขึ้น ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเสียก่อน เช่นถ้ารูขนาดใหญ่โอกาสเกิดหัวใจวายได้ง่าย การรักษาขณะที่รอผ่าตัด ก็ให้ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยพยุงอาการหัวใจวายให้ดีขึ้น

Patent Ductus arteriosus ( PDA)

Ductus arteriosus คือหลอดเลือดแดงที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของ Ascending aorta กับส่วนต้นของหลอดเลือดแดง Pulmonary เป็นทางนำเลือดแดงจาก Pulmonary ไปสู่ Ascending aorta เมื่อทารกคลอด Ductus arteriosus จะปิดภายใน 20 ชม. แต่ในทางกายวิภาคจริงๆ ใช้เวลาถึง 2-8 สัปดาห์ ในคนที่ไม่ปิดเลือดแดงจาก Aorta ก็จะไหลเข้าสู่ เลือดแดงในPulmonary ได้ เรียกว่า PDA ซึ่งเลือดจะไหลมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่ว
อาการแสดง ขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่วเช่นเดียวกับ VSD พบหัวใจวาย เหนื่อยหอบได้สูงในเด็กที่มีรูรั่วขนาดใหญ่ อาจมีเขียวเล็กน้อย เป็น Left to right shunt

Coarchtation of Aorta

เกิดจากการหนาตัวเป็นขอบชั้น media ของ aorta
อาการแสดง พบภาวะหัวใจวายได้

Tetralogy of Fallot

คือการที่ตำแหน่งของ Infundibular septum อยู่ผิดที่ มีผลทำให้ Infundibular ของ ventricle ตีบแคบ Aorta มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียวในเด็กที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากมีการอุดกั้นที่ ventricle ขวาจาก Pulmonary stenosis ร่วมกับมี VSD ดังนั้นจะมีเลือดลัดจากวงจร ขวาไปซ้าย Right to Left shunt
อาการแสดง ผู้ป่วยจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อเดิน เขียวเวลาออกแรง เวลาเหนือ่ยจะนั่งยองๆ ( Squatting) อาจจะมีกลุ่มอาการ hypoxic spell กล่าวคือเขียวมากขึ้นเป็นพักๆ หายใจหอบลึก ถ้าเป็นมากหมดสติและ ชักได้

Tricuspid atresia

เป็นภาวะที่มีการตีบตัน ของลิ้น Tricuspid ทำให้ไม่มีช่องต่อระหว่าง เอเตรียมขวาและเวนตริเคิลขวา แต่จะมีทางเชื่อมต่อระหว่างเอเตรียมขวาและเอเตรียมซ้าย ซึ่งจะเป็น Foramen Ovale ดังนั้น Atrium ซ้ายจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากต้องรับเลือดทั้ง Atrium ขวา และซ้าย
อาการแสดง เขียวภายในอายุ 1 เดือน เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีอาการของ hypoxic spell
การดูแลรักษา ประคับประคองเพื่อรอผ่าตัด

การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
พบได้น้อยในเด็ก อาการแสดงคือ เด็กจะมีประวัติเหนื่อยง่าย

       Link    https://www.susheewa.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด