สมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง สมุนไพรรักษาโรคพุ่มพวง โรคพุ่มพวง นศ.เชียงใหม่แมลงกัดตาย MUSLIMTHAIPOST

 

สมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง สมุนไพรรักษาโรคพุ่มพวง โรคพุ่มพวง นศ.เชียงใหม่แมลงกัดตาย


1,643 ผู้ชม


สมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง สมุนไพรรักษาโรคพุ่มพวง โรคพุ่มพวง นศ.เชียงใหม่แมลงกัดตาย

 

 โรค SLE หรือ โรคลูปัส  (Systemic Lupus Erythematosus : SLE) หายได้ด้วยธรรมชาติบำบัด

เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือ Autoimmune disease และย่อมาจากSystemic Lupus Erythematosus ที่เรียกเช่นนั้นเพราะโรคนี้ โดยรวมเกิดจากขบวนการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เกิดขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง (ซึ่งโดยปกติจะสร้างไว้เพื่อทำลายและป้องกันการติดเชื้อ)

แต่เมื่อภูมิต้านทานเพี้ยนไป ทำให้เกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อของร่างกายตนเอง การอักเสบจะเกิดได้กับอวัยวะต่าง ๆ ได้ แต่ในผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน 
ดังนั้นการรักษาจึงมักจะแตกต่างกันไป ก่อนจะทำการฟื้นฟูร่างกายของตนเอง เพื่อฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน เรามาทำความรู้จักโรค SLE กันอีกสักนิดว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร หรืออะไรคือสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้ฟื้นฟูได้อย่างถูกต้อง
Lupus_facial_rash
สาเหตุของโรค SLE 
สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า ระบบการควบคุมการสร้าง และทำลายภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ปกติ แต่ภูมิต้านทานที่สร้างขึ้นนั้น แทนที่จะทำลายเฉพาะเชื้อโรค แต่กลับทำลายเซลล์และเนื้อเยือของตนเองด้วย จึงเชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรค SLE นี้ได้ ดังนี้ 
1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-50 และร้อยละ 7-12 ของ ผู้ป่วย SLE เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน 
2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ 
3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด 
4. แพ้แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้ 
1204979158
สำหรับคนที่สงสัยว่า เป็นโรค SLE หรือไม่ อาจสังเกตุได้หลายอาการ ได้ดังนี้
1) ไข้เรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ 
2) มีอาการเพลียมากผิดปกติเป็นเวลานาน 
3) มีอาการเบื่ออาหาร รวมถึงน้ำหนักลด 
4) รู้สึกเพลียมากขึ้นหรืออาจมีผื่นขึ้นร่วมด้วยเมื่อถูกแสงแดด 
5) มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะที่หน้า และส่วนอื่นๆของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดจากผื่นแพ้ 
6) มีอาการปวด บวมตามข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าๆหลังตื่นนอน 
7) มีอาการผมร่วงมากขึ้น 
8) มีอาการบวมตามตัว ตามหน้า หรือ ตามเท้า 
9) โรคที่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน 
แต่จะให้ดี เมื่อสงสัยควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อและรูห์มาติก เพื่อทำการตรวจร่างกายจะดีกว่าที่จะวิตกกังวนไปเองนะค่ะ 


อาการโดยทั่วไปเบื้องต้น
- อาการทั่วไป พบอาการไข้ ร้อยละ 40-85 มักจะเป็นไข้ต่ำ ๆ และหาสาเหตุไม่ได้ 
นอกจากนี้จะมี 
อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ 
อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด อาการทางผิวหนังอีกอย่างหนึ่งของโรคนี้คือ ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น นอกจากนี้อาจพบผมร่วง และแผลในปากได้ 
อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็ก ๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ 
อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟองตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง 
อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้ 
อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิตนอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ 
อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอกโดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ 
อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยาสเตียรอยด์นาน ๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการ ได้รับยาสเตียรอยด์ 
อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์ 
การรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน 
        ยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ยากลุ่มหลักๆที่มักใช้ในการรักษาผู้ป่วย SLE มีดังนี้ 
1. ยากลุ่มลดการอักเสบหรือ NSAIDS
2. ยากดภูมิคุ้มกัน ในการรักษาอาการอักเสบของอวัยวะหลัก 
- ยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าใช้นานมีผลข้างเคียงมากมายและบางครั้งเป็นผลระยะยาวด้วย จึงทำให้มีการใช้ยาอื่น ทำให้แพทย์สามารถลดการใช้ยานี้ได้และในขณะเดียวกันสามารถคุมการอักเสบหรือโรคได้ 
- ยากลุ่มแก้มาลาเรีย เช่น hydroxychloroquine 
- ยารักษามะเร็ง แต่ใช้ในขนาดยาต่ำกว่า เพื่อหวังผลลดการอักเสบ เช่น azathioprine, cyclophosphamide, cyclosporin - A, mycophenolate mofetil เป็นต้น 
ผลข้างเคียงของยาใช้รักษา SLE แพทย์ผู้รักษาจะต้องอธิบายและปรึกษากับผู้ปกครองก่อนจะเริ่มใช้โดยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานผลข้างเคียง ระยะเวลาที่ใช้และข้อควรระวัง 


อาการข้างเคียงของยาที่ใช้ 
1. NSAIDS ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร บางรายเกิดแผลในทางเดินอาหาร ทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ยาสเตียรอยด์ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น จากการคั่งของเกลือและน้ำ และจากการรับประทานอาหารได้มากขึ้น 
2. Prednisolone ถ้าได้รับยาในขนาดสูง ๆ ต้องระวังปัญหาจากการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และถ้าได้รับยาเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักง่าย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ความรู้สึกทางเพศลดลง มีสิวขึ้น ปวดข้อที่เกิดจากหัวกระดูกขาดเลือด และเกิดลักษณะของกลุ่มอาการคุชชิ่ง ได้แก่ หน้ากลม ไหล่และคออูม ลำตัวอ้วน 
3. ยาต้านมาลาเรีย ( คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน ) อาจมีอาการตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน กลัวแสงหรือตาบอดสีหรือทำให้เลือดออกในจอตา ผู้ป่วยที่ใช้ยาเหล่านี้ต้องตรวจตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ทุก 6 เดือน นอกจากนี้อาจพบอาการเบื่ออาหาร ท้องเสียหรืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ 
4. ยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น Cyclophosphomide, azathioprine) อาจกดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำและซีดได้ นอกจากนี้ทำให้มีคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กดการทำงานของรังไข่ทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ และมีบุตรยากได้ การใช้ยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน (ติดต่อกันเกิน 2 ปี) จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไป 


การฟื้นฟูร่างกายโดยวิถีธรรมชาติบำบัด ทำให้โรค SLE หายได้ด้วยธรรมชาติบำบัด
1. หลีกเลี่ยง ลด ละ เลิก อาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ของหวาน กาแฟ ชา บุหรี่ เหล้า ของดอง อาหารแปรรูปที่มีการใส่ ผงชูรส สารกันบูด สารกรอบ เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงการออกแดด หรือตากแดด เป็นเวลานาน ๆ เพราะพบว่าแสงแดด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบของอาการได้
3. รับประทานเมล็ดทานตะวัน วันละ 1 กำมือ สารทองแดงในเมล็ดทานตะวัน จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ
4. ดื่มน้ำผักปั่นก่อนอาหารทุกมื้อ ๆ ละ 1 ลิตร (ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง) สารอาหารในน้ำผักปั่นจะช่วยลดสารอักเสบ และบรรเทาอาการแพ้ และฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานให้ทำงานได้อย่างสมดุล
5. รับประทานธัญพืช หรือข้าวกล้องผสมธัญพืช วันละ 3 มื้อ สารอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ ในข้าวกล้องและธัญพืช จะช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ และฟื้นฟูเซลล์เม็ดเลือด และปรับสมดุลของระบบภูมิต้านทาน
6.รับประทานปลาทูน่าในน้ำแร่ วันละ 200 กรัม กรดโอเมก้า 3 ในปลาทูน่า จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อกระดูกให้ดีขึ้น
7. หลีกเลี่ยงเนื้อวัว เนื้อหมู ข้อไก่ ข้อเป็ด เนื้อเป็ด และเนื้อสัตว์หน้าดิน เช่น ปลาดุก ปลานิล หอย ปู กุ้ง เป็นต้น เพราะ เนื้อเหล่านี้จะมีฮอร์โมนและสารโลหะหนักปนเปื้อนในปริมาณสูง จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
8. รับประทานผักสีเขียวทุกมื้อ เช่น ผักปวยเล้ง บร็อกโคลี่ ผักกาดเขียว เป็นต้น กรดโฟลิคในผักสีเขียวเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการปวด และการอักเสบได้อย่างดี
9. ดื่มน้ำเอนไซม์จากผลไม้ เป็นประจำทุกวัน โดยเน้นการรับประทานก่อนอาหาร 30 นาที ทุกมื้อ เพื่อปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน และดื่มหลังอาหารเช้า และเย็น ครั้งละ 1 แก้ว เพื่อช่วยในการย่อยสลายของเสียที่ตกค้างในระบบทางเดินอาหารในร่างกาย ลดโอกาสการเกิดการแพ้ หรือ การอักเสบ เป็นต้น
-  ถ้าใช้น้ำพลังเอนไซม์บำบัด ขนาด 750 ml ให้ใช้อัตราส่วน 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แก้ว (250 cc) ดื่มก่อนอาหาร และหลังอาหารทุกมื้อ
- ถ้าใช้น้ำพลังเอนไซม์บำบัดเข้มข้น ขนาด 187 ml ให้ใช้อัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว (300 cc) ดื่มก่อนอาหาร และหลังอาหารทุกมื้อ (โดยเฉพาะมื้อเช้า และเย็น) หรือใช้ 1 – 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มแทนน้ำเปล่าได้ทั้งวัน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ อื่น ๆ 
1. กรณีมีปัญหาที่ผิวหนัง เช่น เป็นผื่น บวม แดง อักเสบ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ เอนไซม์อาบน้ำสระผมสูตรไร้สารเคมีในการอาบน้ำทุกวัน และใช้โลชันโรคผิวหนังทาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ คัน และให้ความชุ่มชื้นผิว
2.กรณีบวม อักเสบ เป็นผื่นทั่วตัว ให้เพิ่มเติมการดูแลภายนอกด้วยการใช้เอนไซม์แช่ล้างผักมาผสมน้ำแช่ตัวทุกวัน วันละ 15 นาที โดยใช้อัตราส่วน 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ   1 – 3 ลิตร หรือใช้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 แล้วใส่ในขวดสเปร์ยฉีดพ่นทั้งตัว ได้ทั้งวัน
3. กรณีมีไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ตัวกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ทั้งวัน ให้ ต้มน้ำโหระพา (วิธีต้มน้ำโหระพา) ดื่มแทนน้ำเปล่า ทั้งวัน ประมาณ 2 -3 ลิตร ต่อวัน หรือ ต้มลูกเดือย ทำเป็นเมนูลูกเดือย เช่น ข้าวต้มลูกเดือย หรือ น้ำนมลูกเดือย หรือ สูตรน้ำนมธัญพืช ก็ช่วยลดไข้ได้ผลไดี
และระหว่างที่ ดื่มน้ำพลังเอนไซม์บำบัด เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ปรับสมดุลย์ของร่างกายอยู่ หากมีปัญหาอะไร ให้อีเมล์มาสอบถามได้ที่คุณตู๋ tusora@hotmail.com นะค่ะ
หมายเหตุ 
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบ้านรักษ์สุขภาพ มิใช่ยา ที่ใช้ในการรักษา บำบัด แต่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการปรับสมดุลของร่างกาย เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพในแนวธรรมชาติบำบัดเท่านั้น มิใช่ ยารักษาโรค แต่อย่างใด เป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเท่านั้น

 

แหล่งที่มา : friutenzyme.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด