โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคกรดไหลย้อนในเด็ก แผ่นพับโรคกรดไหลย้อน MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคกรดไหลย้อนในเด็ก แผ่นพับโรคกรดไหลย้อน


832 ผู้ชม


โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคกรดไหลย้อนในเด็ก แผ่นพับโรคกรดไหลย้อน

 

โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคกรดไหลย้อนในเด็ก แผ่นพับโรคกรดไหลย้อน
น่ารู้! กรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อนในทารกอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ไว้และเฝ้าระวังค่ะ เพราะขนาดผู้ใหญ่อย่างเราๆ เมื่อมีอาการกรดไหลย้อนยังรู้สึกไม่สบายตัวและแย่มากๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วหาก กรดไหลย้อนในทารก ล่ะลูกเราคงรู้สึกแย่มากๆ เช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ลูกน้อยให้มากๆ หากว่าเกิด กรดไหลย้อนในทารก แล้วคุณพ่อคุณแม่มีวิธีการจัดการอย่างไร หรือมีวิธีการดูแลอย่างไรกันบ้านค่ะ หากว่ายังไม่รู้เรื่องของโรคกรดไหลย้อนในทารกแล้วล่ะก็ วันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องกรดไหลย้อนในทารกมาฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยที่น่ารักของคุณอีกด้วยค่ะ

 

 

กรดไหลย้อนในทารก คืออะไร

ภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะทราบได้จากการที่ทารกมีอาการแหวะนม ซึ่งปกติทารกในขวบปีแรกอาจจะมีการแหวะนมเพียงนิดหน่อยก็คงไม่ต้องกังวล แต่หากว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติ เช่น แหวะนมออกมาเยอะมากหรือแหวะนมบ่อย อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีภาวะกรดไหลย้อนที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากการแหวะนม เช่น ปอดอักเสบแบบเป็นๆ หายๆ การไอเรื้องรัง ไอเสียงดังหรือหายใจเสียงดังมากๆ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในเด็กเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร (ทำหน้าที่เปิดให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารและปิดเมื่อกินอาหารเสร็จ) ยังไม่แข็งแรง เมื่อลูกอิ่มนมเสร็จแล้วหูรูส่วนปลายหลอดอาหารปิดไม่สนิท จึงทำให้นมหรืออาหารรวมทั้งกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทำให้ลูกมีอาการต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

 

 

โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคกรดไหลย้อนในเด็ก แผ่นพับโรคกรดไหลย้อน

 

 

อาการของทารกที่มีภาวะกรดไหลย้อน

- แหวะนมหรืออาเจียนบ่อยและรุนแรง
- ปฏิเสธการป้อนนมหรืออาหาร
- ลูกแสดงความรู้สึกหงุดหงิดง่ายหรือร้องกวนมากกว่าปกติ มักจะเป็นหลังการป้อนนมหรืออาหาร
- น้ำหนักลดหรือไม่ขึ้นตามเกณฑ์
- ไอบ่อย ไอเรื้อรัง และหายใจเสียงดังหรือหายใจลำบาก
- ลูกมีอาการกลั้นหายใจหรือไม่ หายใจในช่วงที่เกิดภาวะกรดไหลย้อน
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เลือดจาง อาเจียน เป็นเลือด เสียงแหบ ปอดติดเชื้อบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยที่ไม่มีอาการแหวะนมเลย หากลูกมีอาการต่างๆ ดังนี้ ควรปรึกษาคุณหมอโรคทางเดินอาหารเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องต่อไปค่ะ

ป้องกันกรดไหลย้อนให้ทารกได้ง่ายนิดเดียว

- ให้นมมื้อละน้อยแต่บ่อยขึ้น
- ปรับท่าการให้นมลูก คือ ต้องยกหัวให้สูงขึ้นกว่าปกติ
- อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม จะช่วยลดภาวะกรดไหลย้อนได้
- ให้ลูกนอนหัวสูงสัก 15-30 องศา และตะแคงซ้าย เพราะกระเพาะอาหารอยู่ค่อนทางซ้ายจะได้อยู่ต่ำกว่าหลอดอาหาร เพื่อกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ โดยใช้หมอนยันตัวลูกไว้ไม่ให้พลิกมานอนหงาย
- หมั่นสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น หอบหืด ไอเสียงดัง ไอเรื้อรังหรือว่ามีปอดอักเสบบ่อยๆ

แหล่งที่มา : n3k.in.th

อัพเดทล่าสุด