https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด


733 ผู้ชม


วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด

 

โรคหอบหืด 
กับ..การดูแลตนเอง

วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด

      โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้ผนังหลอดมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ และพบมากในคนที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
อาการ
      - ไอ แน่นหน้าอก- เสมหะมาก- หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองหรือไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
สาเหตุ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด
      - สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง , เกสรดอกไม้ , ขนสัตว์ , อาหารทะเลบางชนิด- ควันพิษและมลพิษอื่น ๆ เช่น ควันบุหรี่ สารเคมี หรือฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม- ความเย็น ความชื้น- การติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น ติดเชื้อไวรัส- ความเครียด 

การดำเนินของโรค
      ภาวะหอบหืด ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม หลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ เกิดมีการหดเกร็งตัวของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม และมีการขับเมือกออกมา ซึ่งถ้าเป็นรุนแรง อาจก่อให้เกิดการหายใจล้มเหลว และสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง
การรักษา
      ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการให้ดี ทุเลาขึ้น มีทั้งยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ และ/หรือ ขยายหลอดลม ซึ่งมีในรูป 

ยาหอบหืดที่ควรรู้จัก
       คือ1. ยาขยายหลอดลม จะใช้เมื่อมีอาการจับหอบ เพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ยานี้ช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ยาออกฤทธิ์ภายใน 5-10 นาที และออกฤทธิ์อยู่ประมาณ 4-6 ชั่วโมง
อาการข้างเคียงของยา
       ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูด ไม่ค่อยมีอาการข้างเคียงใด ๆ เพราะยาออกฤทธิ์โดยตรง ต่อปอด ตัวอย่างยาที่ใช้- กลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ เช่น Salbutamol (Ventolin) Terbulatine (Bricanyl)- กลุ่มแอนตี้โคลิเนอจิกส์ เช่น Ipratropium Bromide2. ยาควบคุมป้องกัน (Inhaled Carticosteroids) ยาชนิดนี้ ควรใช้ทุกวัน แม้ไม่มีอาการหอบ ต้องใช้พ่นสูด " ตามเวลาที่แพทย์สั่ง " ถ้าหยุดยาเอง อาการอาจกลับกำเริบ และถ้าพ่นขณะหอบ ยาจะไม่ช่วยให้อาการทุเลายากลุ่มนี้ใช้ควบคุม และป้องกันการบวม หรือการอักเสบของหลอดลม เพราะการบวมเป็นสาเหตุให้หลอดลมตีบแคบ มีเสมหะ หายใจลำบาก
อาการข้างเคียงของยา
       การใช้ยา อาจเกิดอาการระคายคอ เสียงแหบแห้ง ควรบ้วนปากด้วยน้ำหลังพ่นสูดยา แต่ละครั้ง ยาสเตียรอยด์ แม้จะเข้าสู่ร่างกายปริมาณน้อย แต่ก็สามารถรักษาอาการหอบหืดได้ ตัวอย่างยาที่ใช้- Beclomethasone (Beclofote) (Becotide)- Budesonide (Pulmicort)
ข้อสังเกต เพื่อป้องกันการหยิบใช้ยาผิดประเภท
      - ยาพ่นสูดทุกวัน ตัวหลอดมักเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล- ยาพ่นสูดเมื่อจับหอบ ตัวหลอดมักเป็นสีฟ้าหรือสีเทาหรือสีน้ำเงิน 

การสังเกตอาการตนเองอาการปกติ
      - ปฏิบัติงาน และออกกำลังได้ปกติ- นอนหลับได้ตลอดคืน
อาการกำเริบ
      - ไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติ- ตื่นมาหอบตอนกลางคืน- พ่นยาขยายหลอดลมบ่อยขึ้น- ได้ยินเสียงหวีดเวลาหายใจออก
อาการรุนแรง
      - ไอหอบมาก- แน่นหน้าอก หายใจไม่เข้าปอด- ไม่สามารถพูดให้จบประโยค- อาการกระสับกระส่าย- อาการเกิดรุนแรง และเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
การดูแลตนเอง
       เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง มีผลกระทบต่อ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม การรู้จักดูแลตนเองที่ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยลดภาวะหืดหอบที่รุนแรง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข การดูแลตนเองเมื่อเริ่มมีอาการ ย่อมดีกว่าเมื่อทิ้งไว้นาน และการป้องกันควบคุมมิให้มีอาการจับหืด ย่อมดีที่สุดโดย1. หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือสารก่อภูมแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่นในบ้านหรือที่นอน ควันบุหรี่ อาหารทะเล ฯลฯ2. ดื่มน้ำมาก ๆ วันละประมาณ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยในการละลายเสมหะ3. ผู้ป่วยโรคหอบหืดจำนวนมากไม่สามารถจะออกกำลังกายได้ดี หรือได้มากเท่า คนปกติ โดยจะเหนื่อย แน่นหน้าอกขึ้นมาภายหลังจากการออกกำลังกายไปพักหนึ่ง4. ออกกำลังกาย ควรทำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาจทำโดยถีบจักรยาน , เดิน , ว่ายน้ำ เป็นต้น และเมื่อมีอาการหอบ ควรหยุดออกกำลังกายทันที ดังนั้นก่อนการออกกำลังกาย อาจต้องใช้ยาขยายหลอดลม 5-10 นาที ก่อนการออกกำลังกาย และสังเกตตนเองว่าการออกกำลังกายประเภทใดทำให้เหนื่อยง่าย จึงควรออกกำลังกาย แต่พอควร และสม่ำเสมอ5. ฝึกหายใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยลดความรุนแรงขณะมีอาการหอบหืดได้ โดยการหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ทางปาก6. กินยา หรือพ่นยาตรงตามการรักษาของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น ทำให้โรคกำเริบได้7. ฝึกการบริหารปอด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ8. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อได้รับการตรวจสมรรถภาพของปอด เป็นระยะ 

ท่าที่ช่วยในการบริหารปอด
       ได้แก่
ท่าที่ 1
     ท่าหายใจด้วยท้อง หรือกระบังลม นอนหงายกับพื้น วางต้นแขนทั้ง 2 แนบลำตัว วางมือบนอก และท้อง งอเข่า 2 ข้าง- สูดหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก ให้หน้าท้องป่องออก และหน้าอกมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก- ผ่อนลมหายใจออกยาว ๆ ผ่านทางไรฟัน ในขณะที่ปากเผยอออกเพียงเล็กน้อย
วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด 	ท่าที่ 2 ท่าพักเหนื่อย จะช่วยให้เหนื่อยน้อยลง เมื่อหายใจไม่ค่อยสะดวก- นั่งพัก เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย- วางข้อศอกบนเข่า 2 ข้าง หายใจ เข้าและออกช้า ๆ หรือวิธี- นั่งพับเพียบ หมอนวางบนตัก-วางแขน และซบหน้าลงบนหมอน
วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด 	ท่าที่ 3 ท่าโน้มตัว- นั่งบนเก้าอี้ แล้วโน้มตัวลง มือแตะพื้นขณะหายใจออก- กลับยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แยกเป็นตัว V ขณะหายใจเข้า
วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด 	ท่าที่ 4

- มือ 2 ข้างประสานท้ายทอย ยกมือลงเอาศอกชิดกัน ขณะหายใจออก กางข้อศอก ขณะหายใจเข้า

วิธีออกกำลังกายของคนเป็นโรคหอบหืด ยา รักษา โรค หอบหืด การ รักษา โรค หอบหืด

ท่าที่ 5 ใช้ไม้เท้าในท่ายกแขน 2 ข้างขึ้น ขณะหายใจเข้าแล้วยกลงในขณะหายใจออก 


การพ่นยาที่ถูกวิธี

        การพ่นยาที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทา และป้องกันอาการได้ ยาที่นิยมใช้ คือ ยาในรูปยาพ่นสูด 

วิธีการใช้ยาพ่นสูด ควรปฏิบัติดังนี้
      1. เปิดฝาครอบออก2. เขย่ากระบอกยา 4-5 ครั้ง ก่อนสูดดม3. หายใจออก4. ถือกระบอกยาไว้ในลักษณะ กันขวดยาจะหันขึ้นข้างบน อมปากกระบอกยา และหุบปากให้สนิท5. กดก้นกระบอกยาลงจนสุด 1 ครั้ง พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ทางปากให้ละอองของยาเข้าไปในปอดช้า ๆ จนสุดการหายใจแล้ว กลั้นหายใจประมาณ 5-10 วินาที อาจโดยนับ 1-10 ในใจ6. เมื่อครบเวลา จึงนำกระบอกยาออกจากปาก แล้วหายใจออกช้า ๆ นับเป็นการพ่นสูดยา 1 ครั้ง7. เมื่อใช้เสร็จแล้ว สวมฝาปิดไว้ดังเดิมถ้าต้องการใช้ยาขยายหลอดลมพ่นซ้ำอีก ควรใช้หลังจากการสูดดมยาครั้งแรกประมาณ 1 นาที สำหรับในผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถสอนให้สูดดมยาตามวิธีดังกล่าวข้างต้นได้ การใช้หลอดต่อเข้ากับกระบอกพ่นยา ซึ่งทำให้การใช้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องรอจังหวะการพ่นกับการสูดหายใจ จึงช่วยให้การใช้ยาง่ายขึ้น1. ถอดฝาครอบออก2. สวมหลอดต่อกระบอกพ่นยา (โดยใช้ช่องเปิดทางด้านกว้าง) ฝาป้องกันฝุ่นสวมเข้าหลอดต่อทางปลายด้านเล็กอีกข้างหนึ่ง3. เขย่ากระบอกยาให้ยาเข้ากันได้ดี กดก้นกระบอกยาลงจนสุด 1 ครั้ง4. รีบถอดฝาป้องกันฝุ่นออก อมปลายหลอดต่อให้แน่น พร้อมสูดยาในหลอดต่อเข้าปากช้า ๆให้ลึกที่สุด5. กลั้นหายใจชั่วครู่ (2-3 วินาที)6. ถอดหลอดต่อออกจากกระบอกพ่นยา และปิดฝาเข้ากับกระบอกพ่นดังเดิม

ข้อมูล : หน่วยพัฒนาสุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

แหล่งที่มา : https://kanchanapisek.or.th

อัพเดทล่าสุด