https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
วัยรุ่นมะกันหนึ่งในสามส่งข้อความเอสเอ็มเอส 100 ครั้งต่อวัน MUSLIMTHAIPOST

 

วัยรุ่นมะกันหนึ่งในสามส่งข้อความเอสเอ็มเอส 100 ครั้งต่อวัน


564 ผู้ชม


ผลสำรวจกระทำโดย "Pew" ต่อโครงการชีวิตของชาวอเมริกันและอินเทอร์เนท   

วัยรุ่นมะกันหนึ่งในสามส่งข้อความเอสเอ็มเอส 100 ครั้งต่อวัน


ผลสำรวจกระทำโดย "Pew" ต่อโครงการชีวิตของชาวอเมริกันและอินเทอร์เนทพบว่า เด็กวัยรุ่นอเมริกันอายุระหว่าง 12-17 ปี จำนวน 3 ใน 4 พบว่า เด็กหญิงกลุ่มสำรวจได้ส่งหรือรับข้อความเอสเอ็มเอสเป็นจำนวน 80 ครั้งต่อวัน ส่วนวัยรุ่นชาย 30 ครั้งต่อวัน ส่วนอีก 1 ใน 3 พบว่า ได้ส่งข้อความเอสเอ็มเอสเป็นจำนวนกว่า 100 ครั้งต่อวัน 
รายงานระบุว่า โพลดังกล่าวชี้ว่า การส่งข้อความเอสเอ็มเอสได้กลายเป็นศูนย์กลางการสื่อสารของชีวิตวัยรุ่นอเมริกันในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวสามารถกระทำได้อย่างสะดวก รอดหูรอดตาผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ และยังสามารถกระทำได้ทุกแห่งหนด้วย

วัยรุ่นมะกันหนึ่งในสามส่งข้อความเอสเอ็มเอส 100 ครั้งต่อวันสาระความรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคการสุ่มเก็บรวบรวมข้อมูล , เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง 
                    เนื่องจากการเก็บข้อมูลจากประชากรทุกหน่วย สามารถทำได้ยาก(ประชากรมีขนาดใหญ่) จึงจำเป็นต้องเก็บบางส่วนของประชากร ซึ่งเรียกว่าตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างหรือการสุ่มตัวอย่างมีวิธีการต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้คือ

• การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น
                    - การสุ่มโดยการกำหนดโควตา (Quota Sampling) เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยการกำหนดจำนวนหรือจัดสรรจำนวนที่มีอยู่เช่น การสุ่มนักศึกษาทั้ง 6 คณะ โดยกำหนดโควตาคณะละ 100 คน หรือกำหนดโควตาคณะละ 10% จากนักศึกษาทั้งหมดของแต่ละคณะ เป็นต้น
                    - การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เมื่อเจอหน่วยตัวอย่างของประชากรที่ต้องการก็เพียงแต่ทำการเลือกมาตามสะดวก

• การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น
                    - การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) หมายถึงการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างโดยที่ให้แต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน การสุ่มอย่างง่ายอาจทำได้หลายวิธี เช่น

• การจับฉลาก คือ การให้เบอร์หรือเลข กับทุกหน่วยของประชากรแล้วทำการสุ่มหยิบขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นการสุ่มแบบใส่คืน หรือไม่ใส่คืนก็ได้

• การใช้ตารางเลขสุ่ม (Table of Random Number) ทำได้โดยการกำหนดตัวเลขให้กับประชากรทุกหน่วย เช่น ประชากร 2,500 หน่วย เลขสุ่มก็จะต้องเริ่มตั้งแต่ 0001 ถึง 2500 แล้วทำการเลือกเลข 4 หลัก จากตารางเลขสุ่ม โดยอาจจะใช้เลข 4 ตัวแรก หรือ 4 ตัวท้าย ของแต่ละชุดเลขสุ่มก็ได้ การกำหนดชุดเลขสุ่มที่จะทำการเริ่มสุ่มชุดแรกและวิธีการนับเรียงตามแถวหรือเรียงตามหลักของชุดเลขสุ่มนั้นขึ้นอยู่กับผู้เก็บข้อมูลว่าจะเริ่มนับ ณ จุดใด และเรียงตามแถวและตามหลัก

การนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation) 
    การนำเสนอข้อมูลสถิติแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยปราศจากแบบแผน (Informal Presentation) 
     1.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความ  
     1.2 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความกึ่งตาราง
           1.2.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง (Tabular Presentation)         
           1.2.2  การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป (Graphic Presentation) 
2) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยมีแบบแผน (Formal Presentation)  
       2.1  การเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง  
       2.2 การเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป 
  
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป

1. เมื่อต้องการเสนอข้อมูลสถิติโดยข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นมีเพียงชุดเดียว  
        1.1  แผนภูมิแท่งเชิงเดียว (Simple Bar Chart) 
        1.2  ฮิสโตแกรม (Histogram)   

2.  เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงเปรียบเทียบ  เมื่อต้องการนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป  ควรนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟดังนี้  
        2.1 แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน (Multiple Bar Chart) ข้อมูลสถิติที่จะนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่งต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกันหน่วยของตัวเลขเป็นหน่วยเดียวกันและควรใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพียง 2 ชุดเท่านั้น  ซึ่งอาจเป็นแผนภูมิในแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ได้สิ่งที่สำคัญต้องมีกุญแจ (Key) 
        2.2 แผนภูมิเส้นหลายเส้น (Multiple Line Chart)  ถ้าต้องการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติหลายประเภทพร้อมๆกันควรจะนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้นซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีหน่วยเหมือนกันหรือมีหน่วยต่างกันได้ดูรูปที่1.7

วัยรุ่นมะกันหนึ่งในสามส่งข้อความเอสเอ็มเอส 100 ครั้งต่อวัน3. เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงส่วนประกอบ  การนำเสนอข้อมูลในเชิงส่วนประกอบมีวิธีเสนอได้ 2 แบบ คือ         
       3.1 แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) 
       3.2 แผนภูมิแท่งเชิงประกอบ(Component Bar Chart)แผนภูมิแท่งเชิงประกอบเหมาะจะนำไปใช้เสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ วิธีทำคือเมื่อคิดองค์ประกอบต่างๆเป็นร้อยละของทั้งหมดแล้วจะให้ความสูงของแผนภูมิแท่ง แทนองค์ประกอบทั้งหมดความสูงขององค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นไปตามสัดส่วนขององค์ประกอบนั้นๆจะเรียงลำดับองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากให้อยู่ข้างล่าง 

4.การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนภูมิภาพ (Pictograph) การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้จึงเป็นการเสนอสถิติที่เข้าใจง่ายที่สุด          

 5.การเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนที่สถิติ  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิศาสตร์หรือสถานที่ เช่นสถิติเกี่ยวกับความหนาแน่นของประชากรตามภูมิภาคต่างๆ  สถิติจำนวนผู้ป่วยเป็นไข้ทรพิษที่ระบาดในประเทศบังกลาเทศ  เป็นต้น

คำถามในห้องเรียน 
1. ให้นักเรียนสำรวจขัอมูลวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 15-17 ปี ในห้องเรียนถึงการส่งหรือรับข้อความเอสเอ็มเอสกี่ครั้งต่อวันโดยแยกเป็นวัยรุ่นชาย และวัยรุ่นหญิง
2. นักเรียนควรนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการใดที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ

กิจกรรมเสนอแนะ 
1. ศึกษาแนวโน้มของผลการสำรวจระหว่างวัยรุ่นชายกับวัยรุ่นหญิงได้ส่งหรือรับข้อความเอสเอ็มเอสกี่ครั้งต่อวัน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/node/50480

ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1271832268&grpid=&catid=04

ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:4jLyry9ni-G1GM:https://primeedgeglobal.com/wp-content/uploads/2009/05/sms-hosting.jpg

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:sDFbd4Y-eIQU_M:https://www.cdcthailand.com/news/news/news08_07_clip_image001.jpg

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:xubPfURgWDoUwM:https://www.bangkokbiznews.com/home/media/2009/09/26/images/news_img_78911_1.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2103

อัพเดทล่าสุด