สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรโรคความดันโลหิตสูง MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรโรคความดันโลหิตสูง


572 ผู้ชม


สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรโรคความดันโลหิตสูง

 

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรโรคความดันโลหิตสูง

"คุณทราบหรือไม่ว่า...? ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนที่ไม่เป็นถึง 2-4 เท่า"


แน่นอนเราคงไม่ต้องการให้บุคคลใกล้ชิดที่เรารักหรือแม้กระทั่งตัวเราเองต้องประสบเหตุการณ์เช่นนี้ ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักวิธีการป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ
 
ความดันโลหิต หมายถึง ความดันภายในหลอดเลือดแดง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ความดันตัวบน เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจทำการบีบตัว เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ของร่างกาย
2. ความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตที่วัดได้ในระหว่างหัวใจคลายตัว

ตัวอย่าง
เช่น ความดัน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันตัวบนคือ 120 ส่วนความดันตัวล่างคือ 80

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง สมุนไพรโรคความดันโลหิตสูง
การวัดระดับความดันโลหิตควรวัดขณะพัก หากเกิดอาการ ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ หรือมีการออกกำลังกายค่าความดันโลหิตจะสูงขึ้น และจะมีค่าต่ำลงในระหว่างการพักหรือนอนหลับ ระดับความดันจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และจะมีระดับสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น น้ำหนักมากเกินไป การดื่มสุรา หรือมีอารมณ์เครียดแต่ไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
โรคความดันโลหิตสูง
คือความดันตัวบน มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท ตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตต่ำที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่อมีอาการเวียนศรีษะง่ายนั้นไม่ใช่โรคและเป็นภาวะปกติที่ความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ความดันตัวบนไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท) แต่ค่อนข้างต่ำ ทำให้มีอาการวิงเวียนได้ง่าย ซึ่งแก้ไขได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรคความดันโลหิตสูงถ้าร่างกายอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้อายุขัยสั้นลง เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดหลายๆ โรค เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย
แต่ถ้าได้รับการรักษาความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม จะสามารถลดอัตราการตายลงได้ ซึ่งปัญหาของโรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการสูญเสียชีวิต และงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง มี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 (Essential)

พบประมาณ 90% ของคนไข้ทั้งหมด ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลีอดตามอายุ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องควบคุมความดันอย่างสม่ำเสมอ
ประเภทที่ 2 (Secondary)
พบประมาณ 5-10% มีสาเหตุชัดเจน เช่น จากไต หลอดเลือด ต่อมไร้ท่อ ยา ฯลฯ ถ้ารักษาสาเหตุได้ก็สามารถหายขาดได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค
    • อายุมากขึ้นความเสี่ยงต่อโรคก็มากตามไปด้วย
    • กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ ประวัติครอบครัว ความอ้วน
    • ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
    • ความเครียด ฮอร์โมน ยาบางชนิด
      การป้องกัน
โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น ความอ้วน แอลกอฮอล์ ความเครียด และยาบางชนิด แต่ปัจจัยบางอย่างเช่น อายุ กรรมพันธุ์ ไม่สามารถแก้ไขได้

    • การรักษา ประกอบด้วย 2 ส่วนซึ่งต้องทำไปพร้อมๆ กัน โดย
      1. ปรับวิถีการดำเนินชีวิตประกอบด้วย
          การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
ควรเริ่มด้วยการจำกัดอาหารเค้ม ไม่ปรุงอาหารที่สำเร็จแล้วด้วยน้ำปลาหรือซีอิ้ว รับประทานผัก
    และผลไม้ให้มากๆ(ในผักและผลไม้อุดมไปด้วยแร่ธาตุ โปแตสเซียม ซึ่งการวิจัยพบว่าจะสามารถช่วยลด ความดัน
    โลหิตได้ดี และยังลดโอกาสเกิดโรคอัมพาตได้)นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อุดมด้วยไขมัน ได้แก่ มันสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อติดมัน ของทอด 
    กะทิ รวมทั้งครีมเทียม ควรเลือกรับประทานเนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อไม่ติดมัน และนมพร่องมันเนยแทน

    •     การลดน้ำหนัก
น้ำหนักตัวจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีน้ำหนักมาก การลดน้ำหนัก
    เพียง 4-5 กก. ก็สามารถลดความดันโลหิตลงได้อย่างชัดเจน รวมทั้งเพิ่มฤทธิ์ของยา ลดความดันโลหิต
    ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ด้วย

    •     จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มากเกินไป เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดความดันโลหิต
    สูง ทำให้ความดันโลหิตสูงที่มีอยู่แล้วรักษาได้ยากขึ้น ในคนที่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อยู่แล้ว ควร
    จำกัดปริมาณการดื่มลง โดยไม่เกินวันละ 30 ซีซี

    •     การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรเป็นการออกกำลังกายที่หนักพอสมควร (คือจนมีเหงื่อออก,หัวใจเต้นเร็วขึ้น) ต่อเนื่องอย่าง
    น้อย 20-30 นาที และทำอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยเริ่มจากวันละน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้น จะทำ
    ให้ความดันลดลงได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ในผู้ที่ความดันโลหิต
    สูงมากๆ หรือมีโรคหัวใจอยู่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

    •     การงดสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่นอกจากทำให้ความดันสูงขึ้นในการสูบบุหรี่แต่ละมวนแล้วยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
    ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดจึงควรงดสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นของ
    น้ำหนักซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่เลิกบุหรี่

    • 2. การใช้ยา
การใช้ยาควบคุมความดันโลหิต มีหลายชนิดแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละ
    ราย โรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถรักษาให้หายได้ จึงจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกัน
    ความเสื่อมหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ


แหล่งที่มา : ladpraohospital.com

อัพเดทล่าสุด