https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ MUSLIMTHAIPOST

 

แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ


1,763 ผู้ชม


การศึกษาธรรมชาติโดยใช้ธรรมชาติ เป็นวิธีการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด...   

       นักสิ่งแวดล้อมเล็งเห็นความสำคัญของแมลงน้ำ ช่วยประเมินคุณภาพน้ำในเชิงชีวภาพ เร่งศึกษาชนิดของแมลงน้ำ โดยเฉพาะแมลงหนอนปลอกน้ำ เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ หวังใช้ข้อมูลด้านชีวภาพ ประเมินคุณภาพน้ำร่วมกับปัจจัยทางกายภาพ-เคมี และเป็นนโยบายในการตัดสินคุณภาพน้ำผิวดินในอนาคต
       
       น.ส.เพ็ญศรี บรรลือ นักศึกษาปริญญาเอก ด้านความหลากหลายของแมลงหนอนปลอกน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การตรวจสอบคุณภาพน้ำในเชิงชีวภาพสามารถใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แมลงน้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีจำนวนและชนิดมากที่สุด และเนื่องจากแมลงน้ำสามารถอยู่อาศัยได้ในแหล่งน้ำทุกรูปแบบ มีความทนทานต่อสภาวะมลพิษได้แตกต่างกัน เกาะอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ไม่ไกลนัก ทำให้สามารถใช้ในการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ได้ บางชนิดมีวัฎจักรชีวิตที่ยาวนาน ทำให้เห็นความแตกต่างของปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาที่ต่างกัน
       
(ข่าวจาก 
https://www.manager.co.th/Science/ViewNews)
   

 

แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ

                                                              ภาพหนอนปลอกน้ำ

                                            (ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Caddisfly)

แมลงหนอนปลอกน้ำ ชื่ิอสามัญ caddisflies

         อยู่ใน Kingdom: Animalia
 
            Phylum: Arthropoda
 
             Class: Insecta
 
              Superorder: Amphiesmenoptera
 
               Order: Trichoptera

         แมลงหนอนปลอกน้ำ เป็นแมลงในออร์เดอร์ Trichoptera  มีรากศัพท์จากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง  trich หมายถึง ขน,ผม  และ ptera แปลว่าปีก มักเรียกว่า sedge-flies หรือ rail-flies มีปากขนาดเล็กคล้ายแมลงทั่วไป มีหนวด 2  เส้น ใกล้เคียงกับผีเสื้อในออร์เดอร์ Lepidoptera (moths and butterflies)   (แปลจาก en.wikipedia.org/wiki/Caddisfly)   โดยตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ ส่วนตัวเต็มวัยจะบินหาคู่ผสมพันธุ์อยู่บนบกบริเวณใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำ         ตัวอ่อนของแมลงหนอนปลอกน้ำจะมีลักษณะคล้ายหนอน มีขาที่แท้จริง 3 คู่ บางกลุ่มจะมีการสร้างปลอก โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน เปลือกหอย  กิ่งไม้ ใบไม้ มายึดติดกันโดยใช้เส้นใยเหนียว ๆ ซึ่งรูปแบบของการสร้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม  (https://www.biology.science.cmu.ac.th/research/AIRU%20data%20online/AIRU_website/Trichoptera_general.html)
 

      

แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ    แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ 

                                   ภาพระยะไข่และดักแด้  ระยะหนอน ระยะตัวเต็มวัยหนอนปลอกน้ำ
                      
(ที่มา : https://www.dlia.org/atbi/methods/aquatic_insects.shtmlhttps://bottleworld.net/?p=68,https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000064359 ตามลำดับ)

  

วัฎจักรชีวิตของแมลง
       หนอนปลอกน้ำ (caddisflies) วงจรชีวิตมี 4 ระยะ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) ส่วนชีปะขาว (mayflies) และแมลงเกาะหิน (stoneflies) วงจรชีวิตมี 3 ระยะ เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) โดยในแต่ละระยะมีรูปร่างลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน(https://www.dnp.go.th/foremic/entomology/Web/Eminent/Eminent/aquatic%20insects/aquatic%20insects.htm)
  

      

แมลงอดทน...วัดผลคุณภาพน้ำ

                                          ภาพแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงหนอนปลอกน้ำ
           (ที่มา : https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000064359)

        ความสัมพันธ์ของแมลงน้ำกับแหล่งน้ำ
       นักวิทยาศาสตร์มักใช้ประโยชน์จากแมลงน้ำในการเรียนรู้เกี่ยวกับแม่น้ำและกระแสน้ำ โดยใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำ ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้
         1.ง่ายต่อการเก็บมาศึกษาวิจัย
         2.  มีจำนวนมาก และมีการตอบสนองที่ดี แมลงน้ำบางชนิดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เมื่อแหล่งน้ำมีสภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีปัญหามลภาวะในแหล่งน้ำ        ปริมาณตะกอนที่มาก อุณหภูมิของน้ำสูง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำ ส่วนแมลงน้ำชนิดที่สามารถอาศัยอยู่ได้ในสภาวะดังกล่าว เรียกว่า กลุ่มทนทาน (tolerant)
         3. มีจำนวนมากพอ แม้ในพื้นที่ขนาดเล็กที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงน้ำได้
       การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำและการแบ่งกลุ่มที่ชัดเจนตามลักษณะการกินอาหารของแมลงน้ำ สามารถบอกถึงบทบาทหน้าที่ในแหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยได้ เช่น ตัวอย่างที่เก็บมาจากบริเวณที่เป็นพื้นทรายใต้ลำธาร ซึ่งจะเต็มไปด้วยกลุ่มของแมลงพวกกินอินทรียวัตถุ ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นแหล่งรวมของเศษซากอินทรียวัตถุ และตะกอน ความหลากหลายของแมลงน้ำในตัวอย่างที่เก็บมา จะช่วยบอกให้นักชีววิทยาทางน้ำได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศบริเวณนั้น ในด้านประชากรของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลา นก และ สัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ
  
  
  แหล่งน้ำผิวดิน
  น้ำผิวดิน   หมายถึง   น้ำที่เกิดตามธรรมชาติ   ได้แก่   แม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง  
  
 

       สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย
  มาตรฐาน ว ๒. ๑    เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ         หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
          ตัวชี้วัด ป. ๖    ๑.   สำรวจและอภิปรายความสัมพันธ์ของกลุ่ม     สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ  
          สาระการเรียนรู้แกนกลาง -   กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ  มีความ   สัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่ในลักษณะของแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย  แหล่งสืบพันธุ์  และแหล่งเลี้ยงดูลูกอ่อน
  
          ตัวชี้วัด  ม. ๔-ม. ๖      ๓.  อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และเสนอแนะแนวทางในการดูแลและรักษา 
          สาระการเีีรียนรู้แกนกลาง ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ   ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งถูกทำลายหรือสูญหายไป  ก็จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศด้วย


  
    
 คำถามน่าคิด 
 1. แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตใน Phylum: Arthropoda ที่สิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในไฟลัมอื่นๆอย่างไร
 2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยใช้แมลงหนอนปลอกน้ำ มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างไร
 3. Metamorphosis คือวงจรชีวิตอย่างไร
 4. ในชุมชนของนักเรียนมีแหล่งน้ำผิวดินอะไรบ้าง
 
 กิจกรรมชวนสนุก
 1. สำรวจสิ่งมีชีวิตแหล่งน้ำผิวดินในชุมชน/โรงเรียนของนักเรียน
 2. ค้นหาแมลงชนิดอื่นๆที่ใช้วัดคุณภาพของน้ำ
 
 
 ความรู้บูรณาการ
 นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการศึกษาในการศึกษาสาระที่ ๖ 
 • กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก   โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก ทรัพยากรทางธรณี สมบัติทางกายภาพของดิน หิน น้ำ อากาศ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ปรากฏการณ์ทางธรณี ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ
 
 
 อ้างอิง
 https://www.biology.science.cmu.ac.th/research/AIRU%20data%20online/AIRU_website/Trichoptera_general.html
 https://www.dnp.go.th/foremic/entomology/Web/Eminent/Eminent/aquatic%20insects/aquatic%20insects.htm  
 https://en.wikipedia.org/wiki/Caddisfly
 
https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000064359
ภาพไอออนจาก   https://www.yukonplacersecretariat.ca/fish/benthic.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2518

อัพเดทล่าสุด