" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี MUSLIMTHAIPOST

 

" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี


1,065 ผู้ชม


การทำมัมมี่ มีหลายขั้นตอน และมีสารหลายชนิดที่ใช้ทำมัมมี่ มาดูกันว่า เนทรอน (natron)หรือ เกลือโซเดียมคาร์บอเนต เกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่ยังไงมาดูกันนะคะ   

         " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี  " ใช้สารเคมีใดทำ  " มัมมี่  (Mummy) "  มาดูกันนะคะ " " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
 
          มัมมี่เพศชายชื่อ ไมเคิล ออร์โลวิตส์  เกิดเมื่อปี 1765 อายุ 245 ปี ซึ่งถูกยืมมาจาก
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ในฮังการี   ถูกจับตรวจด้วยเครื่องซีทีสแกน ในโรงพยาบาล 
เพื่อตรวจหาโรคเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ พบว่าป่วยเป็นวัณโรคเช่นเดียวกับภรรยาของเขาที่ถูก
เก็บรักษาด้วยความเย็น และอากาศที่แห้งในห้องใต้ดินที่บ้านพักเครื่องซีทีสแกนและอุปกรณ์
ทางวิทยาศาสตร์ ถูกใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการศึกษามัมมี่ ช่วยให้ได้เรียนรู้การมีชีวิต 
และการตายของมนุษย์ ซึ่งเทคนิคนี้จะไม่เป็นการทำลายมัมมี่แต่จะถูกบันทึกในรูปแบบของ 3 มิติ
เพื่อเก็บรักษามัมมี่ให้ ลูกหลานได้ศึกษาสืบไป  
(ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/oversea/93405)
 

" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี

          มัมมี่คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว
เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของ
ชาวอียิปต์โบราณ  ขั้นตอนการทำมัมมี่ก็มีหลายขั้นตอนนะคะ และมีสารหลายตัวที่ใช้ค่ะ  
" เนทรอน (natron) " เป็นเกลือที่ใช้ในการทำมัมมี่ ซึ่งก็คือเกลือโซเดียมคาร์บอเนต 
หรือโซดาแอซ นั้นเองค่ะ 
     
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  3  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1
  เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
                             และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และ
                             จิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร 
                             การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้
                             และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เรื่อง   เกลือโซเดียมคาร์บอเนต 
            
  " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี  ชื่อ : โซเดียมคาร์บอเนต 
           ชื่ออื่น : โซดาแอซ (Soda ash)  ,โซดาซักผ้า (Washing soda)
           สูตรโมเลกุล  :  Na2CO
           ลักษณะปรากฏ : ของแข็งสีขาว 
           เลขทะเบียน  CAS [497-19-8] 
           ความหนาแน่น และ เฟส :  2.5 g/cm3, ของแข็ง 
           การละลาย ใน น้ำ : 30 g/100 ml (20 C)
           จุดหลอมเหลว  : 851 C 
           จุดเดือด  : 
สลายตัว 
            แอนไอออนอื่น : 
โซเดียมไบคาร์บอเนต 
            แคทไอออนอื่น :  ลิเทียมคาร์บอเนต  , โพแทสเซียมคาร์บอเนต 
           " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
                               ภาพโครงสร้างของโซเดียมคาร์บอเนต          
           
  " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดาแอช  เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก 
มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ 
มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืช
หลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ 
หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ 
กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง
           เนทรอน (natron)  เป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดาแอช
และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และ
โซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้
ในการทำมัมมี่ 
           โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
แหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป 

 " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี 
                                          ภาพโซเดียมคาร์บอเนต     
           
   " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี  ข้อมูลเพิ่มเติม            
            มัมมี่ (Mummy) 
            มัมมี่ คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วย
ผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย 
ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) 
ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ 
โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝัง
ในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบ
ทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกัน
การเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา

 " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
                                                      ภาพมัมมี่ 
           
ความเชื่อเกี่ยวกับมัมมี่   
          ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวน
กลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
จะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม 
โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อย
ผุผังไปตามกาลเวลา 
         ขั้นตอนการทำมัมมี่ 
         1.  ศพถูกนำไปยังเต๊นท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ชำระศพ
ให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระล้างด้วยน้ำจาก
แม่น้ำไนล์
         2. ช่างก็จะผ่าช่องท้องด้านซ้ายเพื่อเอาอวัยวะภายในออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน
ซึ่งมีความชื้นสูง จะเป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเอาออก เหลือไว้แต่หัวใจ
ที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้
ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ
         3. ส่วน ตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมาชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไป
กลบไว้ด้วยเกลือเม็ดที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอร์เนต แล้ว
เขาจะสอดตะขอผ่านเข้าทางช่องจมูก เพื่อเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา เพราะสมองก็
เหมือนอวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้งยาก และก่อให้เกิดการย่อย
สลายได้ง่าย
         4. จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกาย และ
ผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝังพร้อมกับศพ  
         5. ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดไว้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย 
อันจะทำให้ร่างเปื่อยเน่าสูญสลายไปได้
         6. ศพจะถูกแช่เกลือไว้สี่สิบวันจนแห้งดี แล้วจะถูกนำมาชำระล้างด้วยน้ำจาก
แม่น้ำไนล์อีก แล้วจะเคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันเพื่อให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่มไม่แห้ง
กระด้างไปตามกาลเวลา
         7. อวัยวะภายในที่แห้งแล้วจากการแช่เกลือ ก็จะถูกนำกลับมาบรรจุในช่องท้อง
และช่องอกตามเดิม
         8. แล้วจะเติมด้วยของแห้งอย่างอื่นให้เต็ม เช่นขี้เลื่อยหรือใบไม้และผ้าลินิน 
เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ ไม่ยุบตัวลงไปตามกาลเวลาในภายหลัง
        9. จากนั้นก็จะชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปพันผ้าลินิน
ในขั้นต่อไป
             " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
                                                 ภาพมัมมี่
       การพันห่อมัมมี่ 
       ขั้นแรก ศีรษะและลำคอจะถูกพันก่อน ด้วยแถบผ้าลินินอย่างดี แล้วก็จะพันนิ้วมือ
และนิ้วเท้าแยกกันทีละนิ้ว แล้วก็พันห่อแขนและขา แต่ละทบก็จะใส่เครื่องราง 
เพื่อปกปักรักษาผู้ตายในระหว่างการเดินทางไปสู่ภพใหม่
       10. ในขณะที่ร่างของมัมมี่กำลังถูกห่อพันด้วยผ้าลินิน ก็จะมีพระท่องมนต์ 
เพื่อขจัดสิ่งที่เลวร้ายมิให้แผ้วพานผู้ตาย และเป็นการช่วยให้ผู้ตายเดินทางได้สะดวก
ในภพหน้า
       11. แล้วแขนขามัมมี่ก็จะถูกพันเข้ากับส่วนร่าง ตำรา “มนตราสำหรับผู้ตาย” 
 ก็จะรวมห่อไปด้วยให้ถือไว้ในมือของมัมมี่
       12. จากนั้นก็จะพันผ้าเพิ่มรวมให้ร่างถูกพันรวมกันหมด แต่ละชั้นของผ้าลินิน 
ผู้ทำมัมมี่ก็จะทาไว้ด้วยเรซิน เพื่อให้ผ้าลินินยึดติดกันไม่หลุดรุ่ยออกได้ง่าย แล้วห่อ
ด้วยผ้าผืนใหญ่อีกทีหนึ่ง จากนั้นก็จะวาดรูปเทพ โอซีรีส บนผ้าที่ห่อมัมมี่นั้น
       13. จากนั้นก็เอาผ้าผืนใหญ่ห่ออีกชั้นหนึ่ง แล้วมัดตราสังข์ด้วยแถบผ้าลินิน
ตลอดร่างอย่างแน่นหนาอีกเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็ปิดด้านบนของมัมมี่ด้วยแผ่น
กระดานก่อนที่จะเอาไปใส่ในโลงศพสองโลงซ้อนกัน ในพิธีศพ ญาติพี่น้องของ
ผู้ตายมาไว้อาลัยและทำพิธี “เปิดปากศพ” เพื่อเป็นการเลี้ยงอาหารให้ผู้ตายเป็น
ครั้งสุดท้ายขั้นสุดท้าย ก็จะเอาโลงไปใส่ในโลงหินแกะสลัก ที่ตั้งอยู่ในสถานเก็บศพ 
พร้อมด้วยเครื่องเรือน เสื้อผ้า ของมีค่า อาหารและเครื่องดื่ม จะถูกจัดวางไว้อย่าง
พร้อมเพรียง เป็นเสบียงกรังให้ผู้ตายได้เดินทางสู่ปรภพโดยสะดวกแล้วร่างของผู้ตาย 
ก็พร้อมที่จะออกเดินทางสู่ดินแดนใต้โลก ที่ที่หัวใจของเขาจะถูกตัดสินตามความดี
ที่ได้ทำไว้ยามมีชีวิตอยู่ หากมีหัวใจบริสุทธิ์จริง ผู้ตายก็จะถูกส่งไปดินแดนอันสวยงาม
เพื่อชีวิตอันเป็นอมตะ ในดินแดนที่เรียกว่า ทุ่งต้นกก
       ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า ก่อนผู้ตายจะไปยังปรภพได้ ก็ต้องผ่านดินแดนใต้โลก 
 อันเป็นที่ที่เต็มไปด้วยมารร้าย สัตว์ที่ดุร้ายต่าง ๆ ซึ่งผู้ตายจะต้องอาศัยมนต์ศักดิ์สิทธิ์ 
 เพื่อปกป้องให้เดินทางได้โดยปราศจากภัยร้ายมาแผ้วพาน มนตราเหล่านี้จารึกอยู่ใน
 สมุดบันทึกที่เรียกว่า “มนตราสำหรับผู้ตาย” ซึ่งเป็นตำราเขียนลงบนม้วนกระดาษปาปีรุส 
 และจะถูกฝังไปด้วยกันกับผู้ตายในปิรามิด และก็เป็นการเสร็จสิ้นวิธีการทำมัมมี่    " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
 " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
                                                      ภาพพีระมิด 
       
  " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี  
การทำมัมมี่เป็นความเชื่อของสมัยโบราณนะคะ แต่ก็มีประโยชน์ต่อยุคปัจจุบัน " มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
ในการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมสมัยยุคก่อน ๆ ได้ดี 
ได้ความรู้เกี่ยวกับ "เนทรอน (natron)"  ซึ่งมีส่วนผสมของเกลือโซเดียมคาร์บอเนต 
ที่ใช้ในการทำมัมมี่  และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ศึกษามัมมี่อย่างเครื่องซีทีสแกน 
ที่ใช้ศึกษา มัมมี่ " ไมเคิล ออร์โลวิตส์ "  นี้เองค่ะ

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. มัมมี่คืออะไร
        2. เนทรอน (natron) คืออะไร
        3. เกลือโซเดียมคาร์บอเนต เกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่อย่างไร
        4. โซเดียมคาร์บอเนตมีสูตรโมเลกุลอย่างไร
        5.  โซเดียมคาร์บอเนตมีชื่ออื่นว่าอย่างไรบ้าง 
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องมัมมี่เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในศึกษาความรู้จากมัมมี่
       3. ทัศนศึกษาชมพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน  พิระมิด และมัมมี่ 

การบูรณาการ

       กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับมัมมี่
       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ทำสถิติว่ามีการค้นพบมัมมี่ที่ประเทศใดบ้าง ประเทศใดมากที่สุด                                         
       กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิอากาศแบบใด เหมาะต่อการทำมัมมี่
       กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ตุ๊กตามัมมี่
       กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ           นักเรียนวาดภาพมัมมี่
       กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของโซเดียมคาร์บอเนต

" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี
" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี" มัมมี่ (Mummy) " ปริศนามนุษย์พันปี ขอขอบคุณ                               
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้

     
      1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/93405
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/โซเดียมคาร์บอเนต
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/มัมมี่
      4. https://zybernia.wordpress.com/2008/10/11/mummy/
      5. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/03/Uhličitan_sodný.JPG
      6. https://www.thamwebsite.com/cty/tiplearn/images/mummi2.gif
      7. https://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=46838&stc=1&d=1132280337
      8. https://learners.in.th/file/s5110513098/GizaPyramids1.jpg
      9. https://www.bloggang.com/data/nailert/picture/1203909645.jpg
    10. https://www.fatbraintoys.com/images/products/large/ST112.jpg
    11. 
https://widget.sanook.com/static_content/full/emo/1da438f90e9fb7d6d41e2bc20a4eba52_1203517724.gif

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2855

อัพเดทล่าสุด