โรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากสาเหตุใด โรคดาวน์ซินโดรมสาเหตุ โรคดาวน์ซินโดรม เกิดจากสาเหตุ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากสาเหตุใด โรคดาวน์ซินโดรมสาเหตุ โรคดาวน์ซินโดรม เกิดจากสาเหตุ


801 ผู้ชม


โรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากสาเหตุใด โรคดาวน์ซินโดรมสาเหตุ โรคดาวน์ซินโดรม เกิดจากสาเหตุ

 

อาการของโรค เด็กดาวน์หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซมโครโมโซมจะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23คู่หรือ46แท่งมีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่นผมสีดำตัวเตี้ยตัวสูงเพศชายเพศหญิงและถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลานโดยจะได้จากบิดา23แท่งมารดา23แท่ง โรคนี้มีรายงานเป็นปีแรก ค.ศ.1866 โดยนายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Langdon HayDen Down

ลักษณะของโรค บิดามารดามักจะได้รับคำบอกเล่าจากสูติแพทย์ หรือกุมารแพทย์ตั้งแต่แรกแล้วว่าบุตรของตนเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ทาารกในกลุ่มอาการดาวน์จะมีหน้าตาและลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้เมื่อแรกพบ ได้แก่ Mongolian slant eyes, flat nasal bridge, open mouth, fifth finger clinodactyly, wide 1-2 toe gap, simian crease, hypotonia

 

 

รูปแสดงพัฒนาการของ Embryo จนถึงคลอด

 ที่มาhttps://www.he.net/~altonweb/cs/downsyndrome/fig201.gif

อาการและลักษณะของโรคแยกตามระบบต่างๆ

1.ลักษณะทั่วไปเด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือศีรษะเล็ก หน้าแบนสันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้นหูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น

2.ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน

3.ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น

4.ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย

 5.ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง

6.ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ

7.ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี

8.ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ

9.ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ

10.ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน

การเจริญเติบโตและภาวะปัญญาอ่อน

1.Cognitive development ความสามารถทางด้านความจำของกลุ่มอาการดาวน์จะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในวัยเด็ก แต่จะค่อยลดลง เด็กดาวน์ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในระดับสติปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงสติปัญญาอ่อนปานกลางปัจจุบันพบว่าพัฒนาการของเด็กดาวน์ดีขึ้นเนื่องจากมีสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้น

2.Motor development พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาช้ากว่าปกติ พัฒนาการของเด็กดาวน์แต่ละคนจะแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะ hypotonia และความรุนแรงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

3.Language development พัฒนาการทางด้านภาษาค่อนข้างช้ามา สาเหตุมาจาก เด็กเหล่านี้มักมีลิ้นใหญ่ หรือมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจที่บ่อยและเรื้อรังทำให้เกิดการอุดกั้นของช่องจมูกนอกจากนี้อาจเกิดมาจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการพูด

4.Social development ความสามารถทางด้านสังคมของเด็กกลุ่มดาวน์ค่อนข้างจะดีแต่ก็ยังมีข้อแตกต่างจากเด็กที่มีพัฒนาการปกติ แต่จะมีลักษณะของระดับสติปัญญาอยู่ในระดับอ่อนเล็กน้อย(IQ 50-70)และอ่อนระดับปานกลาง(IQ 35-50)มีน้อยรายที่จะมีสติปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์

สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 800 ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ

1. Trisomy 21 ความผิดปกติชนิด Trisomy 21

พบได้ร้อยละ 95 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ มีสาเหตุมาจาก nondisjunction ซึ่งประมาณร้อยละ 90 พบว่าเกิดจาก nondisjunction ในกระบวนการ meiosis I ของมารดา แม้ว่าโรคนี้จะเกิดได้กับมารดาในทุกช่วงอายุ แต่โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของมารดา สาเหตุการเกิดคาดว่าอาจเกิดจาก ovum ของมารดาที่มีอายุมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด nondisjunction ได้สูง ไม่พบว่าอายุของบิดาที่มากขึ้นเกี่ยวข้องกับอุบัติการของโรคนี้ โอกาสเสี่ยงในการเกิดซ้ำในกรณีที่มีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์แล้ว 1 คน ในมารดาที่อายุน้อยโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคซ้ำประมาณร้อยละ 1 และในมารดาที่อายุมากโอกาสเสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 1 บวก maternal age risk ซึ่งโอกาสเสี่ยงดังกล่าวจะสูงกว่าประชากรทั่วไปเนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจาก gonadal mosaicism ได้ เนื่องจากบิดา มารดาของผู้ป่วยมักจะมีโครโมโซมปกติดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมของบิดา มารดา

 

2. Translocation ความผิดปกติชนิด translocation พบได้ประมาณร้อยละ 4 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ แต่คิดเป็นร้อยละ 9 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ ที่เกิดจากมารดาที่อายุน้อยกว่า 30 ปี เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมาไปเชื่อมติดกับโครโมโซมชนิดที่เป็น acrocentric chromosome เรียกว่า Robersonian translocation ที่พบบ่อยได้แก่ translocation ของโครโมโซมคู่ที่ 14 กับคู่ที่ 21 รองลงมาคือคู่ที่ 21 กับคู่ที่ 22, 13 และ 15 ตามลำดับ ส่วนชนิดที่พบได้น้อยที่สุดคือคู่ที่ 21 กับคู่ที่ 21 พบว่าครึ่งหนึ่งของความผิดปกติชนิด translocation เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (de novo) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดาที่เป็นพาหะ (balanced translocation carrier) ลักษณะอาการทางคลินิกจะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเด็กกลุ่มอาการดาวน์ที่มีสาเหตุจาก Trisomy 21 กับชนิดที่เกิดจาก translocation อายุของมารดาไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดในกรณีนี้ อัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำขึ้นอยู่กับว่าโครโมโซมของบิดาหรือมารดาผิดปกติด้วยหรือไม่ ในกรณีที่บิดาและมารดามีผลโครโมโซมที่ปกติโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 1 แต่ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสเสี่ยงขึ้นอยู่กับว่าความผิดปกตินั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดา ในทางทฤษฎีจะพบความผิดปกติของ translocation ได้ 4 แบบคือ Down syndrome, ปกติ, balanced translocation carrier และ monosomy 21 แต่เนื่องจาก monosomy 21 จะไม่มีชีวิตรอด ดังนั้นโอกาสที่จะพบว่าเป็น Down syndrome เท่ากับ 1 ใน 3 แต่จริง ๆ แล้วอุบัติการที่พบว่าลูกเป็น Down syndrome จะต่ำกว่านี้มาก ขึ้นอยู่กับว่าบิดาหรือมารดา เป็นพาหะของโรค ซึ่งอัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำของโรคในกรณีนี้จะใช้ empirical risk (เป็นค่าที่ได้จากการศึกษาในประชากร) ในการบอกถึงโอกาสเกิดซ้ำ ถ้ามารดาเป็นพาหะโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 10-15 แต่ถ้าบิดาเป็นพาหะโอกาสเสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 1-2 แต่ถ้าบิดาหรือมารดาเป็นพาหะชนิด 21/21 โอกาสเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 100 เพราะฉะนั้นถ้าตรวจพบว่าเด็กกลุ่มอาการดาวน์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมชนิด translocation ต้องตรวจโครโมโซมของบิดา มารดาทุกราย

3. Mosaicism ความผิดปกติชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 1 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โดยพบว่ามีเซลล์ที่ปกติปนกับเซลล์ชนิด trisomy 21 สาเหตุการเกิดมักเป็นผลจากการที่ normal zygote มีการแบ่งตัวแล้วเกิด mitotic nondisjunction ขึ้นทำให้เกิด trisomy 21 cell line ขึ้นมาหรือเกิดจาก trisomy 21 zygote แบ่งตัวแล้วเกิด mitotic nondisjunction ทำให้เกิด normal cell line ขึ้นมา การตรวจหา trisomic cells จาก peripheral blood lymphocyte โดยทั่วไปจะพบต่ำกว่าใน skin fibroblast culture ในคน ๆ เดียวกัน ลักษณะความผิดปกติภายนอก ระดับสติปัญญาและพัฒนาการโดยทั่วไปมักจะดีกว่าในรายที่เป็น full trisomy แต่อย่างไรก็ตามเด็กกลุ่มอาการดาวน์ที่มีสาเหตุจาก mosaicism จะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันตั้งแต่ typical Down syndrome ไปจนถึง very subtle dysmorphic features การคาดเดาความรุนแรงจากสัดส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติ อาจจะไม่ถูกต้อง แต่โดยทั่วไปอาจคาดได้ว่าถ้าพบเซลล์ที่ผิดปกติน้อย พยากรณ์ของโรคอาจจะดีกว่าในรายที่พบสัดส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติมาก อัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำในบุตรคนถัดไปเหมือนกับกลุ่มอาการดาวน์ชนิด trisomy 21

           สาเหตุบางสาเหตุเกิดจากสภาพการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้หญิงจำนวนมากแต่งงานช้า และตั้งครรภ์อายุมากขึ้น เป็นสาเหตหนึ่งที่ทำให้เด็กในครรภ์และเด็กที่คลอดออกมา มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะโรคดาวน์ซินโดรม หรือโรคพิการทางสมอง พบว่า ในแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ลูกจะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 1,000 อายุ 35 ปี ขึ้นไป จะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 300 อายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 100 และหากอยุ 45 ปีขึ้นไปโอกาสผิดปกติ 1 ใน 30 สาเหตุหนึ่งมาจากความผิดปกติของไข่ที่จะเสื่อมสภาพตามอายุ

อุบัติการณ์ อายุ 15-19ปี 1:1560 อายุ 25ปี 1:1350  อายุ29ปี 1:1010  อายุ 30ปี  1:890  อายุ 32ปี 1:660  อายุ 35ปี 1:355 อายุ 36 ปี1:280  อายุ 40 ปี1:97  อายุ45 ปี 1:23  อายุ 50ปี 1:5

                  คู่สมรสที่มีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์แล้ว 1 คน มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์อีกสูงขึ้นกว่าคู่สมรสที่ยังไม่เคยมีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์ อัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำในบุตรคนต่อไปต่างกันไปขึ้นกับชนิดของอาการดาวน์ซินโดรมและความเป็นพาหะในพ่อและแม่ แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง มีโอกาสเกิดโรคซ้ำในลูกคนต่อไปประมาณร้อยละ 1 แต่ถ้า โรคเกิดจากการเคลื่อนย้ายที่ผิดปกติโดยโครโมโซมคู่ที่ 21 ไปเกาะติดกับโครโมโซมตัวอื่น จะมีโอกาสเกิดโรคซ้ำจะสูงมาก

 

 

แหล่งที่มา : downsyndromeubu.exteen.com

อัพเดทล่าสุด