https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ปัสสาวะมีกลิ่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ MUSLIMTHAIPOST

 

ปัสสาวะมีกลิ่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ


100,185 ผู้ชม

แพทย์แผนปัจจุบัน ขอกความผิดปกติของปัสสาวะมักเน้นหนักไปที่การดูส่วนประกอบในรายละเอียดทางเคมี และการตรวจพบสิ่งตรวจพบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่น บอกภาวะของความต่างจำเพาะ ภาวะเป็นกรดด่าง การมีปริมาณกลูโคส โปรตีน ยูเรีย เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น


ปัสสาวะมีกลิ่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ปัสสาวะมีกลิ่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ความผิดปกติของปัสสาวะในความหมายของแพทย์แผนจีน

          แพทย์แผนปัจจุบัน ขอกความผิดปกติของปัสสาวะมักเน้นหนักไปที่การดูส่วนประกอบในรายละเอียดทางเคมี และการตรวจพบสิ่งตรวจพบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่น บอกภาวะของความต่างจำเพาะ ภาวะเป็นกรดด่าง การมีปริมาณกลูโคส โปรตีน ยูเรีย เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น

         แพทย์แผนจีนไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ อาศัยการดูสี ดูปริมาณ ถามความถี่บ่อยของการปัสสาวะ ความรู้สึกในการถ่าย ดมกลิ่นของปัสสาวะ เพื่อบอกความผิดปกติ ไม่สามารถบอกรายละเอียดที้ชัดเจน
ความผิดปกติพิจารณา ๕ ด้าน คือ
         ๑.  ปริมาณ
         ๒.  ความถี่ หรือจำนวนครั้งของการปัสสาวะ
         ๓.  สีของปัสสาวะ
         ๔.  ความรู้สึกผิดปกติขณะปัสสาวะ
         ๕.  กลิ่นปัสสาวะ


ความผิดปกติของปริมาณปัสสาวะ

       ปริมาณปัสสาวะมากเกินไปบ่งบอกถึง พลังของไต หรือหยางของไตพร่อง ทำให้การดึงกลับของน้ำลดลง
• ถ้าปัสสาวะมากและใส ร่วมกับมือ-เท้าเย็นกลัวหนาว บ่อบอกว่า ไตหยางพร่อง
• ถ้ากระหายน้ำ คอแห้งถึงจุก ปัสสาวะมาก บ่งบอกถึงโรคเซียวเข่อ (เบาหวาน) ที่มีผลต่อการทำงานของไต (เซี่ยเจียว) เป็นภาวะไตยินพร่อง
ปริมาณปัสสาวะน้อยไป บ่งบอกถึง
• ภาวะของร่างกายมีความร้อนภายในมาก
• ภาวการณ์สูญเสียสารน้ำในร่างกาย เช่น ท้องเสีย อาเจียน เหงื่อออกมาก
• ภาวะของอวัยวะภายใน ปอด ม้าม ไต อ่อนแอ พลังหยางของอวัยวะภายในเหล่านี้ไม่สามารถทำให้เกิดปัสสาวะได้ (ภาวะช็อกเนื่องจากขาดเลือดที่มาหล่อเลี้ยงไต)

ความผิดปกติของความถี่ในการปัสสาวะ

• ปัสสาวะเข้ม (เหลืองน้ำตาล) ร่วมกับอาการปวดเบ่ง ปวดบ่อยๆ บ่งบอก ภาวะร้อนชื้นของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
• ปัสสาวะใส ปัสสาวะถี่ บ่งบอก พลังไตไม่พอขาดแรงพยุงดึงรั้งปัสสาวะ
• ปัสสาวะตอนกลางคืน ปริมาณมาก ใส บ่อย บ่งบอก ภาวะไตวายระยะท้าย หรือคนสูงอายุ (พลังไตอ่อนแอ) ไตทำหน้าที่ในการดึงกลับสารน้ำไม่ได้
• ปัสสาวะบ่อย ปริมาณน้อย ติดขัด บ่งบอกภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากความร้อนชื้น เลือดอุดกั้น หรือคนสูอายุ (ต่อมลูกหมากโต) เนื่องจากพลังหยางของไตอ่อนแอ
 
ความรู้สึกผิดปกติขณะปัสสาวะ
• ปวดขณะปัสสาวะ ลักษณะปวดเบ่ง ปวดแสบ ปัสสาวะลำบาก บ่งบอกภาวะร้อนชื้นของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
• ปวดแบบกลวงๆ ว่างเปล่า ภายหลังการถ่ายปัสสาวะ บ่งบอกภาวะไตพร่อง (พบในคนสูงอายุ)
• ปัสสาวะหยดไม่ค่อนหยุดหลังจากปัสสาวะแล้ว บ่งบอก ไตอ่อนแอ
• กลั้นปัสาวะไม่อยู่ บ่งบอกภาวะพลังไตไม่สามารถดึงรั้งปัสสาวะได้ ถ้าพบในรายหมดสติ บ่งบอกภาวะช็อก หรือโคม่า
• ปัสสาวะระที่นอน บ่งบอกภาวะไตอ่อนแอ เช่น ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ขวบ หรือผู้ป่วยที่ร่างกายสูญเสียพลังพื้นฐานอย่างรุนแรง
      กลิ่นของปัสสาวะ ปกติปัสสาวะจะมีภาวะเป็นกรด ไม่มีกลิ่นชัดเจน ถ้าทิ้งไว้นาน สารยูเรียในปัสสาวะจะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย

กลิ่นปัสสาวะผิดปกติแบ่งเป็น ๔ ประเภท

• กลิ่นคาวปลา มักเกี่ยวกับปัสสาวะที่ใส ถ้ามีอาการกลัวหนาว มือ-เท้าเย็น บ่งบอก ภาวะหลังไตพร่อง
• กลิ่นสาบ มักเกี่ยวกับปัสสาวะเหลืองข้น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะปวดเบ่ง บ่งบอกภาวะร้อนชื้นของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
• กลิ่นเหม็นเน่า ปัสสาวะมักขุ่นมีเลือดปน มักเกิดจากเนื้องอกกระเพาะปัสสาวะที่มีการอักเสบร่วม
• กลิ่นแอปเปิ้ลเน่า มักพบในผู้ป่วยเบาหวานรุนแรง หรือไตวาย

ปัสสาวะมีกลิ่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ


สรุป
ปัสสาวะเป็นผลจากการทำภาวะร้อนชื้นของกระเพาะปัสสาวะ หมายถึง ภาวะอักเสบ
ภาวะไตพร่อง หมายถึง การทำงานของไตลดน้อยลง
ภาวะความร้อนทำลายหลอดเลือด หมายถึง การอักเสบและมีเลือดออก
          โรคที่มีความจำเพาะ โดยเฉพาะการติดเชื้อ ต่อมลูกหมากโต การมีเลือดออกจากนิ่วหรือการอักเสบ การมีเนื้องอก เป็นต้น ต้องใช้หลักการวินิจฉัยโรคแบบแผนปัจจุบัน และวิเคราะห์ภาวะโรคความเสียสมดุลแบบแผนจีน การรักษาสามารถใช้การผสมผสานทั้ง ๒ แผน เพราะการอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ การเกิดนิ่วก็ดี ต่อมลูกหมากโตก็ดี ล้วนเกี่ยวพันกับภาวะสมดุลของการขับถ่าย แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงการไม่ไปเพิ่มภาวการณ์ทำงานของไตมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรหรือยาเคมี

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด